รู้หรือไม่ “ผู้ชาย” ก็พบเชื้อไวรัส “มะเร็งปากมดลูก” ได้

รู้หรือไม่ “ผู้ชาย” ก็พบเชื้อไวรัส “มะเร็งปากมดลูก” ได้

รู้หรือไม่ “ผู้ชาย” ก็พบเชื้อไวรัส “มะเร็งปากมดลูก” ได้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
  • ชายรักชาย หรือ เอ็มเอสเอ็ม (Men who have Sex with Men) กว่า 2 แสนคนที่ติดเชื้อไวรัส HIV จะตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV หรือ Human Papilloma Virus) ร่วมด้วยถึง 85%
  • ไวรัสสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก ในกลุ่มชายรักชาย เป็นสายพันธุ์ ซึ่งก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิง
  • เชื้อไวรัส HPV สามารถพบได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง การได้รับวัคซีนตั้งแต่อายุ 9-26 ปี มีประโยชน์ในการป้องกันและลดอัตราการแพร่เชื้อไวรัสนี้ได้ 90-100%

เพราะไวรัสมะเร็งปากมดลูกในผู้หญิง ก็สามารถพบได้ในผู้ชายได้เช่นกัน

นพ. วีรวัฒน์ ติรนันท์มงคล ศัลยแพทย์ผู้ชำนาญการด้านศัลยกรรมตกแต่ง รพ. สมิติเวช ศรีนครินทร์ ระบุว่า ไวรัสมะเร็งปากมดลูก เป็นที่คุ้นหูมาหลายปี เพราะมากกว่า 90%ของมะเร็งปากมดลูก จะตรวจพบไวรัสตัวร้ายนี้เสมอ

ปี 2017 ที่ผ่านมา มีรายงานจากศูนย์วิจัยโรคเอดส์ สภากาชาดไทย เผยยอดชายรักชาย ที่ติดเชื้อไวรัส HIV หรือไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคเอดส์ โดยมีการตรวจพบเชื้อไวรัสมะเร็งปากมดลูก (HPV) ร่วมด้วยถึง 85% ซึ่งเชื้อ HPV ในเพศชายนี้สามารถก่อให้เกิดมะเร็งในช่องปากและลำคอ มะเร็งองคชาต รวมถึงมะเร็งปากทวารหนัก สายพันธุ์ที่พบเป็นสายพันธุ์ชนิดเดียวกับที่มะเร็งปากมดลูกได้ในผู้หญิงนั่นเอง

ผู้ชายสามารถรับเชื้อนี้ได้อย่างไร

ไวรัส HPV นั้นมักจะพบจากการมีเพศสัมพันธ์ (ทางปาก ช่องคลอด ทวารหนัก) รวมทั้งการสัมผัสเชื้อโดยตรง ในปัจจุบันไวรัส HPV มีมากกว่า 150 สายพันธุ์ โดยสายพันธุ์ที่ 6 และ 11 เป็นตัวก่อให้เกิดโรคหูดหงอนไก่ ส่วนสายพันธุ์ที่ 16 และ 18 ก่อให้เกิดโรคมะเร็ง จุดกำเนิดเริ่มต้นของเพศที่แพร่เชื้อนั้น จึงพบได้ทั้งสองเพศ ดังนั้นการรณรงค์ให้หญิงเป็นฝ่ายวิ่งหาวัคซีนป้องกันแต่เพียงเพศเดียวอาจดูไม่ยุติธรรมเท่าใดนัก เพศชายที่มีความเสี่ยง เช่น มีพฤติกรรมรักร่วมเพศ หรือชอบการร่วมเพศทางทวารหนัก จึงควรตรวจหาเชื้อ HPV ในร่างกายเพื่อรีบหาทางรักษาก่อนที่จะเป็นโรคร้าย หรือฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับเชื้อ HPV ในอนาคต

หากผู้ชายอยากตรวจไวรัส HPV

การตรวจ HPV ในเพศชาย สามารถทำได้คล้ายกับผู้หญิง นั่นคือการเก็บเซลล์บริเวณองคชาตหรือปากทวารหนัก เพื่อนำเซลล์ที่สงสัยไปดูการเรียงตัวว่าผิดปกติเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งหรือไม่ และการได้รับวัคซีนตั้งแต่อายุ 9 -26 ปี สามารถป้องกันมะเร็งปากทวารหนักได้ถึง 78% และลดอัตราการแพร่เชื้อไวรัสนี้ได้ 90-100% ในกรณีที่ยังไม่เคยได้รับเชื้อไวรัส HPV มาก่อน หากเคยได้รับเชื้อ HPV บางสายพันธุ์มาแล้ว วัคซีนจะป้องกันได้เฉพาะในสายพันธุ์อื่นๆ ที่มีการรับรองเท่านั้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook