วิธีรักษา “ภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง” อันตรายที่วัยเรียน-วัยทำงาน อาจเจอ

วิธีรักษา “ภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง” อันตรายที่วัยเรียน-วัยทำงาน อาจเจอ

วิธีรักษา “ภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง” อันตรายที่วัยเรียน-วัยทำงาน อาจเจอ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
  • ความเครียด การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา ได้รับสารอาหารไม่พอเพียง นอนพักผ่อนไม่เพียงพอ ขาดการออกกำลังกาย เหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนล้าอ่อนแรง
  • อาการอ่อนล้าเรื้อรัง นอกจากส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานในชีวิตประจำวันแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้นานวันเข้าโดยปราศจากการดูแลอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่าง ๆได้ในอนาคตอีกด้วย

คุณมีอาการอ่อนล้าเรื้อรังแบบไม่ทราบสาเหตุบ้างหรือไม่

อาการแบบนี้อาจเป็นสัญญาณเตือนถึงความบกพร่องของสมดุลร่างกายและนำไปสู่โรคภัยต่างๆ ตามมาได้

“ภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง” อันตรายที่วัยเรียน-วัยทำงาน อาจเจอ

พญ. พัชรนันท์ ศรีพัฒนวัชร์ แพทย์วุฒิบัตร Anti-Aging Medicine (สหรัฐอเมริกา) ชำนาญการด้านเวชศาสตร์ชะลอวัยและฟื้นฟูสุขภาพ รพ. สมิติเวช ศรีนครินทร์ ระบุว่า ในภาวะสังคมที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย การทำงานที่เร่งรีบ และความเคร่งเครียดเกิดขึ้นบ่อยครั้งในชีวิตประจำวัน อาจเป็นปัจจัยที่ทำให้เราเสี่ยงภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง เช่น

  • ความเครียดที่รุมเร้า
  • การรับประทานอาหารไม่ตรงเวลา
  • ได้รับสารอาหารไม่พอเพียง
  • ขาดการพักผ่อน
  • ขาดการออกกำลังกาย

ปัจจัยเหล่านี้ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ร่างกายอ่อนล้าอ่อนแรงลงทุกขณะ จนบางครั้งแทบไม่มีแรงทำงาน จึงจำต้องใช้เครื่องดื่มชูกำลัง เช่น กาแฟ เข้ามาช่วย ในบางครั้งกาแฟหลายแก้วก็ยังไม่สามารถให้พลังงานได้ดีพอ ยิ่งนานวันก็ยิ่งอ่อนแรง ซึ่งอาจจะนำไปสู่ภาวะภูมิคุ้มกันที่ลดลง ภาวะฮอร์โมนที่เริ่มแปรปรวน ภาวะการเผาผลาญลดลง ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่ควบคุมได้ยาก

หากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อยๆ สุขภาพร่างกายก็อาจจะแย่ลงและนำมาสู่การเกิดโรคต่างๆ อาทิ เช่น ภาวะอ้วนลงพุง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ เป็นต้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่าจากเรื่องอาการอ่อนล้าทั่วๆไป นอกจากส่งผลเสียต่อประสิทธิภาพการทำงานในชีวิตประจำวันแล้ว หากปล่อยทิ้งไว้นานวันเข้าโดยปราศจากการดูแลอย่างถูกวิธีอาจนำไปสู่การเจ็บป่วยเป็นโรคเรื้อรังต่างๆได้ในอนาคตอีกด้วย

วิธีรักษาภาวะอ่อนล้าเรื้อรัง

  • พักผ่อนให้เพียงพอ
  • รับประทานอาหารที่ช่วยให้ร่างกายมีพลังงานที่ดี รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เน้นเป็นแป้งที่ไม่ผ่านการขัดสีมากนัก เช่น ข้าวกล้อง ทานผักให้หลากหลาย ทานผลไม้ที่มีรสไม่หวานนักให้เพียงพอ ดื่มน้ำให้เพียงพอ
  • เน้นการออกกำลังกายที่ไม่ใช้การแข่งขัน เช่น โยคะ
  • เน้นการผ่อนคลายอารมณ์ ลดความเครียด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่ยิ่งกระตุ้นการทำงานของร่างกาย เช่น กาแฟ เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายทำงานหนักขึ้นและยิ่งอ่อนล้ามากขึ้นในระยะยาว
  • พบและปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ Anti-Aging เพื่อให้คำแนะนำด้านต่างๆรวมทั้งการรับประทานอาหารเสริมกลุ่มที่ช่วยในการเสริมสร้างพลังงานให้กับร่างกาย เช่น วิตามินบี วิตามินซี โคเอนไซม์คิวเทน อื่นๆ เป็นต้น

คนมักเข้าใจว่ากาแฟเป็นตัวแก้ปัญหา แต่จริงๆ แล้วกลับทำให้แย่ลงในระยะยาว เมื่อร่างกายอ่อนล้าแสดงว่าร่างกายกำลังเตือนว่าใช้งานหนักเกินไป ร่างกายควรได้รับการพักผ่อนหรือได้รับสารอาหารที่มีประโยขน์เพื่อเสริมสร้างพลังงาน แต่กาแฟกลับไปกระตุ้นบีบเค้นให้ทำงานหนักขึ้น เพราะฉะนั้นจะพบว่าเมื่อกาแฟหมดฤทธิ์ร่างกายกลับยิ่งเพลียและคนก็ยิ่งติดกาแฟ ต้องดื่มกาแฟเพิ่มปริมาณมากขึ้นเรื่อยๆ เหล่านี้ล้วนส่งผลเสียต่อร่างกายในระยะยาว

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook