“นอนดึกเสี่ยงตัวเตี้ย” ไม่ใช่แค่คำขู่ เพราะเด็กอาจขาด “โกรธฮอร์โมน”

“นอนดึกเสี่ยงตัวเตี้ย” ไม่ใช่แค่คำขู่ เพราะเด็กอาจขาด “โกรธฮอร์โมน”

“นอนดึกเสี่ยงตัวเตี้ย” ไม่ใช่แค่คำขู่ เพราะเด็กอาจขาด “โกรธฮอร์โมน”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

“นอนดึกจะตัวเตี้ย” คำบอกเล่าที่ผู้ใหญ่มักใช้เมื่อต้องการให้เจ้าหนูทั้งหลายเข้านอนแต่หัวค่ำ แต่รู้หรือไม่ว่า นั่นไม่ใช่เพียงคำหลอกเด็กแต่คือความจริงที่ว่าหากร่างกายไม่ได้รับการพักผ่อนที่เพียงพอจะส่งผลให้เด็กตัวเตี้ยได้ เพราะในขณะหลับร่างกายจะหลั่งสารที่เรียกว่า “Growth Hormone” ที่มีผลต่อการเจริญเติบโตออกมานั่นเอง

Growth Hormone คืออะไร?

แพทย์หญิง ปราญชลี ศรีกาญจนวัชร แพทย์ผู้ชำนาญการด้านกุมารเวชศาสตร์ เฉพาะทางต่อมไร้ท่อมและเมตาบอลิซึม โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC) ระบุว่า Growth Hormone คือ ฮอร์โมนสำคัญที่ถูกผลิตและหลั่งออกมาจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ร่างกายผลิตขึ้นเพื่อกระตุ้นให้เกิดการสร้างและซ่อมแซมเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกายขณะที่มีการนอนหลับ โดย Growth Hormone จะมีการหลั่งปริมาณที่สูงในช่วงเวลา 22.00-02.00 น. และเริ่มหลั่งครั้งแรกใน 1.5-3.5 ชั่วโมงหลังจากเริ่มหลับสนิท ดังนั้น หากเด็กนอนหลับไม่สนิทหรือหลับช้ากว่าเที่ยงคืนร่างกายจะหลั่ง Growth Hormone ออกมาปริมาณที่น้อยกว่าปกติ

Growth hormone ปริมาณที่เหมาะสมจะทำให้เด็กเจริญเติบโตสมวัย การสร้างกระดูกและกล้ามเนื้อสมบูรณ์แข็งแรง นอกจากนี้การเจริญเติบโตที่สมวัยยังต้องอาศัยปัจจัยอื่นนอกจาก Growth Hormone ร่วมด้วย ได้แก่ พันธุกรรมจากพ่อแม่ ภาวะโภชนาการที่เหมาะสม และการออกกำลังกายที่สม่ำเสมอ

หากขาด Growth Hormone ร่างกายจะเป็นอย่างไร?

  • ส่วนสูงเตี้ยกว่าเด็กวัยเดียวกันและเตี้ยกว่าเกณฑ์พันธุกรรม หากอาการรุนแรงอาจพบความสูงต่ำกว่าเปอร์เซ็นไทล์ที่ 3 ของกลุ่มประชากร
  • ลักษณะของศีรษะและใบหน้าเจริญผิดปกติ เสียงเล็กแหลม
  • ในเด็กชายอาจมีอวัยวะเพศเล็กไม่สมวัย
  • มวลกล้ามเนื้อและความหนาแน่นของกระดูกลดลง
  • ภาวะอ้วนลงพุง
  • น้ำตาลในเลือดต่ำ
  • หากสาเหตุเกิดจากเนื้องอกบริเวณต่อมใต้สมอง อาจมีอาการปวดศีรษะร่วมกับการมองเห็นที่ผิดปกติ

คำแนะนำสำหรับผู้ปกครอง เพื่อการเจริญเติบโตที่สมวัยของลูก

  • พาไปพบแพทย์ตามนัดเป็นประจำเพื่อวัดความสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความยาวรอบศีรษะ คุณหมอจะบันทึกผลในกราฟการเจริญเติบโตให้ในสมุดประจำตัว
  • พาลูกเข้านอนตั้งแต่ 21.00-22.00 และก่อนนอนควรงดดูหน้าจอโทรศัพท์ แท็บเล็ตต่างๆ ก่อนเข้านอนเป็นเวลา 1-2 ชั่วโมง
  • จัดอาหารที่เหมาะสมตามวัย ปริมาณเพียงพอและคุณค่าทางอาหารครบ 5 หมู่
  • หากิจกรรมให้เล่นตามวัย พาออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

วัยเด็กคือรากฐานการเจริญเติบโตของร่างกาย หากไม่ได้รับดูแลหรือเมื่อมีความผิดปกติแล้วแต่ไม่ได้รับการแก้ไข จะส่งผลให้ร่างกายไม่สามารถเจริญเติบโตได้ตามความเหมาะสม ดังนั้น หากพบว่าการเจริญเติบโตมีความผิดปกติ ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจประเมินและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook