“ลมชัก” โรคใกล้ตัวที่ไม่ควรละเลย
รู้หรือไม่ว่า จากสถิติขององค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่า ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ มีผู้ป่วยโรคลมชักอยู่ประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ของจำนวนประชากร และพบได้ในคนทุกเพศทุกวัย
สาเหตุของโรคลมชักนั้นไม่ไกลจากตัวเราเลย เพราะเวลาที่ร่างกายของเราอยู่ในภาวะที่อ่อนล้า อดนอน อดอาหาร เกิดภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเกิดการกระตุ้นจากเครื่องดื่มอย่างแอลกอฮอล์หรือสารเสพติดที่มีฤทธิ์กระตุ้นระบบประสาท ก็อาจมีผลทำให้เกิดความเสี่ยงในการเป็นโรคลมชักได้แล้ว
ที่เป็นแบบนี้ก็เพราะการทำงานของสมองเรานั้นถ้าเปรียบไปแล้วก็เหมือนกับแผงวงจรไฟฟ้า ถ้าเกิดความผิดปกติของกระแสวงจรในสมองทำให้กระแสไฟฟ้าลัดวงจรหรือกระแสไฟฟ้าช็อต ก็จะทำให้เกิดอาการชักได้ นอกจากนี้โรคลมชักยังมีอาการที่หลายแบบ ซึ่งทำให้บางคนไม่รู้ว่าตัวเองกำลังเป็นโรคนี้อยู่
ยกตัวอย่างเช่นบางรายอาจมีอาการเหม่อลอย เบลอ จำอะไรไม่ได้ไปชั่วขณะ ถ้ามีอาการเหล่านี้ซ้ำๆ อาจจะมีอาการวูบตามมา บางคนวูบแบบจำเหตุการณ์ได้ แต่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ บางคนรู้สึกเหมือนสมองสั่งงานไม่เต็ม 100 เปอร์เซ็นต์หรือการสั่งงานของตัวเองช้าลง
นอกจากนี้ยังอาจมีอาการแปลกๆ อย่างเห็นภาพหมุน เห็นแสงจ้าสีสันหลากหลาย ตรงจุดนี้จะต่างจากผู้ป่วยโรคไมเกรนซึ่งจะเห็นแสงจ้าขาวดำ บางคนเห็นภาพหลอน หูแว่ว กลัว และหลายคนมีอาการทางจิตประสาทร่วมด้วย เพราะถ้าคลื่นไฟฟ้าที่สมองส่วนที่ควบคุมจิตใจผิดปกติ ก็อาจจะมีอาการเดจาวู (Deja Vu) เกิดความรู้สึกคุ้นเคยทั้งที่ไม่เคยรู้จักหรือเข้าไปที่ไหนก็รู้สึกเหมือนเคยเจอใครที่นั่นมาก่อน หรือในทางตรงกันข้ามสิ่งที่คุ้นเคยก็อาจจะรู้สึกแปลกไป เมื่อพบแพทย์หรือทำการตรวจคลื่นไฟฟ้าในสมอง ถึงจะบอกได้ว่ามีภาวะของโรคลมชัก
ใครที่เกิดอาการแบบนี้ไม่ต้องกังวล แต่สิ่งที่ต้องทำก็คือรีบหาสาเหตุให้เร็วที่สุด อย่างเช่นการตรวจวินิจฉัยหาตำแหน่งการเกิดลมชักจากสมอง โดยใช้วิธีการตรวจที่เหมาะสมที่ศูนย์ตรวจการนอนหลับและศูนย์ลมชักกรุงเทพ (Bangkok Sleep & Epilepsy Center) โรงพยาบาลกรุงเทพ
ที่โรงพยาบาลกรุงเทพใช้การตรวจคลื่นไฟฟ้าสมอง (EEG) หรือการตรวจเครื่องไฟฟ้าสมองพร้อมการตรวจการทำงานของสมอง ผ่านเครื่อง EEG – fMRI Brain เครื่องนี้ช่วยเช็คคลื่นไฟฟ้าสมองที่ผิดปกติในผู้ป่วยโรคลมชัก โดยคนไข้เข้าไปอยู่ในเครื่องสแกน แล้วติดอุปกรณ์วัดคลื่นไฟฟ้าสมองพิเศษที่สามารถต้านทานคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าได้ เครื่องนี้สามารถบันทึกข้อมูลและมองเห็นว่าสมองของเราทำงานยังไง ทำให้ช่วยหาตำแหน่งของโรคได้เพื่อใช้ในการรักษาขึ้นต่อไป
ภาพแสดงการตรวจ EEG-fMRI
อีกหนึ่งวิธีตรวจที่น่าสนใจก็คือ การตรวจด้วยเครื่อง PET Scan วิธีนี้ถือเป็นการตรวจเซลล์สมองที่มีความผิดปกติ สามารถตรวจหาโรคเฉพาะจากภาพ ทางแพทย์จะสามารถวินิจฉัยตรวจหาตำแหน่งที่ก่อให้เกิดอาการชักได้ นอกจากนี้ยังมีการตรวจทางกัมมันตรังสี (Ictal SPECT) โดยทีมแพทย์ของโรงพยาบาลกรุงเทพจะฉีดสารเข้าไปขณะที่ผู้ป่วยมีอาการชัก เพื่อตรวจดูตำแหน่งสมองบริเวณที่มีคลื่นไฟฟ้าผิดปกติ
ภาพเครื่อง PET Scan
ด้วยการวินิจฉัยและเครื่องมือที่ได้มาตรฐานทำให้ใช้เวลาพักฟื้น 1-2 สัปดาห์ ซึ่งทั้งหมดนี้อยู่ในความดูแลของทีมแพทย์ผู้มีประสบการณ์ ประจำศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ
อ่านมาถึงตรงนี้เริ่มรู้สึกกันแล้วใช่ไหมล่ะว่าสาเหตุของโรคลมชักนั้นไม่ไกลตัวเราเลยสักนิด และเรื่องของอาการนั้นก็ดูเหมือนจะต้องใช้ความใส่ใจในการสังเกตเป็นอย่างมาก เพราะฉะนั้นคนที่เป็นโรคนี้จึงควรได้รับการดูแลจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอย่างแท้จริง โชคดีที่สมัยนี้เรามีการรักษาที่ทันสมัยที่ช่วยให้เราสามารถกลับมาดำเนินชีวิตประจำวันอย่างปกติได้
เอาล่ะ! คราวนี้อย่าลืมหันมาใส่ใจคนรอบข้างและดูแลกันให้ดี เพื่อสุขภาพของร่างกายและสมองที่ยืนยาว
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการรักษาโรคลมชักได้ที่ ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลกรุงเทพ โทร 1719 หรือ 0-2310-3011
หรือ www.bangkokhospital.com/index.php/th/center-of-excellence/brain
[Advertorial]