เตือน! จอดรถกลางแดดปิดแอร์ เสี่ยงร้อนจัดจนเสียชีวิต

เตือน! จอดรถกลางแดดปิดแอร์ เสี่ยงร้อนจัดจนเสียชีวิต

เตือน! จอดรถกลางแดดปิดแอร์ เสี่ยงร้อนจัดจนเสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว ยืนยัน จอดรถกลางแดดปิดแอร์ ร้อนจัดจนเสียชีวิตได้จริงๆ เพราะเคยทดลองวัดระดับอุณหภูมิ และความชื้นภายในรถที่ตากแดดแรงจัด อุณหภูมิ และความชื้นสูงมาก จนสามารถทำให้เรามีอาการคล้ายกับคนที่ประสบภาวะ Heatstroke หรือเป็นลมแดดได้ ซึ่งหากยังคงอยู่ในสภาพแวดล้อมที่อุณหภูมิยังคงสูงขึ้นเรื่อยๆ ก็มีโอกาสที่จะชัก สมองบวม กล้ามเนื้อสลายตัว จนถึงเสียชีวิตได้

นอกจากจะไม่จอดรถ ดับเครื่อง ปิดแอร์นอนในรถ และระวังไม่ปล่อยเด็ก สัตว์เลี้ยงว้ในรถเพียงลำพังด้วยแล้ว ควรจะสอนให้เด็กเล็กรู้จักกดแตรเรียกคนอื่นมาช่วย หรือสอนให้ทุบกระจก เปิดปิดที่ปัดน้ำฝน เปิดไฟฉุกเฉิน เพื่อลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์อันน่าเศร้าในอนาคตได้

อ่านรายละเอียดคำตอบจาก หมอแมว ตามด้านล่างได้เลยค่ะ

 

____________________

อย่าปล่อยคนให้อยู่ในรถที่ตากแดดอยู่

จากกรณีน่าเศร้า เรื่องเด็กนักเรียนที่ถูกขังไว้ในรถนักเรียนจนเสียชีวิต แล้วมีคนบอกว่าเสียชีวิตจากการขาดอากาศ

ความจริงแล้วน่าจะเป็นจากการถูกความร้อนจัดมากกว่า

ภาพนี้เป็นภาพในชุดสไลด์บรรยายที่เคยทำไว้เมื่อปีก่อน โดยทดลองเอารถไปตากแดดจากนั้นดับเครื่อง

 

หลังจากดับเครื่องใหม่ๆ อุณหภูมิในภาพ ลงต่อไปอีกนิดเพราะแอร์เพิ่งหยุดทำงาน
แต่สังเกตว่าตัววัดความชื้นที่ด้านล่างจาก 40%กลายเป็น70%ภายในเวลาแค่ 10 นาที

สิ่งที่จะเกิดขึ้นเมื่อใครก็ตามถูกขังไว้ในรถก็คือ

 1. ความชื้นในรถจะขึ้นเรื่อยๆ จากการหายใจและจากเหงื่อที่ระเหยออกมา

2. เมื่อความชื้นในอากาศมีมาก การลดความร้อนของร่างกายด้วยการระบายเหงื่อก็จะไม่ได้ผล

3. เมื่อความชื้นในอากาศสูงมากจนถึงจุดหนึ่ง อุณหภูมิในร่างกายจาก 37 องศา จะพุ่งพรวดขึ้นไปตามอุณหภูมิของสิ่งแวดล้อม

4. ร่างกายมนุษย์ จะเสียประสิทธิภาพในการทำงานและรอดชีวิต เมื่ออุณหภูมิ "ของร่างกาย" เปลี่ยนมากๆ คนๆนั้นจะหมดสติ จากนั้นอาการจะเหมือนกับคนที่เกิดภาวะ heat stroke ชัก สมองบวม กล้ามเนื้อสลายตัว เสียชีวิต

5. ซึ่งเมื่อจอดรถไว้กลางแดดสัก 1 ชั่วโมง อุณหภูมิจะขึ้นสูง ...

ซึ่งหมอแมวไม่รู้ว่าสูงแค่ไหน ... เพราะเข็มมันตีจนตกกรอบขวา

 

กรณีลืมเด็กในรถรับส่ง เป็นเหตุที่เจอได้ประปราย เป็นข่าวหลายครั้งในหลายปีที่ผ่านมา

แต่ละครั้ง แพทย์ที่รักษา กุมารแพทย์ หรือแพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน ก็จะเตือนและให้คำเสนอแนะแบบเป็นรูปธรรมที่คนที่ทำงานด้านโรงเรียนหรือรถ สามารถนำไปใช้ได้


นอกจากการให้คนที่ทำงานด้านนี้ระมัดระวังแล้ว สำหรับพ่อแม่ผู้ปกครองที่มีลูกในวัยที่โตต้องไปโรงเรียน สิ่งที่พอจะทำได้คงเป็นการสอนให้เด็กกดแตรรถเพื่อขอความช่วยเหลือ สอนวิธีปลดล็อครถ ทุบกระจก เปิดปิดที่ปัดน้ำฝน เปิดไฟฉุกเฉิน ฯลฯ เพื่อลดเรื่องน่าเศร้านี้

 

ขอบคุณเนื้อหาจาก เฟซบุ๊คเพจ ความรู้สนุกๆแบบหมอแมว

ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook