“กล้วย” แต่ละชนิด มีประโยชน์และโทษต่างกันอย่างไร
กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ และกล้วยชนิดอื่น ๆ มีสารอาหารหลัก ๆ เหมือนกัน แต่บางอย่างก็ต่างกัน สุขภาพของบางคนอาจจะเหมาะกับกล้วยบางชนิดมากกว่า
ในฐานะผู้บริโภค เราคงทราบกันดีว่ากล้วยแต่ชนิด แต่ละสายพันธุ์ มีรสชาติใกล้เคียงแต่ก็แตกต่างกันไปชนิดที่บางชนิดปิดตากินก็รู้ได้ทันทีว่าเป็นกล้วยพันธุ์ไหน นอกจากรสชาติและรูปร่างลักษณะภายนอกที่แตกต่างกันแล้ว ยังให้สารอาหารบางอย่างที่ต่างกัน และอาจจะเหมาะกับสุขภาพของแต่ละคนต่างกันด้วย
“กล้วย” แต่ละชนิด มีประโยชน์และโทษต่างกันอย่างไร
-
กล้วยหอม
กล้วยหอม เป็นหนึ่งในกล้วยที่ให้ปริมาณมากที่สุดต่อ 1 ผล หลายคนจึงเลือกกินเป็นมื้ออาหารเช้า เพราะนอกจากจะอิ่มแล้ว กล้วยหอมยังให้พลังงานสูงด้วย เราจึงเห็นนักวิ่ง หรือนักกีฬากินกล้วยหอมก่อนหรือระหว่างการแข่งขัน เพื่อให้พลังงานแบบด่วนๆ นั่นเอง
นอกจากนี้ กล้วยหอมยังช่วยให้คนเลิกบุหรี่ได้ง่ายขึ้นด้วย เพราะในกล้วยหอมมีวิตามินบี 6 บี 12 และโพแทสเซียม ที่ช่วยให้ร่างกายฟื้นตัว และลดอาการเหวี่ยงจากการขาดนิโคตินของบุหรี่ได้เป็นอย่างดี ถ้าอยากกินกล้วยหอมเพื่อช่วยลดอยากบุหรี่ ควรกินมื้ออาหาร ที่เป็นช่วงที่อยากบุหรี่มากที่สุด
-
กล้วยน้ำว้า
หากเป็นกล้วยน้ำว้าที่มีความสุกไม่มาก ติดห่ามๆ เล็กน้อย จะมีธาตุเหล็กสูง ช่วยสร้างเม็ดเลือด ป้องกันโรคโลหิตจาง นอกจากนี้กล้วยน้ำว้ายังมีแคลเซียม ฟอสฟอรัส วิตามินซี แคโรทีน ไนอะซิน และมีกากใยอาหารที่เหมาะสมและช่วยในการทำงานของระบบย่อยอาหาร ขับถ่ายได้สะดวกยิ่งขึ้นอีกด้วย
-
กล้วยไข่
กล้วยไข่มีคุณสมบัติช่วยชะลอวัย เพราะมีวิตามินบี 1 บี 2 บี 6 บี 12 และสารต้านอนุมูลอิสระที่ชื่อว่า เบต้าแคโรทีน ที่ช่วยชะลอความเสื่อมของเซลล์ได้เป็นอย่างดี
-
กล้วยหักมุก
กล้วยหักมุกมีผลใหญ่ ก้านยาว ปลายลีบแหลม มีสันเหลี่ยมและเปลือกหนากว่ากล้วยชนิดอื่นๆ กล้วยหักมุกมีสารที่ชื่อว่า ไซโตอินโดไซด์ ช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ อันเนื่องจากแผลในกระเพาะอาหารได้ดี
ข้อควรระวังในการกินกล้วย
แม้ว่ากล้วยจะมีประโยชน์ต่อร่างกายมาก และแตกต่างกันออกไปในแต่ละชนิด แต่สำหรับคนที่ชอบกินกล้วยเป็นประจำอาจต้องทราบเอาไว้ว่า กล้วยเป็นผลไม้ที่ให้พลังงานสูงจากปริมาณน้ำตาลในกล้วย กล้วยหอม 1 ผลให้พลังงานราว 105 กิโลแคลอรี่ น้ำตาลราว 2.8 ช้อนชา ในขณะที่กล้วยลูกเล็กๆ อย่างกล้วยไข่ 2 ผล ให้พลังงาน 56 กิโลแคลอรี่ หรือน้ำตาลราว 2.2 ช้อนชา เช่นกัน ดังนั้นจึงควรจำกัดปริมาณของกล้วยที่กินต่อวันให้ดี อย่ากินมากเกินไป และกล้วยเหมาะกับการให้พลังงานก่อนออกกำลังกายได้ดีมาก
นอกจากนี้ควรเลือกกินเฉพาะกล้วยสุก เพราะกล้วยดิบจะมีแป้งมาก ย่อยยาก ทำให้ท้องอืด และท้องผูก เพราะเส้นใยอาหาร (เพคติน) ในกล้วยที่อาจไปดูดซึมน้ำในลำไส้ เมื่อลำไส้ไม่มีน้ำไปหล่อเลี้ยงกากอาหาร อุจจาระจึงแข็งตัวจนเกิดอาการท้องผูก
- ประโยชน์ของ "กล้วย" และข้อควรระวัง
- กิน "กล้วยน้ำว้า" หรือ "กล้วยหอม" ได้ประโยชน์มากกว่ากัน
- “กล้วย” และ ประโยชน์ดีๆ ต่อสุขภาพ บรรเทาโรคระบบทางเดินอาหาร-บำรุงร่างกาย