แพทย์แจง! ไข้เลือดออก วันแรกให้ทานพารา เกลือแร่ ไม่ผิด!

แพทย์แจง! ไข้เลือดออก วันแรกให้ทานพารา เกลือแร่ ไม่ผิด!

แพทย์แจง! ไข้เลือดออก วันแรกให้ทานพารา เกลือแร่ ไม่ผิด!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เฟซบุ๊คเพจ Spartan Doctor กล่าวถึงกรณีผู้ปกครองของผู้ป่วยไข้เลือดออก กล่าวหาแพทย์ว่าวินิจฉัยโรคผิด เมื่อพาผู้ป่วยไปตรวจที่โรงพยาบาลหลังจากผู้ป่วยมีไข้ ปวดเมื่อยตามตัว แล้วแพทย์ให้กลับบ้านพร้อมยาพาราเซตามอล และเกลือแร่ และให้ดูอาการที่บ้านอีก 2 วัน หากอาการยังไม่ดีขึ้นให้มาใหม่ แต่ปรากฏว่าวันรุ่นขึ้นนอกจากอาการของผู้ป่วยไม่ดีขึ้นแล้ว ยังมีเลือดกำเดาไหลอีกด้วย จึงนำผู้ป่วยส่งโรงพยาบาลอีกแห่ง แล้วแพทย์อีกโรงพยาบาลหนึ่งจึงวินิจฉัยว่าเป็นไข้เลือดออก

จากเหตุการณ์ดังกล่าว ทำให้ผู้ปกครองของเด็กที่เป็นผู้ป่วยไม่พอใจ และโพสข้อความลงในโซเชียลมีเดีย ว่ากล่าวถึงความสะเพร่าในการตรวจวินิจฉัยของแพทย์ที่โรงพยาบาลแรก

แต่หมอจากเพจ Spartan Doctor ออกมาอธิบายถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ว่าแพทย์คนแรก “ทำถูกต้องแล้ว” เพราะหากจะวินิจฉัยผู้ป่วยว่าเป็นโรคไข้เลือดออกอย่างแน่นอนนั้น ต้องรอดูวันที่มีไข้วันที่ 3 หรือก่อนช่วงที่ไข้จะลดลง จะเป็นช่วงเกล็ดเลือดต่ำ ซึ่งเป็นอาการที่บ่งบอกถึงโรคไข้เลือดออกได้ชัดเจน และแยกแยกจากไข้หวัดธรรมดาได้อย่างชัดเจนเช่นกัน

รายละเอียดของการวินิจฉัยผู้ป่วยไข้เลือดออก อ่านตามโพสของคุณหมอด้านล่างได้เลยค่ะ

____________________

"#ไข้วันที่สาม - #วันดีเดย์ไข้เลือดออก"

ผมอ่านเรื่องราวที่แชร์กันอยู่นี้แล้วเกิดความสงสารมาก

 

#สงสารคุณหมอที่ทำถูกต้องทุกอย่างตามมาตรฐานวิชาชีพแล้ว แต่โดนด่าในโซเชียลจนไม่เหลือความเป็นคน

 

ในแชร์กำลังรุมด่าหมอกันอย่างรุนแรง ( ผมไม่ค่อยกล้าเปิดอ่าน มันบั่นทอนกำลังใจ )

 

ถามว่าถ้า Spartan Doctor เจอเด็กมาด้วยไข้สูง 1 วัน ปวดตามตัว คลื่นไส้อาเจียน ไม่ไอ ไม่มีน้ำมูก จะคิดถึงโรคอะไร แล้วทำอะไร

- คิดถึงไข้เลือดออกมากที่สุด / ให้ยาลดไข้ แนะนำเช็ดตัว ให้น้ำเกลือกินเวลาอาเจียน แนะนำอาการไม่ดีขึ้นในสองวันให้กลับมาใหม่

 

แล้วถ้าเด็กเป็นมา สองวันแล้ว ?

- คิดถึงไข้เลือดออกมากที่สุด / ให้ยาลดไข้ แนะนำเช็ดตัว ให้น้ำเกลือกินเวลาอาเจียน แนะนำอาการไม่ดีขึ้นในพรุ่งนี้ ให้กลับมาใหม่

 

อ้าว! มันก็เหมือนที่หมอคนนี้ทำเลยนี่ !?

ครับ เพราะเราก็เรียนกันมาอย่างนั้น

 

"ไข้เลือดออกตรวจวินิจฉัยได้ชัดเจนสุดที่ไข้วันที่ 3" -- สองวันแรก อาการผู้ป่วยจะแยกยากจากไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ รวมทั้งการเจาะเลือดจะยังไม่สามารถแยกได้ชัดว่าเป็นไข้เลือดออกหรือไม่ เพราะเม็ดเลือดขาวต่ำและเกล็ดเลือดต่ำที่เป็นสัญญาณของไข้เลือดออกจะเริ่มเห็นชัดในวันที่สามของการมีไข้ และนำมาวินิจฉัยโรคได้ การเจาะเลือดที่ไข้สองวันแรกอาจจะเจ็บตัวเปล่า

 

งั้นหมอทำอะไรให้ได้บ้าง ?

ครับ ถ้าไม่พบว่ามีลักษณะการติดเชื้อแบคทีเรีย ( เช่นคอทอนซิลเป็นหนองอักเสบ หรืงพบติดเชื้อแบคทีเรียในปัสสาวะ ) แต่ลักษณะเข้าได้กับไวรัส เราก็แนะนำว่าสองวันแรก เช็ดตัวลดไข้ กินน้ำเกลือถ้าอ่อนเพลีย กินยาแก้อาเจียน ยาฆ่าเชื้อไม่มีประโยชน์อะไรที่จะให้

แล้วแนะนำหนักๆว่าถ้าผ่านไปวันที่สามไข้ลงดี อาการดีน่าจะเป็นหวัดธรรมดาแต่ถ้าวันที่สามยังมีไข้ หรืออาการแย่ลงให้มาใหม่ ถ้ามาเราจะเจาะเลือดประเมินให้แล้วจะได้รู้พร้อมกันว่าเป็นไข้เลือดออกรึเปล่าแล้วจะได้ดำเนินการต่อไปว่าต้องนอนโรงพยาบาลหรือไม่

แล้วเด็กไม่แย่แล้วตายไปตั้งแต่วันแรกๆเหรอ? ทำไมไม่ให้นอนตั้งแต่วันแรกเลย?

ไข้เลือดออกที่จะเริ่มมีเกล็ดเลือดต่ำ มีภาวะเลือดออก มีภาวะเลือดข้นจากน้ำพลาสมาซึมออกมานอกเส้นเลือด ก็มักจะเริ่มเร็วสุดที่ไข้วันที่ 3 เป็นต้นไปเช่นกัน ( บางคนเป็นตอนไข้วันที่ 4 , 5 , 6 ) และจะเกิดขึ้น "เมื่อไข้ลงแล้ว" จึงเป็นที่ปฏิบัติกันคือ ถ้าคนไข้ยังมีไข้อยู่ และยังเป็นวันที่ 1 และ 2 จึงค่อนข้างเป็น Safe Zone ที่เราพอจะให้สังเกตดูอาการที่บ้านก่อนได้ แม้จะไข้สูงดูน่ากลัว นั่นคือยังปลอดภัย -- แต่ไข้ลงเมื่อไหร่ / เกล็ดเลือดต่ำลง / เลือดข้นขึ้น เมื่อนั้นหมออาจจะพิจารณาให้นอนโรงพยาบาล

หมายเหตุ : โรงพยาบาลบางแห่งอาจมีการตรวจเลือดพิเศษราคาสูงที่บอกไข้เลือดออกได้ตั้งแต่วันแรกๆ แต่ไม่ได้มีทุกโรงพยาบาล แต่อย่างที่บอกว่าอาการมักเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ชัดในวันที่ 3 แม้เจาะเจอวันแรกๆก็แค่รู้เร็วแต่ต้องรอมาตัดสินที่วันที่ 3 อยู่ดีว่าโรครุนแรงหรือไม่รุนแรง

จึงมาช่วยเป็นกระบอกเสียงชี้แจงวิธีการทำงานและวิธีคิดของแพทย์ให้ทราบ แม้จะรู้ดีว่าไม่อาจหยุดกระแสการด่าว่าของสังคมในได้เพราะความไม่รู้ และอาจโดนมองว่าหมอก็เอาแต่แก้ต่างให้กันเอง แต่เผื่อคนที่ได้มาอ่านจะเริ่มเข้าใจข้อมูลความจริงและเหตุผลที่อยู่เหนืออารมณ์ขึ้นมาและเอามาใช้เกิดประโยชน์ได้หากวันนึงเกิดเหตุการณ์กับตัวเองหรือญาติพี่น้อง จะได้เข้าใจหมอและวางตัวได้ถูกครับ

 




____________________

 

ขอบคุณเนื้อหาจากเฟซบุ๊คเพจ Spartan Doctor
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook