รู้จัก "โรคคนแข็ง" Stiff-person syndrome โรคทางระบบประสาทหายาก

รู้จัก "โรคคนแข็ง" Stiff-person syndrome โรคทางระบบประสาทหายาก

รู้จัก "โรคคนแข็ง" Stiff-person syndrome โรคทางระบบประสาทหายาก
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคคนแข็ง หรือ Stiff-person syndrome (SPS) เป็นโรคที่เป็นความผิดปกติของระบบประสาท มีผลต่อกล้ามเนื้อหดเกร็งส่งผลให้เกิดความผิดปกติในการทรงตัว อาการปวดเรื้อรัง การเคลื่อนไหวบกพร่อง เกิดขึ้นได้ 1 ในล้าน

โรคคนแข็ง Stiff-person syndrome (SPS) คืออะไร

นายแพทย์วีรวุฒิ อิ่มสำราญ รองอธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า โรคคนแข็ง Stiff-person syndrome (SPS) เป็นโรคทางระบบประสาทส่วนกลางในกลุ่มที่เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานผิดปกติ ซึ่งในภาวะปกติระบบภูมิคุ้มกันมีหน้าที่ป้องกันสิ่งแปลกปลอมเข้าสู่ร่างกาย แต่เมื่อเกิดโรคภูมิคุ้มกันทำงานผิดพลาดย้อนกลับมาทำลายเซลล์ของร่างกายตัวเอง มักพบได้น้อยมากประมาณ 1 ในล้านคน

สาเหตุของโรคคนแข็ง Stiff-person syndrome (SPS)

ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันในโรคนี้ คือ สารต่อต้านเอนไซม์กลูตามิกดีคาร์บอกซิเลส (anti-GAD antibody) ปกติเอนไซม์ GAD ในระบบประสาทจะทำหน้าที่หลักในการเปลี่ยนสารสื่อประสาทกลูตาเมต (Glutamate) ให้เป็นสารสื่อประสาทกาบ้า (GABA) ซึ่งกาบ้ามีหน้าที่ยับยั้งการทำงานของเซลล์ที่มากเกินจำเป็นและอย่างเหมาะสม ดังนั้น เมื่อสารสื่อประสาทกาบ้ามีปริมาณลดลง ส่งผลให้เซลล์ไม่มีระยะเวลาพักและทำงานตลอดเวลาจึงทำให้เกิดอาการผิดปกติ

อาการของโรคคนแข็ง Stiff-person syndrome (SPS)

นายแพทย์ธนินทร์ เวชชาภินันท์ ผู้อำนวยการสถาบันประสาทวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า เซลล์ประสาทที่ได้รับผลกระทบอยู่ที่เซลล์ประสาทสั่งการ (motor neuron) บริเวณไขสันหลัง เมื่อมีการทำงานมากเกินไปจะทำให้เกิดอาการต่างๆ ดังนี้

  • เจ็บปวดกล้ามเนื้อ 
  • กล้ามเนื้อเกร็ง และกระตุกโดยเฉพาะที่หลังและต้นขา 
  • ผู้ป่วยอาการนี้จะไวต่อการรับรู้สิ่งเร้า เช่น มีอาการสะดุ้งหรือร่างกายกระตุกอย่างแรงเมื่อได้ยินเสียงดัง 
  • หากปล่อยให้โรคดำเนินมากขึ้น กล้ามเนื้อบริเวณนั้นจะถูกดึงรั้งจนหลังผิดรูปได้ 
  • นอกจากนี้ยังพบการทำงานผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันต่อเซลล์อื่นของร่างกายได้ เช่น ที่ตับอ่อน ไทรอยด์อักเสบ 
  • ภาวะซีด 
  • เกิดโรคด่างขาวที่ผิวหนัง 

วิธีรักษาโรคคนแข็ง Stiff-person syndrome (SPS)

เมื่อถูกวินิจฉัยเป็นโรคนี้แล้ว จำเป็นที่จะต้องตรวจหาโรคอื่นๆ เช่น เนื้องอก อาจจะเป็นมะเร็งและสามารถกระตุ้นทำให้เกิดภูมิคุ้มกันแปรปรวนส่งผลให้เกิดอาการต่างๆ แพทย์วินิจฉัยโดยการเจาะเลือดหรือน้ำไขสันหลัง และการตรวจคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ (EMG) เพื่อช่วยยืนยันโรค 

การรักษาได้แก่

  1. การปรับภูมิคุ้มกันที่มากเกินไป 
  2. แพทย์จะรักษาตามอาการที่แสดงออกมา เช่น ลดอาการเกร็งและกระตุกของกล้ามเนื้อด้วยยาในกลุ่ม เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) หรือ บาโคลเฟน (Baclofen) 

เมื่อเป็นแล้วก็ควรรีบเข้ารับการรักษา โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยโดยแพทย์

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook