HMB คืออะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญกับกล้ามเนื้อ

HMB คืออะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญกับกล้ามเนื้อ

HMB คืออะไร? ทำไมจึงมีความสำคัญกับกล้ามเนื้อ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรารู้กันอยู่แล้วว่า "โปรตีน" เป็นสารอาหารหลักที่สำคัญกับร่างกาย เพราะมีส่วนช่วยรักษาและซ่อมแซมเนื้อเยื่อของร่างกาย คณะกรรมการโภชนาการและอาหารแห่งสถาบันการแพทย์ (Food and Nutrition Board of the Institute of Medicine) แนะนำว่า ผู้ใหญ่ที่มีสุขภาพดีควรได้รับโปรตีนอย่างน้อยที่สุด 0.8 กรัม ต่อน้ำหนักร่างกายทุกๆ 1 กิโลกรัม ต่อวัน ซึ่งเทียบเท่ากับโปรตีนประมาณ 8 กรัมสำหรับน้ำหนักทุกๆ 9 กิโลกรัม จะส่งผลอย่างมากให้ร่างกายลดการสลายของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติอย่างช้าๆ  

ยิ่งคนที่อายุ 40 ปีขึ้นไป การสูญเสียกล้ามเนื้อยิ่งเพิ่มมากขึ้น มวลกล้ามเนื้อจะลดลงประมาณ 8 % ในทุกๆ 10 ปี และจะมากถึง 15% ในทุกๆ 10 ปี เมื่ออายุ 70 ปีขึ้นไป  โดยผู้สูงอายุมากถึง 1 ใน 3 ที่มักเผชิญกับภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย ทำให้ส่งผลกระทบต่อการเคลื่อนไหว การทรงตัว จากสถิติของผู้สูงอายุที่พลัดตกหกล้มต่อปี มีมากถึง 42% ดังนั้น การดูแลสุขภาพกล้ามเนื้อ จึงไม่ใช่เรื่องที่เราควรละเลยอีกต่อไป  

รู้จัก HMB สารสำคัญที่ช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของกล้ามเนื้อที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ

HMB (เอช เอ็ม บี) หรือ เบต้า ไฮดรอกซี เบต้า เมทิลบิวไทเรต (Beta-hydroxy-beta-methylbutyrate) เป็นสารที่สังเคราะห์มาจากกรดอะมิโนลิวซีน ที่พบได้ในกล้ามเนื้อ ช่วยเสริมสร้างและชะลอการสลายของกล้ามเนื้อ อีกทั้งยังช่วยเพิ่มมวลน้ำหนักตัวที่ไม่รวมไขมัน (Lean Body Mass) และเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ

HMB ถูกพัฒนาในวงการวิทยาศาสตร์การกีฬา จากการศึกษาในนักกีฬาพบผลเชิงบวกของ HMB ต่อการเสริมสร้างการฟื้นตัว และความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ ด้วยเหตุนี้ HMB จึงถูกนำมาพัฒนาให้เป็นส่วนประกอบที่สำคัญในอาหารสูตรครบถ้วน พร้อมกับโปรตีนคุณภาพดีหลายชนิด โดย HMB จะช่วยชะลอการสลายตัวของกล้ามเนื้อ ในขณะที่โปรตีนคุณภาพดีหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยส่งเสริมให้ผู้สูงอายุมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง

จากงานวิจัยพบว่า ปริมาณ HMB ที่เหมาะสมเพื่อเสริมสร้างมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรงนั้นอยู่ที่ 1.5 กรัมต่อวัน หากต้องการ HMB ในปริมาณดังกล่าวหรือใกล้เคียง นั่นหมายถึงการรับประทานไข่ไก่มากถึง 50 ฟอง หรือเนื้ออกไก่ 7 ชิ้น หรืออะโวคาโดถึง 3,000 ลูก ไม่ก็กะหล่ำดอกปรุงสุก 6,500 ถ้วย ซึ่งแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่เราจะรับประทานอาหารปริมาณเหล่านี้ในทุกๆ วัน แต่ในความเป็นจริงยังมีอีกทางเลือกหนึ่งที่ง่ายที่สุด คือการรับประทาน

แม้ว่า HMB จะพบปริมาณเล็กน้อยในอาหารบางชนิดและในร่างกาย ทว่าเมื่ออายุมากขึ้นปริมาณ HMB ในร่างกายอาจลดลง นอกจากนี้ อายุที่มากขึ้น ประกอบกับการมีภาวะตึงเครียดในกระบวนการเผาผลาญ (Metabolic Stress) จากการเจ็บป่วย การขาดสารอาหาร หรือการอักเสบ ยังส่งผลให้เกิดการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ ทำให้มีการเร่งสลายตัวของมวลกล้ามเนื้อสูงขึ้น สมดุลของกล้ามเนื้อจึงเสียไป

ดังนั้น HMB จึงมีประโยชน์เป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ เนื่องจากผู้สูงอายุจะมีอัตราการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อที่มากขึ้นตามธรรมชาติเมื่อเทียบกับวัยอื่น ด้วยเหตุนี้ นอกจากจะให้ความสำคัญกับโภชนาการที่ครบถ้วนจากอาหารหลัก 5 หมู่

การพักผ่อนให้เพียงพอ และการออกกำลังกายแบบแรงต้าน (Resistance exercise) จะช่วยเสริมสร้างการทำงานของกล้ามเนื้อ และควรเสริมด้วยอาหารสูตรครบถ้วนที่มี HMB และโปรตีนคุณภาพดีที่หลากหลาย โดย HMB จะช่วยชะลอการสลายตัวของกล้ามเนื้อ ขณะเดียวกันโปรตีนหลายชนิดจะช่วยเสริมสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อได้อีกทาง ทำให้กล้ามเนื้อแข็งแรง มีส่วนช่วยให้ผู้สูงอายุยังสามารถทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวันได้

[Advertorial]

อ้างอิง

  1. การพยากรณ์การพลัดตกหกล้มในผู้สูงอายุ ปี 2560-2564 สำนักโรคไม่ติดต่อ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข
    2. Nissen SL, Abumrad NN. J Nutr Biochem. 1997;8:300-311.
    3. Kuriyan R, et al. Exp Gerontol. 2016;81:13-18.
    4. De Luis DA, et al. Nutr Hosp. 2015332(1):202-207
    5. Olveira G, et al. Clin Nutr. 2016335(5):1015-1022
    6. Malafarina V, et al. Maturitas. 2017;101:42-50.
    7.Deutz NE., et al. Clin Nutr. 2013;32(5):704-12.
    8. Wilson, et al. Nutr Metab (Lond). 2008;5
    9. Vukovich, et al. J Nutr. 2001;131(7)
    10. Alfonso J. Cruz-Jentoft 2017;18(1-5)
    11.Wilson J Int Soc Sports Nutr. 2013

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook