"ตีบ ตัน แตก" อันตรายจากโรคหลอดเลือดสมอง

"ตีบ ตัน แตก" อันตรายจากโรคหลอดเลือดสมอง

"ตีบ ตัน แตก" อันตรายจากโรคหลอดเลือดสมอง
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

รศ.นพ.ยงชัย นิละนนท์
ภาควิชาอายุรศาสตร์
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

 

โรคหลอดเลือดสมอง เป็นปัญหาสำคัญที่สร้างความวิตกกังวลเป็นอย่างมาก เพราะหากเกิดขึ้นและรักษาไม่ทันการณ์ทำให้เป็นอัมพฤกษ์หรืออัมพาต หรืออาจถึงขั้นเสียชีวิตได้      

โรคหลอดเลือดสมองตีบเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง โดยความผิดปกตินั้นมี 2 ชนิด คือ  ชนิดตีบหรืออุดตัน  ชนิดแตก  โดยทั่วไปโรคหลอดเลือดสมองตีบอุดตันพบได้ร้อยละ 80  ในขณะที่ชนิดแตกพบได้ร้อยละ 20  ซึ่งอาการทั้ง 2 ชนิดนี้  คือ อาการเฉียบพลันของทางระบบประสาท เช่น อ่อนแรงครึ่งซีก ชาครึ่งซีก ปากเบี้ยวพูดไม่ได้ กลืนลำบาก ภาพซ้อน เป็นต้น

กลุ่มเสี่ยงที่จะเป็นโรคสมอง ได้แก่ กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง เช่น ความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง การสูบบุหรี่ ภาวะน้ำหนักเกิน รวมทั้งหัวใจเต้นผิดจังหวะ

อาการของโรคหลอดเลือดสมอง เริ่มแรกเป็นอาการผิดปกติทางระบบประสาทที่เกิดเฉียบพลัน เช่น อ่อนแรง ชา โดยจะเป็นครึ่งซีกหรือแม้กระทั่งพูดไม่ได้ มองไม่เห็น รวมทั้งการปวดหัวอย่างรุนแรงเฉียบพลันด้วย

การรักษาประกอบด้วย การให้ยาสลายลิ่มเลือดที่จะให้ทางหลอดเลือดดำ โดยในปัจจุบันสามารถให้ได้ 3-4 ชั่วโมงครึ่ง ขึ้นกับข้อบ่งชี้ของคนไข้ นอกจากนั้นก็จะมีการใช้สายตรวจที่สอดสายเข้าไปแล้วฉุดลากลิ่มเลือดออกมาเพื่อที่จะเปิดหลอดเลือดใหญ่ให้ได้

ส่วนในเรื่องของอาหารก็สำคัญ ที่แนะนำคือ ผักสด เนื้อสัตว์ ไม่กินมัน ไม่กินหนัง หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทุกอย่าง เพื่อรักษาระดับความดัน ไขมัน น้ำตาลและน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ

การรักษาโรคหลอดเลือดสมอง เวลาเป็นปัจจัยสำคัญ ยิ่งรักษาเร็วยิ่งได้ผลดี ที่กล่าวกันว่า มาพบแพทย์ภายใน 3-4 ชั่วโมงครึ่ง แพทย์จะให้ยาสลายลิ่มเลือดแต่ความเป็นจริงแล้ว  ถ้าผู้ป่วยได้รับยาสลายลิ่มเลือดภายในครึ่งชั่วโมงหรือ 1 ชั่วโมง โอกาสหายเป็นปกติมีสูงถึง 3 เท่าของกลุ่มที่ไม่ได้รับยา และโอกาสนั้นลดลงเรื่อย ๆ เมื่อเวลาผ่านไป

สำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น ผู้ที่มีความดันโลหิตสูง บางครั้งจะไม่เกิดอาการ แต่หากท่านตรวจพบแล้วได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นความดันโลหิตสูง ขอให้รับประทานยาและปฏิบัติตัวควบคุมความดันโลหิตให้อยู่ให้เกณฑ์ปกติ  หากไม่แน่ใจให้ปรึกษาแพทย์

สิ่งสำคัญสำหรับโรคนี้ การเฝ้าระวังตนเอง หมั่นสังเกตอาการ ควบคู่ไปกับการพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายและสุขภาพอย่างสม่ำเสมอเป็นอีกทางหนึ่งที่ช่วยให้ห่างไกลจากโรคนี้ได้

 

อ่านบทความเพิ่มเติม >>>>>  SIRIRAJ  E-PUBLIC  LIBRARY
ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook