แค่เป็นคนขี้เซาหรือโรคง่วงนอนผิดปกติกันแน่?

แค่เป็นคนขี้เซาหรือโรคง่วงนอนผิดปกติกันแน่?

แค่เป็นคนขี้เซาหรือโรคง่วงนอนผิดปกติกันแน่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

      เคยสงสัยตัวเองกันบ้างไหมว่าบางครั้งนอนไปตั้งเยอะเมื่อคืนนี้ทำไมนั่งๆ ทำงานอยู่แล้วยังง่วงตลอดเวลาอยู่ได้ ไม่ใช่ง่วงแบบหลังทานข้าวหรือแค่ง่วงตอนช่วงบ่ายๆ ที่กำลังเบื่อๆ นะ แต่เป็นง่วงตลอดเวลาเลยน่ะ

     แต่ก่อนนี้ก็คิดว่าตัวเองเป็นคนขี้เซาเฉยๆ หรือว่าเกิดจากความขี้เกียจของตัวเอง แต่พอเริ่มกูเกิ้ลเท่านั้นล่ะ พี่เอ๊ย! เรื่องง่วงนอนผิดปกติมันไม่ใช่เรื่องธรรมดาเสียแล้ว แต่เป็นโรคที่เกิดจากความผิดปกติทางใจหรือกาย ซึ่งสามารถส่งผลให้คนที่เป็นนั้นสามารถถึงชีวิตกันได้เลยทีเดียว และต้องได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง

     สำหรับสาเหตุของโรคง่วงนอนผิดปกตินั้นมีได้หลายประการอย่าง

     สาเหตุแรก พบมากในคนที่รู้สึกง่วงนอนมาก ตื่นมาไม่สดชื่น ง่วงนอนตลอดเวลา ทั้งๆ ที่กลางคืนนอนมาเต็มอิ่ม มีอาการหงุดหงิด หรือบางคนเพิ่งดูหนังผีมาเลยคิดว่าตัวเองโดนผีอำ แต่นั่นถือเป็นอาการอย่างหนึ่ง อาจรู้สึกเหมือนมีอะไรมาไต่ตามตัวระหว่างคืน หูแว่ว ยืนละเมอก็เป็นได้

ภาพประกอบจาก bangkokhospital.com

     ส่วนคนที่ชอบนอนไม่เป็นเวลา อดนอน หรือนอนดึกเป็นประจำ ก็เข้าข่ายของโรคนี้ได้เช่นกัน หรือเกิดจากการที่คนคนนั้นเป็นโรคลมหลับ ทำให้สารสื่อสารในสมองขาดหายไป มีอาการหลับแทรกตื่น ตื่นแทรกหลับ พบมากในคนที่ง่วงนอนมาก ถึงขั้นว่ากินข้าวอยู่บนโต๊ะอาหารและฟุบไปเลยก็ว่าได้



ภาพประกอบจาก news.com.au


     สาเหตุต่อไปคือการหยุดหายใจขณะหลับโดยที่เราไม่รู้ตัว และคนที่ชอบนอนกรนหรือคนที่บ้านใครนอนกรนบ่อยๆ แถมมีอาการปวดหัวตอนเช้า ควรรีบพาไปปรึกษาแพทย์โดยด่วน เพราะอาจจะมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับแทรกอยู่ด้วย ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อโรคความดันสูง เส้นเลือดตีบ ตามมาได้เลยนะ

ภาพประกอบจาก bangkokhospital.com

     ส่วนวิธีการรักษานั้นเป็นการรักษาแบบใหม่ครบวงจรที่ศูนย์ Sleep & Epilepsy Center โรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งห้อง Sleep Test ที่มีเตียงนุ่มๆ และห้องกว้างขวางให้บรรยากาศเหมือนนอนอยู่ในห้องนอนที่บ้านมากกว่านอนโรงพยาบาล



ภาพประกอบจาก bangkokhospital.com


     การรักษาที่ถูกต้องจะต้องมีการทำ Sleep Test เพื่อดูพฤติกรรมการนอนของผู้ป่วย โดยทำการเทสต์ทั้งในช่วงกลางวันและกลางคืน เพื่อทำการวินิจฉัยสาเหตุอย่างถี่ถ้วนจากแพทย์เฉพาะด้านระบบประสาท โรคลมชักและการนอนหลับผิดปกติ นพ. จักริน ลบล้ำเลิศ โดยหลังที่พบแพทย์แล้ว จะมีการนัดที่ Sleep Lab เพื่อทำการหาสาเหตุโดยต้องเข้าพักที่โรงพยาบาลเป็นเวลา 1 คืน โดยมีรายละเอียดในการตรวจดังนี้

- Sleep Test ใช้การตรวจในช่วงกลางคืน ติดอุปกรณ์เพื่อวัดลมหายใจ ความดัน ทรวงอก ตำแหน่งการนอน ขากระตุกช่องท้อง เสียงกรน เพื่อดูว่ามีการหยุดหายใจแบบไม่ชัดหรือไม่ โดยใช้เวลานอน 7 – 8 ชั่วโมงขึ้นไป และเทสต์ตอนกลางวัน เพื่อตรวจอาการง่วงนอนกลางวันเพื่อดูช่วงงีบ ว่าใช้เวลาหลับสั้นแค่ไหน หลับเร็วกี่นาที ฝันกี่นาที โดยให้ผู้ป่วยเข้าไปอยู่ในห้องมืด ปิดไฟให้พยายามหลับแล้วดูว่าใช้เวลากี่นาทีถึงจะหลับ โดยจะให้งีบทั้งหมด 4 - 5 งีบ (ช่วงเวลาเริ่มต้นของแต่ละงีบห่างกัน 2 ชั่วโมง) ถ้าใช้เวลาน้อยกว่า 8 - 10 นาทีถือว่าผิดปกติ ตั้งแต่เริ่มปิดไฟจนเริ่มนอนหลับ ถือว่าง่วงมากผิดปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้ามีฝันร่วมด้วยในขณะงีบ

ภาพประกอบจาก excellentpatientcare.com ภาพประกอบจาก cncnnation.en.made-in-china.com


- การรักษาด้วยการใส่เครื่อง CPAP ก็เป็นอีกวิธีที่ได้ผลดีโดยไม่ต้องผ่าตัด เครื่องนี้ช่วยทำให้หลับสบาย หายใจคล่อง ลดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ทำให้ตื่นมาแล้วรู้สึกสดชื่น



ภาพประกอบจาก firsthealthofyuma.com ภาพประกอบจาก topsnoringmouthpieces.com

     ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดนี้จะมีเจ้าหน้าที่คอยควบคุมดูแลตลอด 24 ชม. โดยมีจอ CCTV และมีการจดวิเคราะห์ข้อมูลของคนไข้อย่างใกล้ชิด หลังจากนั้นจึงมาติดตามผลการวินิจฉัย เพื่อหาแนวทางของการรักษาต่อไป

     เพราะเรื่องของการนอนเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับร่างกายของเรา หากเกิดความผิดปกติแล้วไม่ควรนิ่งดูดายหรือละเลยปล่อยทิ้งไว้ เนื่องจากสามารถที่จะกระทบต่อปัญหาสุขภาพอื่นๆ ต่อไปได้ ดังนั้น ใครที่รู้สึกถึงความผิดปกติ ควรรีบทำพบแพทย์ หรือสามารถที่จะเข้าไปที่ Sleep & Epilepsy Center ของโรงพยาบาลกรุงเทพ เพื่อทำการวิเคราะห์และรักษา เพราะการพักผ่อนที่ดีเป็นจุดเริ่มต้นของสุขภาพที่ดีของเรานะ

    นอกจากนี้ ยังสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร.1719 หรือ 0-2310-3011หรือ www.bangkokhospital.com



[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook