ดื่มน้ำมากเกินไป เสี่ยงน้ำเป็นพิษ-โซเดียมในเลือดต่ำ อันตรายถึงชีวิต

ดื่มน้ำมากเกินไป เสี่ยงน้ำเป็นพิษ-โซเดียมในเลือดต่ำ อันตรายถึงชีวิต

ดื่มน้ำมากเกินไป เสี่ยงน้ำเป็นพิษ-โซเดียมในเลือดต่ำ อันตรายถึงชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ดื่มน้ำมากเกินไป อาจเสี่ยงภาวะน้ำเป็นพิษ ภาวะไฮโปแนทรีเมีย เซลล์บวมน้ำ โซเดียมในเลือดต่ำ ที่เป็นอันตรายต่อร่างกายจนถึงชีวิตได้

“ดื่มน้ำเยอะๆ” เรามักได้ยินสองประโยคนี้อยู่บ่อยๆ สำหรับเคล็ดลับในการดูแลรักษาสุขภาพให้ดีอยู่เสมอ แต่จริงๆ แล้วเราควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยไม่ให้น้อยหรือมากเกินไปจะดีที่สุด เพราะการดื่มน้ำมากเกินไป ก็อาจส่งผลอันตรายต่อร่างกายได้เช่นกัน

ดื่มน้ำมากเกินไป เสี่ยงภาวะน้ำเป็นพิษ

ข้อมูลจาก สำนักโภชนาการ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า การดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้เกิดภาวะน้ำเป็นพิษเสียชีวิตได้ 

การดื่มน้ำนั้นเป็นสิ่งจำเป็น เพราะน้ำเป็นส่วนประกอบ 2 ใน 3 ของร่างกาย แต่หากดื่มน้ำมากเกินไปคือ วันละ 6-7 ลิตร ส่งผลให้ร่างกายได้รับน้ำปริมาณมากเกินไปในเวลารวดเร็วเกิดภาวะน้ำเกินหรือน้ำเป็นพิษ (Water Intoxication) ส่งผลให้ปวดศีรษะ ตะคริว ชัก หรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง คลื่นไส้ อาเจียน บวม ส่งผลกระทบต่อเซลล์สมอง ซึ่งอาจอันตายจนถึงขั้นเสียชีวิตได้ 

ดื่มน้ำมากเกินไป เสี่ยงภาวะโซเดียมในเลือดต่ำ

นอกจากนี้ การดื่มน้ำมากเกินไป ทำให้ความเข้มข้นของแร่ธาตุโซเดียมลดลงการได้รับน้ำมากเกินกว่าอัตราการขับถ่ายของไตจะมีผลทำให้เกิดภาวะโซเดียมในเลือดต่ำหรือไฮโปแนทรีเมีย (Hyponatremia)  ส่งผลให้มึนงง ความคิดสับสน หมดสติ ชักและอาจเสียชีวิตได้ 

ดื่มน้ำเท่าไร ถึงมากเกินไป

หากดื่มน้ำมากเกินไปคือ วันละ 6-7 ลิตร ถือว่ามากเกินความจำเป็น และจะยิ่งอันตรายหากเป็นการดื่มน้ำมากๆ ในครั้งเดียว เหมือนที่เคยมีข่าวว่ามีคนเสียชีวิตจากการโดนรับน้อง โดยทำโทษ หรือแข่ง/เล่นเกมกินน้ำจำนวนมากๆ ในครั้งเดียว

อย่างไรก็ตาม อันตรายจากการดื่มน้ำมากเกินไป เป็นภาวะที่เกิดได้ยากในคนปกติที่มีสุขภาพดี และส่วนใหญ่จะประสบปัญหาดื่มน้ำน้อย หรือดื่มน้ำไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกายในแต่ละวันกันมากกว่า

ดื่มน้ำเท่าไร ถึงจะเหมาะสมต่อร่างกาย

การดื่มน้ำเปล่าสะอาดให้เหมาะสมเพียงพอกับความต้องการของร่างกายเฉลี่ยวันละ 8-10 แก้ว (1.5-2 ลิตร/คน/วัน) หรือดื่มเพิ่มตามน้ำหนักตัว ดื่มมากขึ้นในช่วงหน้าร้อนที่สูญเสียเหงื่อมากเป็นพิเศษ นอกจากนี้ไม่ควรดื่มน้ำคราวเดียวทีละมากๆ แต่ควรจิบบ่อยๆ ตลอดวันแทน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook