6 ความเสี่ยงควรรู้ก่อนทำ “บอลลูนหัวใจ” รักษาหลอดเลือด-ลิ้นหัวใจตีบ

6 ความเสี่ยงควรรู้ก่อนทำ “บอลลูนหัวใจ” รักษาหลอดเลือด-ลิ้นหัวใจตีบ

6 ความเสี่ยงควรรู้ก่อนทำ “บอลลูนหัวใจ” รักษาหลอดเลือด-ลิ้นหัวใจตีบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคหลอดเลือดหัวใจตีบ มาจากหลายสาเหตุ ทั้งจากอาหารการกินที่มีไขมัน แป้ง น้ำตาล มากเกินไป จนมีไขมันไปเกาะตามผนังเซลล์หลอดเลือดหัวใจ จนทำให้หลอดเลือดหัวใจตีบ หรือตันได้  หรืออาจมาจากรรมพันธุ์ได้เช่นกัน

เช่นเดียวกับโรคลิ้นหัวใจตีบ ที่นอกจากมีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์แล้ว ยังมีสาเหตุจากการติดเชื้อแบคทีเรีย การได้รับหินปูนมากเกินไป ทำให้หินปูนบางส่วนไปเกาะตามลิ้นหัวใจ หรืออาจเกิดจากการเสื่อมสภาพของลิ้นหัวใจในผู้สูงอายุ ทำให้ลิ้นหัวใจบวมโตจนปิดรูลิ้นหัวใจ จนทำให้ไม่สามารถทำหน้าที่ปิด-เปิดห้องหัวใจได้ตามปกติ เลือดไม่ไหลเวียนผ่านเข้าไปในหัวใจ หัวใจก็สูบฉีดเลือดไปหล่อเลี้ยงตามร่างกายได้ไม่เต็มที่เช่นเดียวกัน

ดังนั้นจะเห็นว่า ทั้ง 2 โรคนี้ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจเกิดอันตรายต่อร่างกายได้อย่างฉับพลันเลยทีเดียว

 

รักษาหลอดเลือดหัวใจ-ลิ้นหัวใจตีบ ด้วย “บอลลูนหัวใจ”

บอลลูนหัวใจ คืออะไร?

การทำบอลลูนหัวใจ คือการนำอุปกรณ์ที่คล้ายบอลลูน หรือลูกโป่ง เข้าไปในหลอดเลือด หรือบริเวณลิ้นหัวใจ เพื่อขยายหลอดเลือด ดันไขมันในหลอดเลือดไปติดผนังเซลล์หลอดเลือด เพื่อขยายรูในหลอดเลือดให้ใหญ่ขึ้น เลือดไหลเวียนได้สะดวกมากยิ่งขึ้น

หรือในกรณีของการผ่าตัดบอลลูนหัวใจเพื่อรกษาลิ้นหัวใจตีบ อาจเป็นการใส่ลิ้นหัวใจเทียมผ่านบอลลูนเข้าไปแทนที่ลิ้นหัวใจเดิมได้

ซึ่งการผ่าตัดทำบอลลูนหัวใจ ใช้เวลาไม่นาน และแผลเล็ก หายเร็ว เป็นนวัตกรรมในการรักษาที่ได้ผลเป็นที่พึงพอใจ และปลอดภัยต่อร่างกายของผู้ป่วย

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าจะเป็นวิธีการผ่าตัดที่เห็นผลดี และปลอดภัย แต่ก็ยังคงมีผลข้างเคียงที่ผู้ป่วยควรระมัดระวัง และควรทราบก่อนเข้ารับการผ่าตัดบอลลูนหัวใจ

 

6 ความเสี่ยงควรรู้ก่อนทำ “บอลลูนหัวใจ”

1. เนื่องจากเป็นการผ่าตัดที่ต้องใส่สายสวนเข้าไปในร่างกาย อาจจะเป็นบริเวณขาหนีบ หรือชายโครง ในคนไข้บางรายจึงอาจมีอาการปวด มีเลือดออก หรือติดเชื้อบริเวณที่ใส่สายสวนได้

2. การทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน อาจทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือเส้นเลือดในสมองตีบได้

3. หลอดเลือดอาจได้รับความเสียหายได้

4. หัวใจอาจมีการทำงานที่ผิดปกติ คือ หัวใจอาจเต้นผิดจังหวะ

5. ไตอาจมีปัญหาในการขับสารทึบรังสีออกจากร่างกาย หลังทำการผ่าตัด

6. ผู้ป่วยอาจแพ้สารทึบรังสี ที่ใช้ระหว่างกระบวนการผ่าตัด

 

 

อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับการผ่าตัดเปิดหน้าอก ที่เสี่ยงภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ ใช้เวลาในการผ่าตัดนานกว่า และผู้ป่วยต้องพักฟื้นนานกว่าแล้ว วิธีการทำบอลลูนหัวใจก็ยังเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ป่วยหลอดเลือดหัวใจ และลิ้นหัวใจตีบอยู่ดีค่ะ แต่อย่างไรสุดท้ายแล้ว ต้องให้แพทย์เป็นผู้วินิจฉัยวิธีรักษาที่เหมาะสมกับคนไข้ที่สุดจะดีกว่านะคะ

 

 

ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก รพ. บำรุงราษฎร์, รพ. ศิริราช
ภาพประกอบจาก istockphoto

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook