ระวัง! เป็นโรคกระเพาะอาหาร เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย

ระวัง! เป็นโรคกระเพาะอาหาร เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย

ระวัง! เป็นโรคกระเพาะอาหาร เสี่ยงมะเร็งกระเพาะอาหารด้วย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สาเหตุการเกิดโรคกระเพาะอาหารที่หลายคนทราบดี คือการทานอาหารไม่ตรงเวลา ปล่อยให้ท้องว่างจนกระเพาะอาหารเสียสมดุลของกรดภายในกระเพาะอาหารนำไปสู่การทำลายเยื่อบุกระเพาะอาหาร แต่อีกสาเหตุหลักที่เป็นตัวการให้เกิดโรคกระเพาะอาหาร ทั้งยังสามารถแพร่ระบาดจากคนสู่คนได้ นั่นก็คือ เชื้อเอชไพโลไร หรือ H.Pylori (Helicobacter Pylori)

รู้จักเชื้อ H.Pylori แบคทีเรียตัวร้าย สาเหตุโรคกระเพาะอาหาร

นายแพทย์ วชิรพงศ์ เอกไพบูลย์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้านโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) ระบุว่า เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) หรือ เอชไพโลไร (H.Pylori) คือเชื้อแบคทีเรียชนิดหนึ่ง ที่สามารถแพร่เชื้อจากคนสู่คนได้ จากการใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารร่วมกัน การบริโภคอาหารและน้ำที่มีการปนเปื้อน และการปรุงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบ โดยเมื่อเข้าสู่ร่างกายแล้วจะอาศัยอยู่ภายในระบบทางเดินอาหาร เป็นต้นเหตุให้เกิดการอักเสบของกระเพาะอาหาร ซึ่งสามารถพัฒนาเป็นโรคแผลในกระเพาะอาหาร หรือแผลในลำไส้เล็กส่วนต้น รวมถึงมะเร็งกระเพาะอาหารได้อีกด้วย

อาการของผู้ติดเชื้อ H.Pylori

โดยปกติแล้ว ผู้ที่ติดเชื้อ H.Pylori มักจะไม่แสดงอาการ แต่ในผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการที่สังเกตได้ ดังนี้

  • ปวดหรือแสบร้อนที่ท้องบริเวณเหนือสะดือ
  • ปวดรุนแรงเมื่อท้องว่างหรือหลังจากรับประทานอาหาร
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • จุกเสียดลิ้นปี่
  • ท้องอืด เรอบ่อย
  • เบื่ออาหาร
  • น้ำหนักลดผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ

แต่ในรายที่มีอาการอักเสบรุนแรง ควรรีบพบแพทย์เร่งด่วนจะมีอาการ ดังนี้

  • ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำคล้ายยางมะตอย หรือมีเลือด และกลิ่นรุนแรง
  • ปวดท้องรุนแรง เรื้อรัง
  • อาเจียนเป็นเลือดหรือมีสีน้ำตาลคล้ำ

H.Pylori คือแบคทีเรียทีมีความสามารถในการสร้างด่างเพื่อป้องกันตนเองจากกรดในกระเพาะอาหาร ทำให้ H.Pylori สามารถแฝงอยู่ในร่างกายในนานเป็น 10 ปี โดยแทบไม่แสดงอาการ เสี่ยงเกิดมะเร็งกระเพาะอาหารมากถึง 2-6 เท่าเมื่อเทียบกับคนปกติที่ไม่มีการติดเชื้อ ซึ่งทางองค์การอนามัยโลกจัดให้เชื้อ เฮลิโคแบคเตอร์ ไพโลไร (Helicobacter Pylori) เป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของมะเร็งกระเพาะอาหารดังนั้นการกำจัดเชื้อ Helicobacter Pylori จึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งกระเพาะอาหาร

วิธีตรวจหาเชื้อ H.Pylori

การตรวจหาเชื้อ H.Pylori จึงเป็นสิ่งสำคัญเพื่อให้ทราบต้นตอก่อนเกิดอาการรุนแรง ซึ่งปัจจุบันสามารถทำการตรวจได้หลายวิธี โดยการตรวจวินิจฉัยเชื้อทางลมหายใจที่เรียกว่า Urea Breath Test หรือ การเป่าลมหายใจและวัดหาระดับยูเรีย เป็นวิธีที่ง่าย รวดเร็ว ความแม่นยำสูง ( ความไว 88-95% ) และไม่ก่อให้เกิดการเจ็บตัว ช่วยให้แพทย์วางแผนการรักษาโรคแผลในกระเพาะอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ ลดโอกาสการเกิดแผลในกระเพาะอาหารซ้ำ และการเกิดโรคมะเร็งกระเพาะอาหาร

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook