“มือ เท้า ปาก” ภัยร้ายคุกคามเด็กเล็กช่วงฤดูฝน

“มือ เท้า ปาก” ภัยร้ายคุกคามเด็กเล็กช่วงฤดูฝน

“มือ เท้า ปาก” ภัยร้ายคุกคามเด็กเล็กช่วงฤดูฝน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคมือ เท้า ปาก

ถึงแม้ว่าบางคนจะคิกว่าเรากำลังอยู่ในช่วงปลายฝนต้นหนาวกันแล้ว แต่ก็ยังมีฝนโปรยปรายมาทายทักเราอยู่เรื่อยๆ ไม่ขาดสาย นอกจากฝนจะพาเอาความชื้นชุ่มฉ่ำมาให้เราอย่างต่อเนื่องแล้ว อากาศเดี๋ยวแดดเดี๋ยวน้ำแบบนี้ยังเป็นจังหวะที่เหมาะแก่การแพร้พันธุ์เชื้อไวรัสต่างๆ ได้เป็นอย่างดี หนึงนั้นก็คือโรค “มือ เท้า ปาก” ที่หลายๆ คนคงเคยได้ยินกันมาบ้างแล้วนั่นเอง

โรค มือ เท้า ปาก จะมีอาการอย่างไร เป็นเพราะสาเหตุใด และมีวิธีป้องกันโรคนี้ได้อย่างไร เรามีข้อมูลดีๆ จาก เฟซบุ๊ค หมอแล็บแพนด้า มาฝากกันค่ะ 

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากอะไร?

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่มเอ็นเทอโรไวรัส ซึ่งเป็นไวรัสที่แพร่เชื้อได้ง่ายในเขตร้อน และเขตอบอุ่น 

โรคมือ เท้า ปาก รุนแรงหรือไม่?

ระยะหลังๆมานี้ เริ่มพบโรคมือ เท้า ปาก กับเชื้อที่มีความรุนแรงเพิ่มมากขึ้นที่ชื่อว่า EV71 ทำให้เด็กเล็กสมองอักเสบได้ 

กลุ่มเสี่ยงโรคมือ เท้า ปาก

ส่วนใหญ่เป็นเด็กเล็ก เด็กทารกอายุต่ำกว่า 5 ปี แต่ปัจจุบันพบเด็กที่โตขึ้น และผู้ใหญ่บางคนเช่น พ่อแม่ ที่ดูแลลูกที่ป่วยเป็นโรคมือ เท้า ปาก ก็สามารถเป็นโรคนี้ได้เช่นกัน เนื่องจากเป็นโรคติดต่อจากเชื้อไวรัสนั่นเอง 

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้อย่างไร?

เพียงแค่สัมผัสสารคัดหลั่งจากจมูก น้ำลาย และน้ำจากตุ่มใส รวมถึงอุจจาระของผู้ป่วยที่มีเชื้ออยู่ หรือติดต่อทางอ้อมจากการสัมผัสของเล่น กินอาหารหรือน้ำดื่มก็ติดเชื้อได้แล้ว

อาการของโรคมือ เท้า ปาก

1. อาการคล้ายหวัด มีไข้ อ่อนเพลีย ไม่มีแรง เจ็บคอ ปวดศีรษะ แต่มีเม็ดตุ่มใสๆ ขึ้นตามมือ เท้า ปาก และตุ่มในช่องปาก ทำให้กลืนอาการลำบาก

2. เชื้อไวรัสเอ็นเทอโรไวรัสบางสายพันธุ์ อาจทำลายเนื้อเยื่ออวัยวะต่างๆ ทำให้เซลล์บางส่วน เช่น เซลล์กล้ามเนื้อ เซลล์ประสาม หรือเซลล์สมองทำงานผิดปกติ จนทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง หรือเป็นอัมพาตได้ โดยอาการที่เกิดขึ้นเพิ่มขึ้นมา ขึ้นอยู่กับชนิด และสายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่ได้รับ 

วิธีรักษาโรคมือ เท้า ปาก

ปัจจุบันยังไม่ยารักษาโรคมือ เท้า ปากโดยตรงเหมือนโรคหวัด และยังไม่มีวัคซีนป้องกันอีกด้วย แพทย์ทำได้เพียงวินิจฉัย และรักษาไปตามอาการ 

วิธีป้องกันจากโรคมือ เท้า ปาก และป้องกันการแพร่กระจายเชื้อไวรัสสู่ผู้อื่น

1. ล้างมือบ่อยๆ โดยเฉพาะพี่เลี้ยงเด็กต้องดูแลสุขอนามัย ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งที่สัมผัสผ้าอ้อม ไม่ใช้ช้อนป้อนอาหารเด็กร่วมกัน

2. หมั่นทำความสะอาดเครื่องใช้ของเล่นเด็กด้วยน้ำยาที่สามารถฆ่าเชื้อได้

3. สภาวะแวดล้อมในห้องเด็กควรเป็นห้องโล่ง อากาศถ่ายเทได้ดี

4. หลีกเลี่ยงการพาเด็กไปที่มีคนแออัดในช่วงที่มีการระบาด เช่น สนามเด็กเล่น ห้างสรรพสินค้า

5. เด็กที่ป่วยจะต้องแจ้งทางโรงเรียน และหยุดเรียนจนกว่าแผลจะหาย โดยปกติประมาณ 1 สัปดาห์ 

หากมีอาการดังที่กล่าวไปข้างต้น ควรรีบพบแพทย์ อย่ารักษาเอง เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาที่ถูกต้อง และอยู่ในความดูแลของแพทย์อย่างใกล้ชิด ที่สำคัญที่สุดคือ อย่าแตะโดนตุ่มน้ำใสเด็ดขาด เพราะอาจติดเชื้อได้ค่ะ 

 

 

 

ขอบคุณข้อมูลจาก เฟซบุ๊ค หมอแล็บแพนด้า และ ศูนย์ข้อมูลสุขภาพกรุงเทพ
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook