6 วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดน "ตะขาบ" กัด

6 วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดน "ตะขาบ" กัด

6 วิธีปฐมพยาบาล เมื่อโดน "ตะขาบ" กัด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หน้าฝนแบบนี้ ระวังตะขาบหลุดออกมาจากริมถนน ท่อระบายน้ำ หากถูกกัดขึ้นมา จะปฐมพยาบาลได้อย่างไรบ้าง เพื่อไม่ให้พิษตะขาบเล่นงานเราได้

พิษจากตะขาบ อันตรายแค่ไหน

รศ. พญ.สาทริยา ตระกูลศรีชัย ภาควิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉินและศูนย์พิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ตะขาบเป็นสัตว์ขาปล้องประเภทหนึ่ง พบในเขตร้อนชื้น อาศัยบนบก ขนาดตัวมีความยาวได้มากถึง 38 เซนติเมตร โดยที่แต่ละปล้องมีขา 1 คู่ ทำให้มีขาจำนวนมากอาจจะถือเป็น 100 ขาได้เลย และตะขาบจะมีเขี้ยวพิษ 1 คู่ เพราะฉะนั้นเวลาที่กัดคนก็จะสามารถปล่อยพิษตรงเขี้ยวพิษนี้ได้ โดยที่สารที่อยู่ในพิษของตะขาบเป็นสารทั้งชนิดที่เป็นเอนไซม์และไม่ใช่เอนไซม์ 

หลังโดนตะขาบกัด ผู้ที่ถูกกัดอาจรู้สึกปวดเล็กน้อยจนถึงปวดมาก มีอาการคันบวมที่แผล และแผลของผู้ป่วยบางรายอันตรายถึงขั้นเนื้อตายได้ นอกจากนี้ในบางรายที่มีอาการแพ้พิษตะขาบ อาจมีอาการบวมที่ใบหน้า หนังตา และริมฝีปาก มีผื่นขึ้นทั่วร่างกาย หายใจติดขัด มีอาการหน้ามืด หรือหากมีอาการหนักมากๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

6 วิธีปฐมพยาบาล เมื่อถูกตะขาบกัด

  1. เช็กอาการของผู้ถูกกัดว่ามีความเสี่ยงที่จะมีอาการแพ้พิษตะขาบหรือไม่ โดยดูว่ามีอาการเหล่านี้หรือไม่
    - บวม
    - มีตุ่มขึ้นทั่วร่างกาย
    - หายใจติดขัด
    - หายใจลำบาก
    - ความดันโลหิตต่ำ
    - หน้ามืด
    - หากมีอาการดังกล่าว ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาล หรือโทร 1669
  2. ถ้าดูแผลและอาการที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยไม่มีอาการรุนแรงมาก ให้ทำความสะอาดแผลที่ถูกกัดด้วยน้ำสะอาด หรือน้ำสบู่อ่อนๆ
  3. ไม่ควรกรีด หรือนำสมุนไพรใดๆ มาพอกบริเวณที่โดนตะขาบกัดเด็ดขาด
  4. หากมีอาการปวดแผลมาก สามารถกินยาแก้ปวดได้ เช่น พาราเซตามอล
  5. สามารถประคบเย็น เพื่อช่วยทุเลาอาการปวดให้ลดลงได้เช่นกัน
  6. หากมีอาการผิดปกติอื่นๆ ไม่ควรนิ่งเฉย ควรรีบนำตัวส่งโรงพยาบาลทันที
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook