กรมสุขภาพจิตแนะหลัก 3L ดูแลสุขภาพจิต กรณีสวรรคตพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

กรมสุขภาพจิตแนะหลัก 3L ดูแลสุขภาพจิต กรณีสวรรคตพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

กรมสุขภาพจิตแนะหลัก 3L ดูแลสุขภาพจิต กรณีสวรรคตพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมสุขภาพจิตแนะหลัก 3L (LOOK, LISTEN, LINK) ดูแลสุขภาพจิตคนใกล้ชิดที่มีความรู้สึกสูญเสียอย่างรุนแรง กรณีสวรรคตของพระเจ้าอยู่หัวในพระบรมโกศ

การสูญเสียนำมาซึ่งความทุกข์ใจของประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในยุคที่การรับรู้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปอย่างกว้างขวางรวมทั้งการรับรู้ผ่านสื่อออนไลน์ทั้งหลาย แต่ก็เป็นโอกาสในการที่จะสร้างความเชื่อมโยงของคนทั้งสังคมที่จะร่วมกันเป็นหนึ่งในการไว้อาลัย ร่วมสืบทอดปณิธานของพระองค์ท่านเพื่อให้สังคมไทยได้ก้าวต่อไป

บทเรียนจากนานาชาติ :  สิ่งที่พึงทำ

1.  ช่วยให้ประชาชนได้โอกาสได้แสดงออกให้มากที่สุดผ่านพิธีกรรมทั้งของรัฐ ทุกศาสนาและชุมชนท้องถิ่น เช่น กิจกรรมไว้อาลัย สวดมนต์และพิธีกรรมของแต่ละศาสนา

2.  ส่งเสริมให้บุคคลแสดงความรู้สึกส่วนตัว ที่มีต่อพระประมุขได้ เช่น การเขียนความรู้สึก การเล่าเรื่องความประทับใจที่มีต่อพระราชกรณียกิจของในหลวง

3.  มีส่วนร่วมในการทำสิ่งที่ดีงามให้กับพระองค์เช่น การบริจาค กิจกรรมจิตอาสา

4.  ช่วยกันดูแล คนใกล้ชิดที่อาจจะได้รับผลกระทบทางจิตใจสูง

-  ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง

-  ผู้ที่มีความรู้สึกผูกพันต่อในหลวง

-  กลุ่มเด็กที่อาจจะรู้สึกสับสนถึงปฏิกิริยาของผู้ใหญ่

-  กลุ่มที่มีความเครียดจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ

5.  ร่วมกันสืบทอดปณิธานของในหลวง เช่น แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การบริหารจัดการน้ำ โครงการในพระราชดำริต่าง ๆ

บทเรียนจากนานาชาติ :  สิ่งที่พึงระวัง

1. ไม่ปิดกั้นการแสดงออกความรู้สึกแต่อย่าให้ความรู้สึกสิ้นหวัง ท่วมท้นจนมองไม่เห็นทางออกของสังคม

2. การแสดงออกที่พอดีโดยไม่ไปกระตุ้นความขัดแย้งและความเห็นต่างในสังคม

3. ไม่หาแพะรับบาป (scapegoat)

การดูแลประชาชนที่มีความรู้สึกสูญเสียอย่างรุนแรง

กลุ่มที่พึงระวัง

-  ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้ป่วยเรื้อรัง

-  ผู้ที่มีความรู้สึกผูกพันต่อในหลวง

-  กลุ่มเด็กที่อาจจะรู้สึกสับสนถึงปฏิกิริยาของผู้ใหญ่

-  กลุ่มที่มีความเครียดจากปัญหาต่างๆ เช่น ปัญหาครอบครัว ปัญหาเศรษฐกิจ

อาการที่แสดงออก

1. ปฏิกิริยาความโศกเศร้ารุนแรงที่แสดงออกในฝูงชน เช่น เป็นลม, หายใจเร็ว, ร้องไห้คร่ำครวญตีอกชกหัว, ชัก

2. ความโศกเศร้าของบุคคลที่รุนแรงและยาวนาน



การช่วยเหลือจากผู้ใกล้ชิด : 3L (LOOK, LISTEN, LINK )

LOOK : มองหา มองเห็น

1. สำรวจค้นหาคนที่ต้องการความช่วยเหลือเร่งด่วน เช่น แสดงอาการเศร้าโศกเสียใจรุนแรง กินไม่ได้ นอนไม่หลับ

2. สำรวจกลุ่มเสี่ยง เช่น กลุ่มเด็ก ผู้สูงอายุ ผู้พิการ ผู้เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่แสดงอารมณ์ความรู้สึกสูญเสีย

LISTEN : รับฟัง  

มีสติรับฟังอย่างตั้งใจ ใช้ภาษากาย เช่น สบตา จับมือ โอบกอด เพื่อช่วยให้ผู้สูญเสียบอกเล่าอารมณ์ความรู้สึก คลายความทุกข์ในใจและจัดการอารมณ์ให้สงบ

LINK : ช่วยเหลือ/ส่งต่อ

1. ให้การช่วยเหลือตามความจำเป็นพื้นฐาน

2. ในกรณีที่ช่วยเหลือเบื้องต้นแล้วไม่ดีขึ้น เช่น ควบคุมอารมณ์ตัวเองไม่ได้   โศกเศร้ารุนแรง มีความคิดฆ่าตัวตาย ให้ส่งต่อตามความเหมาะสม

 3. การช่วยเหลือควรพยายามติดต่อเชื่อมโยงกับครอบครัวหรือชุมชน

ถึงแม้การสูญเสียพระองค์ท่านเป็นความเศร้าโศกอันใหญ่หลวงของมหาชน แต่ก็เป็นโอกาสในการสร้างความเป็นหนึ่งอันเดียวกัน ที่จะได้แสดงความรู้สึกร่วมกัน และสืบทอดปณิธานของพระองค์ท่าน เพื่อให้สังคมไทยได้ก้าวต่อไป

ขอบคุณข้อมูลและภาพจาก กรมสุขภาพจิต

ภาพบางส่วนจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook