ร้อนในเกิดจากอะไร วิธีรักษาร้อนใน และป้องกันอย่างไร
Thailand Web Stat

ร้อนในเกิดจากอะไร วิธีรักษาร้อนใน และป้องกันอย่างไร

ร้อนในเกิดจากอะไร วิธีรักษาร้อนใน และป้องกันอย่างไร
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัญหา “ร้อนใน” หลายคนคงจะเคยประสบพบเจอมาบ้าง โดยที่จู่ๆ ก็เป็นแผลขึ้นมาในปาก ข้างกระพุ้งแก้ม หรือบนลิ้น และส่วนใหญ่ไม่ทราบสาเหตุว่าเป็นเพราะอะไร Sanook Health จึงหาคำตอบมาให้เพื่อนๆ ทราบกันค่ะ 

ร้อนใน คืออะไร

ร้อนใน เป็นอาการที่พบแผลเปื่อยในช่องปาก อาจจะเป็นกระพุ้งแก้ม ลิ้น หรือส่วนใดส่วนหนึ่งภายในปากได้ ขนาดของแผลอาจเล็กระดับไม่กี่มิลลิเมตร ไปจนถึงเซนติเมตรได้ และอาจพบมากกว่า 1 แผลได้เช่นเดียวกัน โดยแผลเหล่านี้จะมีอาการแสบ ทำให้ทานอาหารไม่สะดวก

ร้อนใน เกิดจากอะไร

สาเหตุของร้อนใน มาจากหลายปัจจัยด้วยกัน แต่ที่พบมากคือ

  • กรรมพันธุ์

  • ความเครียด

  • เผลอกัดโดนเนื้อเยื่อข้างกระพุ้งแก้ม

  • แพ้สารเคมีต่างๆ เช่น สารเคมีจากยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก

  • แพ้อาหารบางชนิด

  • ขาดวิตามิน และเกลือแร่บางชนิด เช่น วิตามินบี ธาตุเหล็ก และสังกะสี

  • ติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด

  • ติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น โรคเริม

  • แปรงฟันแรงเกินไป จนเกิดบาดแผล

  • ดื่มน้ำน้อย

  • ร่างกายขาดสารอาหาร

  • ทานอาหารรสจัดมากเกินไป

  • ทานอาหารทอดมากเกินไป

  • สูบบุหรี่

  • ท้องผูก

  • ร่างกายเกิดความผิดปกติในระบบภูมิคุ้มกัน อาจพักผ่อนไม่เพียงพอจนเสียสมดุล

  • ช่วงที่ผู้หญิงกำลังมีประจำเดือน อาจส่งผลให้ฮอร์โมนในร่างกายเปลี่ยนแปลง และอาจเกิดร้อนในได้ 

ร้อนใน อันตรายไหม

การเป็นร้อนใน นอกจากจะเกิดอาการเจ็บแสบมาก ทำให้การขยับริมฝีปาก หรือทานอาหารเป็นไปได้อย่างยากลำบากแล้ว ก็ไม่มีพบอันตรายใดๆ มากไปกว่านี้ เพราะโดยส่วนใหญ่แผลร้อนในอาจหายได้เอง หรือหากไม่อยากทรมานนานก็สามารถใช้ยาช่วยให้แผลร้อนในหายเร็วขึ้นได้ แต่ที่สำคัญคืออย่าให้แผลติดเชื้อ เพราะอาจทำให้แผลอักเสบ และใช้เวลารักษานานขึ้น ยากขึ้น 

Advertisement

วิธีรักษาร้อนใน

อย่างที่กล่าวไปแล้วข้างต้นว่า แผลร้อนในเล้กๆ สามารถหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ แต่หากมีแผลร้อนในขนาดใหญ่ หรืออยากให้หายไวๆ สามารถรักษาได้ดังนี้

  1. บ้วนน้ำเกลือ ให้น้ำเกลือโดนบริเวณแผล น้ำเกลือจะช่วยบรรเทาอาการอักเสบ บวม แดง ได้

  2. ยาทาแก้ร้อนใน โดยเป็นกลุ่มของตัวยาสเตียรอยด์ ชนิดทา เพื่อลดอาการอักเสบ ปวดบวม อาจเป็นยาน้ำ ขี้ผึ้ง หรือเป็นยาที่ใช้บ้วนปาก

  3. สมุนไพรฤทธิ์เย็น มีหลายอย่างที่มีฤทธิ์รักษาอาการร้อนใน เช่น ใบบัวบก มะระขี้นก ว่านรางจืด แตงกวา ผักกาดขาว หัวไชเท้าเก๊กฮวย รากบัว หล่อฮังก๊วย เป็นต้น ดื่มน้ำสมุนไพรเหล่านี้จะช่วยบรรเทาอาการร้อนในได้ (แต่อย่าผสมน้ำตาลมากเกินไป) 

วิธีป้องกันร้อนใน

  1. ไม่ทานอาหารรสจัด และของทอดมากเกินไป

  2. ดื่มน้ำให้เพียงพอในแต่ละวัน วันละ 6-8 แก้ว

  3. นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

  4. ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ไม่ปล่อยให้ตัวเองเครียดจนเกินไป

  5. รักษาความสะอาดภายในช่องปากอย่างระมัดระวัง ไม่แปรงฟันแรงเกินไป

  6. ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่

  7. หมั่นสังเกตความผิดปกติของตัวเองอยู่เสมอ เพื่อรีบพบแพทย์ทันทีหากมีความจำเป็น 

อาการร้อนในไม่ใช่ปัญหาใหญ่ แต่คอยสร้างความรำคาญ และลำบากในการใช้ชีวิตของผู้ที่เป็นมากอย่างคาดไม่ถึง ดังนั้นการป้องกันตัวเองจากร้อนใน ก็เป็นวิธีที่จะช่วยให้เราดำรงชีวิตได้อย่างมีความสุขได้ง่ายๆ อีกทางหนึ่งค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้