ทำไมถึง “ปวดหัวจี๊ด” หลังกินไอศกรีม และวิธีป้องกัน

ทำไมถึง “ปวดหัวจี๊ด” หลังกินไอศกรีม และวิธีป้องกัน

ทำไมถึง “ปวดหัวจี๊ด” หลังกินไอศกรีม และวิธีป้องกัน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คนบางคนมักจะพูดว่ารู้สึกปวดหัวจี๊ดเวลารับประทานของเย็น เช่น ไอศกรีม น้ำแข็งไสและน้ำแข็ง เป็นต้น แต่บางคนก็ไม่มีอาการปวดหัวดังกล่าวแม้จะรับประทานไอศกรีมเหมือนกัน มาดูสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการปวดหัวจี๊ดเวลารับประทานไอศกรีมหรือของเย็นจากคุณหมอญี่ปุ่น และวิธีการป้องกันอาการปวดหัวดังกล่าวกัน

อาการปวดหัวจี๊ดเวลารับประทานไอศกรีมเกิดจากอะไร

อาการปวดหัวจี๊ดเกิดขึ้นหลังจากที่รับประทานของเย็นอย่างไอศกรีมหรือน้ำแข็งไสเข้าไปภายในเวลาเพียงไม่กี่วินาที คนโดยทั่วไปจะรู้สึกปวดจี๊ดบริเวณตรงกลางหน้าผาก แต่บางคนอาจรู้สึกปวดจี๊ดตรงขมับด้านใดด้านหนึ่ง หรือท้ายทอย อาการปวดหัวจี๊ดจะคงอยู่ประมาณ 30-60 วินาที แล้วจะหายไป สาเหตุที่เกี่ยวข้องกับอาการปวดหัวจี๊ดเวลารับประทานของเย็นมีดังนี้

การไหลเวียนของเลือด เมื่อรับประทานของเย็นเข้าไป อุณหภูมิในปากจะลดลงอย่างรวดเร็ว ทำให้หลอดเลือดในร่างกายขยายตัวเพื่อเพิ่มอุณหภูมิของร่างกาย ส่งผลในการเพิ่มการไหลเวียนของเลือด การเคลื่อนที่ของหลอดเลือดในทันทีทันใดจะกระตุ้นให้เกิดการบวมของหลอดเลือดในสมองซึ่งทำให้เกิดอาการปวดหัวจี๊ดขึ้นมา

เส้นประสาทใบหน้า (Trigeminal nerve) ของเย็นที่ผ่านเข้าปากจะไปกระตุ้นเส้นประสาทใบหน้าที่อยู่ในปากและทำให้รู้สึกปวดแปลบขึ้นที่หัว ในบางรายความเย็นจะไปกระตุ้นระบบประสาทอัตโนมัติซึ่งทำให้ปวดหัวจี๊ดได้เช่นกัน

อาการปวดหัวจี๊ดเกิดกับทุกคนหรือไม่?

ไม่ใช่ทุกคนที่มีอาการปวดหัวจี๊ดเวลารับประทานของเย็น ผู้ใหญ่ร้อยละ 15 และเด็กประถมศึกษาร้อยละ 40 มีอาการปวดจี๊ดที่หัวเวลารับประทานไอศกรีมและของหวานเย็นๆ อย่างไรก็ดี คนที่ปวดหัวไมเกรนเป็นประจำจะมีโอกาสปวดหัวจี๊ดเมื่อรับประทานของเย็นเข้าไปสูงกว่าคนปกติถึง 3 เท่า และแม้ว่าโอกาสการปวดหัวดังกล่าวจะเกิดกับคนที่มีอาการปวดหัวไมเกรนมากกว่า แต่คนทั่วไปทุกคนก็มีโอกาสปวดหัวจี๊ดได้เช่นกัน ขึ้นอยู่กับความเร็วและวิธีการรับประทานของเย็น

วิธีการป้องกันการเกิดอาการปวดหัวจี๊ด

อาการปวดหัวจี๊ดเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่สั้นและจะหายไปเองในเวลาที่รวดเร็ว ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องไปหาหมอหรือรับประทานยา แต่มีวิธีการป้องกันได้ง่ายๆ คือ รับประทานไอศกรีมหรือของหวานเย็นๆ ทีละน้อยอย่างช้าๆ และระวังอย่าให้ของหวานเย็นสัมผัสโดนเพดานปากส่วนด้านในของปากโดยทันทีทันใด การรับประทานอย่างช้าๆ จะทำให้เพดานปากได้คุ้นเคยกับอุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงจากหวานเย็น

โดยทั่วไปอาการปวดหัวจี๊ดไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายเพราะจะหายไปในเวลาไม่กี่นาที แต่หากอาการปวดหัวไม่หายและมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน และหมดสติร่วม ก็ต้องรีบปรึกษาแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook