คอเลสเตอรอลสูง สูงแค่ไหน ถึงต้องกินยาลด

คอเลสเตอรอลสูง สูงแค่ไหน ถึงต้องกินยาลด

คอเลสเตอรอลสูง สูงแค่ไหน ถึงต้องกินยาลด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้ที่มีปัญหา คอเลสเตอรอลในเลือดสูงเกินไป จำเป็นต้องลดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ เพราะอาจนำไปสู่โรคร้ายแรงอื่นๆ ตามมาภายหลังได้ เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด เส้นเลือดตีบอุดตัน เลือดไหลไปเลี้ยงอวัยวะต่างๆ ของร่างกายไม่เพียงพอ และเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้

ยาลดคอเลสเตอรอล เป็นทางเลือกและวิธีการรักษาที่แพทย์จะพิจารณาให้กับผู้ป่วยบางรายที่มีความจำเป็นต้องลดคอเลสเตอรอลเพื่อป้องกันโรคอันตรายในอนาคต แต่ในบางรายอาจไม่จำเป็น หรือไม่สามารถใช้ยาลดคอเลสเตอรอลได้

ยาลดคอเลสเตอรอล

ผศ.นพ.พิสนธิ์ จงตระกูล แพทย์ฝ่ายเภสัชวิทยา โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ระบุว่า ยากลุ่มสแตติน เป็นยาลดคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ช่วยเพิ่มไขมันชนิดดี (HDL) และช่วยลดการอักเสบของหลอดเลือดแดง เป็นยาที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้ที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมอง

คอเลสเตอรอล สูงแค่ไหน ถึงต้องกินยาลด

ในคนที่ยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดอุดตัน

  1. ระดับ LDL มากกว่าหรือเท่ากับ 190 mg/dL
  2. ระดับ LDL 70-189 mg/dL และเป็นเบาหวานร่วมด้วย
  3. มีความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดอุดตันใน 10 ปี มากกว่าหรือเท่ากับ 7.5% และกลุ่มสุดท้ายที่ได้ประโยชน์แน่นอนคือ
  4. ในคนที่มีภาวะหลอดเลือดอุดตันแล้ว เช่น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด เส้นเลือดในสมองตีบ

ข้อควรทราบในการใช้ยาสแตติน

  1. แม้ค่าไขมันจะอยู่ในระดับปกติ แต่ผู้เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมองยังจำเป็นต้องได้รับยาสแตตินตลอดไป เพื่อป้องกันการกลับเป็นซ้ำของโรค
  2. ผู้ที่ยังไม่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองที่มีไขมัน LDL สูงในเลือด และมีความเสี่ยงสูงในการเป็นโรคเท่านั้น ที่จะได้รับประโยชน์จากสแตติน โดยประเมินจากระดับ LDL และ HDL ร่วมกับเพศ อายุ ประวัติการมีภาวะความดันเลือดสูง การเป็นโรคเบาหวาน และการสูบบุหรี่ เป็นต้น
  3. ผู้ที่ประเมินแล้วมีโอกาสเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจ หรือสมอง (Thai CV rish score) ต่ำกว่า 10% ในระยะเวลา 10 ปี โดยทั่วไปมักไม่จำเป็นต้องได้รับสแตติน

คอเลสเตอรอลสูง ห้ามกินอะไร

  • ไขมันอิ่มตัว เช่น น้ำมันปาล์ม กะทิ หนังสัตว์ เนื้อสัตว์แปรรูป
  • อาหารที่มีคอเลสเตอรอลสูง เช่น ไข่ปลา ไข่แดง ตับ ปลาหมึก
  • ไขมันทรานส์ เช่น เนยเทียม ครีมเทียม ขนมอบที่มีไขมันสูง
  • อาหารหวานและน้ำตาลสูง เช่น ขนมหวาน น้ำอัดลม
  • เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และเครื่องดื่มชูกำลัง

อ่านเพิ่มเติม

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook