8 สาเหตุควรรู้! ต้าน "โรคกระดูกพรุน" ก่อนจะสายเกินแก้

8 สาเหตุควรรู้! ต้าน "โรคกระดูกพรุน" ก่อนจะสายเกินแก้

8 สาเหตุควรรู้! ต้าน "โรคกระดูกพรุน" ก่อนจะสายเกินแก้
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การขาดแคลเซียมเป็นสาเหตุหลักของ "โรคกระดูกพรุน" แต่ทราบหรือไม่ว่า นอกจากการดื่มนมไม่เพียงพอแล้วนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ทำให้เกิดภาวะขาดแคลเซียม

 

1. การสูบบุหรี่ : แคลเซียมรักษาความเป็นกรด – ด่าง ของเลือด แต่การสูบบุหรี่จะทำให้ร่างกายมีภาวะเป็นกรดสูงทำให้แคลเซียมละลายออกจากกระดูก

2. แอลกอฮอล์ : ลดประสิทธิภาพการกระตุ้นวิตามินดีไปดูดแคลเซียมจากตับ

3. กาเฟอีน : เครื่องดื่มที่มีกาเฟอีน เช่น ชา ช็อกโกแลต กาแฟ ทำให้ร่างกายขับแคลเซียมมากเกินจำเป็น

4. น้ำอัดลม : กรดฟอสฟอริกที่ทำให้เกิดฟองฟู่ชวนดื่ม ทำให้ร่างกายต้องสลายแคลเซียมจากคลังกระดูก เพื่อรักษาระดับฟอสฟอรัสในเลือดไม่ให้สูงเกินไปจนเป็นอันตราย

5. เกลือ : เมื่อเข้าสู่ร่างกายมากไปจะทำให้แคลเซียมสลายตัว

6. ยาเคลือบกระเพาะ : มักมีส่วนประกอบของอะลูมิเนียมที่ทำให้ร่างกายขับแคลเซียม ก่อนรับประทานควรปรึกษาแพทย์

7. ไม่ออกกำลังกาย : มีรายงานว่า การออกกำลังกายที่เกี่ยวข้องกับแรงโน้มถ่วงของโลก เช่น การวิ่ง จะช่วยเพิ่มมวลกระดูกส่วนการว่ายน้ำและฝึกโยคะจะช่วยรักษาปริมาณมวลกระดูก

8. ขาดวิตามินดีจากแสงอาทิตย์ : วิตามินดีจากแดดตอนเช้าจะช่วยดูดซึมแคลเซียมจากทางเดินอาหาร ลดความเสี่ยงโรคกระดูกพรุนก่อนวัยอันควรได้

 

ลองปรับการดำเนินชีวิตโดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงทั้ง 8 ข้อ นี้ เพื่อความแข็งแรงของกระดูกและทำให้เราไม่เป็น โรคกระดูกพรุน อีกด้วย

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook