10 สิ่งกระตุ้นอาการหอบหืด ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง

10 สิ่งกระตุ้นอาการหอบหืด ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง

10 สิ่งกระตุ้นอาการหอบหืด ที่ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ป่วยโรคหอบหืดหมั่นสังเกตอาการ และดูแลตนเองในช่วงที่อากาศกำลังเข้าสู่ฤดูฝน ปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบ ย้ำหากไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้องอาจได้รับอันตรายถึงชีวิต

ปัจจัยกระตุ้นอาการของโรคหอบหืด

นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคหอบหืดไม่ใช่โรคติดต่อแต่สามารถถ่ายทอดผ่านทางพันธุกรรมได้ เกิดจากการอักเสบเรื้อรังของหลอดลม ที่มีความไวต่อสิ่งที่มากระตุ้นมากผิดปกติ ทำให้เกิดอาการของโรค ได้แก่ 

  1. สารก่อภูมิแพ้ในและนอกครัวเรือน เช่น มลพิษทางอากาศ
  2. การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศร้อนจัด เย็นจัด ฝนตก อากาศแห้งหรือชื้น 
  3. เชื้อโรค 
  4. ไรฝุ่น 
  5. แมลงสาบ 
  6. เกสรหญ้า วัชพืช 
  7. ฝุ่นควันต่างๆ 
  8. น้ำหอม 
  9. น้ำยาหรือสารเคมี 
  10. สัตว์เลี้ยง

ปัจจัยเหล่านี้เป็นสิ่งที่กระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองต่อสารก่อภูมิแพ้ของผู้ป่วยโรคหอบหืด 

อาการของโรคหอบหืด

เมื่อผู้ป่วยได้รับปัจจัยกระตุ้น อาจทำให้ผู้ป่วยเกิดอาการต่างๆ ดังนี้ได้

  • ไอ 
  • หายใจไม่สะดวก 
  • มีเสียงหวีด 
  • เหนื่อยหอบ 
  • ไอเรื้อรัง 
  • แน่นหน้าอก โดยเฉพาะตอนกลางคืนและช่วงเช้ามืด 

หากผู้ป่วยไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง การอักเสบเรื้อรังของหลอดลมนี้อาจนำไปสู่การเกิดพังผืดและการหนาตัวอย่างมาก มีผลทำให้มีการอุดกั้นของหลอดลมอย่างถาวร

อันตรายของโรคหอบหืด

นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคหอบหืดสามารถเกิดได้กับทุกเพศทุกวัย ซึ่งปัจจุบันโรคนี้ยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่สามารถควบคุมอาการได้ หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีและเคร่งครัด ในขณะเดียวกันอาการของโรคก็ทำให้เสียชีวิตได้ หากอาการกำเริบรุนแรงและไม่ได้รับการรักษาทันทีหรือผิดวิธี หรืออาจทำให้เกิดโรคแทรกซ้อนตามมา เช่น โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง  หรือเสียชีวิตได้จากสมองขาดออกซิเจน 

วิธีป้องกันอาการโรคหอบหืดกำเริบ

ควรหลีกเลี่ยง และขจัดสิ่งต่างๆที่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้หรือกระตุ้นอาการหอบหืด เช่น 

  1. ควรหมั่นทำความสะอาดบ้าน โดยเฉพาะ ห้องนอน ห้องทำงาน รวมทั้งเฟอร์นิเจอร์ พัดลม เครื่องปรับอากาศ 
  2. พยายามเปิดหน้าต่าง ให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก ให้แสงแดดส่องถึง 
  3. กำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงสาบ 
  4. พักผ่อนให้เพียงพอ 
  5. งดสูบบุหรี่
  6. ไม่ควรดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากสุราทำให้เพิ่มอาการโรคกรดไหลย้อน และส่งผลให้อาการหอบหืดกำเริบได้ 
  7. ควรใช้ยาตามคำแนะนำของแพทย์อย่างถูกต้องและสม่ำเสมอ 
  8. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย 
  9. ออกกำลังกายเพื่อสร้างภูมิคุ้มกัน และหลีกเลี่ยงภาวะเครียด 

จะเห็นได้ว่าโรคหอบหืดเป็นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ป่วย หลีกเลี่ยงสิ่งที่คิดว่าจะทำให้เกิดอาการเพื่อป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อน ลดอาการความรุนแรงของโรค ลดโอกาสการเสียชีวิตจากโรคหอบหืด และเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นของผู้ป่วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook