ธรรมชาติบำบัด กับอาหารตามฤดู
ธรรมชาติได้สร้างสรรค์อาหารสารพัดมาให้เราได้ดื่มกิน อาหารที่เกิดจากธรรมชาติส่วนใหญ่จึงมุ่งเน้นไปที่ความสดใหม่อยู่เสมอ ฉะนั้นหากเรารู้จักเลือกกินแต่ของดี ๆ ก็ย่อมเป็นการเพิ่มพลังให้ชีวิตสดใสและอายุยืนยาว เป็นการดูแลรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตโดยอาศัยกระบวนการตามธรรมชาติให้มีความสมดุลของการพักผ่อน การออกกำลังกายและการกินอาหาร โดยที่ไม่ใช้ยาและสารเคมีในการบำบัดรักษา ซึ่งก็คือการใช้ “ธรรมชาติบำบัด” นั่นเอง
การจะมีสุขภาพกายและใจที่ดีต้องประกอบด้วยการมี สมดุลของการพักผ่อน การออกกำลังกายและการกิน ซึ่ง เป็นการเยียวยารักษาตัวเองอย่างดี นอกจากนั้นแล้วยังต้อง ความควบคุมจิตใจ ไม่ปล่อยมีความวิตกกังวล หรือ ความเครียดมากเกินไป
สิ่งที่เราควรรู้อย่างแรกของ ธรรมชาติบำบัดคือ การพักผ่อนร่างกาย ซึ่งก็คือการ นอนหลับ โดยทั่วไปร่างกายของคนเราต้องการการนอนหลับ พักผ่อนประมาณ 7-9 ชั่วโมง ขณะนอนหลับนั้นร่างกาย และสมองจะมีการซ่อมแซมส่วนต่าง ๆ ที่สึ กหรอ เมื่อตื่ นมา เราจึงรู้สึกสดชื่น มีเรี่ยวแรงกำลังในการดำเนินชีวิตอย่าง เต็มเปี่ยม ดังนั้นคนที่มีปัญหาในการนอนไม่หลับ หรือนอน น้อยจะส่งผลเสียต่อสุขภาพ ทำให้ร่างกายอ่อนเพลีย สมองล้า ไม่ค่อยมีสมาธิ แต่ที่น่ากลัว คือ จะทำให้ภูมิคุ้มกันของ ร่างกายลดต่ำลง ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคภัยต่างๆ ตามมาได้อย่างมากมาย
นอกจากการพักผ่อนร่างกายแล้ว เราควรต้อง พักผ่อนจิตใจ ด้วยเช่นกัน นั่นคือ การทำจิตใจ ให้สงบ ผ่อนคลาย ละความเครียดและความวิตกกังวลต่าง ๆ ลง หรืออาจหากิจกรรมที่ชอบทำ ไม่ว่าจะเป็นการอ่าน หนังสือ ฟังเพลง ดูหนัง จัดสวน เย็บปักถักร้อย หรือทำงาน ศิลปะ
นอกจากนั้นแล้ว การท่องเที่ยว ไปยังสถานที่ต่างๆ ก็นับเป็นธรรมชาติบำบัดอีกอย่างหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็น ทะเล ภูเขา ไร่สวน สวนสาธารณะ เพราะสถานที่เหล่านั้นจะทำให้ จิตใจสบาย ผ่อนคลายความเครียดได้ดี
การออกกำลังกาย ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งเช่นกัน เพราะ นอกจากจะช่วยผ่อนคลายความเครียด ทำให้จิตใจสดชื่น รู้สึกกระปรี้กระเปร่า และทำให้กล้ามเนื้อเข็งแรงแล้ว ยัง ช่วยทำให้ระบบไหลเวียนเลือด หัวใจ ปอดและระบบขับถ่าย ทำงานดีขึ้น โดยเราสามารถทำได้ง่าย ๆ อาทิ เดิน วิ่ง ปั่นจักรยาน ว่ายน้ำ ฯลฯ ซึ่งอาจใช้เวลาครั้งละประมาณ 30-45 นาที สัปดาห์ละ 3-4 ครั้ง และสิ่งที่ขาดไม่ได้นั่นคือ การรับประทานอาหารตามหลักของธรรมชาติบำบัด เน้นการรับประทานพืชผักผลไม้ โดยเลือกรับประทานอย่าง สอดคล้องกับฤดูกาลเพื่อปรับสมดุลในร่างกายให้คงที่ เพราะในร่างกายของคนเรานั้นประกอบด้วย ธาตุ 4 ธาตุ ได้แก่ ธาตุดิน ธาตุลม ธาตุน้ำ และธาตุไฟ ซึ่งธาตุแต่ละ อย่างมีลักษณะและธรรมชาติที่แตกต่างกัน และธาตุทั้ง 4 ยังเป็นแหล่งกำเนิดของโรค โรคจะเกิดกับธาตุใดธาตุหนึ่ง จะต้องมีธรรมชาติภายนอกมากระทบหรือมูลเหตุอื่น ๆ (เช่น อาหาร อิริยาบถ อารมณ์ ฯลฯ) ทำให้เสียสมดุลจึง เกิดโรค ฉะนั้นการเลือกรับประทานอาหารควรให้สอดคล้อง กับทั้ง 3 ฤดูกาล
ฤดูร้อน (กุมภาพันธ์-พฤษภาคม) ด้วยความร้อนที่ อบอ้าวอาจส่งผลให้ร่างกายมีอาการตัวร้อน ปวดศีรษะ วิงเวียน อ่อนเพลีย ปากแห้ง กระหายน้ำ ร้อนใน ท้องผูก ปัสสาวะน้อย หรืออาจเกิดผื่นเป็นเม็ดขึ้นตามร่างกาย อาการดังกล่าว สามารถป้องกันและบรรเทาได้ด้วยอาหารรสขมเย็น รสเปรี้ยว รสจืด อาหารเหล่านี้จะช่วยลดความร้อนได้
ผักพื้นบ้านที่ควรรับประทานใน ฤดูร้อน เช่น มะระขี้นก ฮ้วนหมู ผักเฮือด ส้มป่อย ผักกูด ผักปลัง ตำลึง ชะอม มะขาม ผักหวาน สำหรับเครื่องดื่มที่เหมาะสำหรับ ฤดูร้อน คือ น้ำผลไม้รสเปรี้ยวจะช่วยคลายร้อนได้ เช่น แตงโม ส้ม สับปะรด
ฤดูฝน (มิถุนายน-กันยายน) เมื่อเข้าสู่ฤดูฝนความเย็นจาก ธรรมชาติจะเพิ่มมากขึ้น แต่อาจทำให้ร่างกายมีการเจ็บป่วยได้ง่าย เพราะความเย็นที่มากเกินไป ทำให้ร่างกายมักเกิดอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นไข้หวัด อาการดังกล่าวสามารถป้องกัน ได้โดยอาหารรสขม รสเผ็ดร้อน
ผักพื้นบ้านที่มีรสเผ็ดร้อน คือ ยอดพริก โหระพา ยี่หร่า แมงลัก กะเพรา หูเสือ พลูคาว ขิง ข่า กะทือ กระเจียว ผักแพว เอื้อง เป็นต้น
ฤดูหนาว (ตุลาคม-มกราคม) ความหนาวเย็นของธรรมชาติส่ง ผลกระทบต่อร่างกายโดยตรง หากร่างกายไม่อาจต้านทานได้จะทำให้ เกิดการเจ็บป่วย และจึงทำให้มีอาการผิวแห้ง มึนศีรษะ น้ำมูกไหล ขัดยอก ขยับเขยื้อนร่างกายไม่สะดวก ท้องอืด อาหารที่เหมาะกับ อากาศในฤดูหนาว คือ อาหารรสขมร้อน รสร้อน และรสเปรี้ยว ผักพื้นบ้านที่เหมาะสมกับการรับประทานในหน้าหนาว คล้ายกับ
ผักพื้นบ้านที่รับประทานในหน้าฝน ตัวอย่างเช่น ข่าอ่อน กระชาย พริกไทย ยอดพริก ขมิ้น ผักแพว และผักที่มีรสเผ็ดร้อนทุกชนิด
สำหรับอาหารจากธรรมชาตินั้นมีรสชาติที่ส่งผลโดยตรงกับ ร่างกาย ซึ่งแต่ละรสจะมีสรรพคุณทางยาที่ช่วยปรับสมดุลให้กับ ร่างกายอยู่แล้ว อาทิ
- รสฝาด มีสรรพคุณเป็นยาฝาดสมาน ช่วยรักษา แผล แก้ท้องเสีย แต่ถ้ารับประทานมากจะทำให้ท้องอืดเฟ้อและ ท้องเดิน รสเปรี้ยว ช่วยกัดเสมหะ และกระตุ้นต่อมน้ำลาย ทำให้เจริญอาหาร แต่ถ้ารับประทานมากจะทำให้ท้องอืด ร้อนใน และแผลหายช้า
- รสหวานอ่อน ๆ มีสรรพคุณช่วยให้ชุ่มชื่น บำรุงกำลัง แต่ถ้ารับประทาน มากจะทำให้ลมขึ้น ท้องอืดเฟ้อ และง่วงเหงาหาวนอน
- รสขม สรรพคุณ ช่วยบำรุงร่างกาย ลดไข้ แก้เลือดเป็นพิษ ถอนพิษเบื่อเมา แต่ว่าไม่ควร รับประทานมาก เพราะอาจทำให้ อ่อนเพลียได้ รสเผ็ดร้อน มีสรรพคุณ ช่วยขับลมในกระเพาะอาหาร แก้ปวดท้อง ท้องอืดเฟ้อ ถ้ารับประทาน มากเกินไปจะทำให้อ่อนเพลียได้เช่นกัน
- รสหอมเย็น ช่วยบำรุงหัวใจ แก้ลม หน้ามืด ตาลาย และสุดท้ายคือ รสมัน ใช้แก้อาการเส้นเอ็น พิการ ปวดเสียว เคล็ดขัดยอก อาการกระตุก หากรับประทานมากไป อาจเป็นพิษได้
หลังจากที่ได้รู้จักธรรมชาติบำบัดกันไปแล้ว ลองเลือกวิธีที่เหมาะ กับตัวคุณเอง เพื่อช่วยปรับสมดุลให้กับร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นการ พักผ่อน การออกกำลังกาย การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ซึ่ง เราได้จัดทำเมนูจากธรรมชาติที่ปราศจากเนื้อสัตว์มาให้คุณ ๆ ได้ลอง ทำตามกัน โดยทั้ง 5 เมนูนี้จะแบ่งตามฤดูเพื่อให้เหมาะสมกับการ รับประทานอย่างถูกต้องตามวิถีของ “ธรรมชาติบำบัด”