20 อาหารที่ทำให้ “ผายลม” มากกว่าปกติ

20 อาหารที่ทำให้ “ผายลม” มากกว่าปกติ

20 อาหารที่ทำให้ “ผายลม” มากกว่าปกติ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผายลมบ่อย ผายลมทั้งวัน อาจเป็นเพราะมื้อที่แล้วกินอาหารเหล่านี้

อ.นพ.นรินทร์ อจละนันท์ หัวหน้าสาขาวิชาอายุรศาสตร์โรคระบบทางเดินอาหารและตับ ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า การผายลมเป็นเรื่องปกติของมนุษย์ คนเราสามารถผายลมได้หลายครั้งต่อวัน หรืออาจจะผายลมตลอดทั้งวันได้ โดยไม่ได้เสี่ยงเป็นอันตรายหรือเป็นโรคใดๆ รวมถึงกลิ่นของผายลม ทั้งเหม็นมากเหม็นน้อย และความแรงของผายลม ก็ไม่ได้บ่งบอกว่าเป็นโรคใดๆ อีกด้วย

สาเหตุของการผายลม

สาเหตุของการผายลมมาจากอาหารที่เรากินเข้าไป ลำไส้ทำการย่อย อาจเกิดการบิดตัว และเกิดกระบวนการที่ทำให้เกิดแก๊ส ที่เราปล่อยออกมาจากร่างกายผ่านการเรอ หรือผายลม รวมไปถึงแบคทีเรียบางอย่างในลำไส้ ที่อาจมีคุณสมบัติย่อยสลายสิ่งต่างๆ มากกว่าปกติ ก็ทำให้เกิดการผายลมมากขึ้น

17 อาหารที่ทำให้ “ผายลม” มากกว่าปกติ

จริงๆ แล้วอาหารทุกประเภททำให้เกิดการผายลมได้ทั้งหมด แต่อาหารเหล่านี้อาจทำให้เกิดการผายลมที่อาจจะมากกว่าปกติในบางคน เช่น

  1. พืชตระกูลถั่ว
  2. ข้าวโอ๊ต
  3. หน่อไม้ฝรั่ง 
  4. บร็อคโคลี่ 
  5. กะหล่ำปลี
  6. ลูกพรุน 
  7. ลูกท้อ 
  8. แอปเปิล
  9. ธัญพืช 
  10. ขนมปัง 
  11. ข้าวโพด 
  12. มันฝรั่ง
  13. เครื่องเทศ
  14. อาหารที่มีไขมันสูง
  15. อาหารที่มีกากใยอาหารสูง
  16. หมากฝรั่งและลูกอมบางชนิดที่มีส่วนประกอบเป็นสารให้ความหวานอย่างซอร์บิทอล (Sorbitol)
  17. นมและผลิตภัณฑ์จากนม ในคนที่แพ้แลตโตสในนม
  18. เครื่องดื่มน้ำอัดลม หรือน้ำหวาน
  19. นมเปรี้ยว โยเกิร์ต
  20. อาหารที่เย็นชืด (ทำให้ผายลมมากกว่าอาหารอุ่นๆ)

เป็นต้น

ไม่ผายลมเลย อันตรายยิ่งกว่า

คนที่คิดว่าตัวเองโชคดีว่าไม่ค่อยผายลมเลย อาจดีใจได้ไม่เต็มที่ เพราะมีความเป็นไปได้ว่า คุณอาจเสี่ยงโรคลำไส้อุดตันได้

วิธีช่วยลดการผายลม

แม้ว่าการผายลมบ่อย ผายลมทั้งวัน ผายลมมีกลิ่น จะเป็นเรื่องธรรมดาที่ไม่ได้มีความผิดปกติทางร่างกายแต่อย่างใด แต่หากการผายลมมากเกินไปส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน แพทย์อาจพิจารณาให้กินยากลุ่ม ไซเมทิโคน (Simethicone) ที่ช่วยลดอาการท้องขึ้น และความเจ็บปวดที่เกิดจากแก๊สในท้องมากเกิน ซึ่งอาจจะช่วยได้บางคน สำหรับคนที่มีอาการมากๆ จนยาตัวนี้เอาไม่อยู่ แพทย์อาจพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ เพื่อกำจัดเชื้อโรคต่างๆ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook