มะเร็งเต้านม แอลกอฮอล์ก็มีส่วนจริงหรือไม่

จริงหรือไม่? แอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม”

จริงหรือไม่? แอลกอฮอล์ เพิ่มความเสี่ยงเป็น “มะเร็งเต้านม”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานว่า มีรายงานพบว่า แอลกอฮอล์ มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างมากกับการเกิดมะเร็งเต้านม พบการเกิดโรงมะเร็งในคนจำนวนมากกว่า 1 ใน 4 ที่ดื่มแอลกอฮอล์

ในรายงานจาก World Cancer Congress ในกรุงปารีส เมื่อวันพุธที่ 2 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา ระบุว่า ผู้ดื่มแอลกอฮอล์ จำนวนมากกว่า 700,000 ราย ป่วยเป็นโรคมะเร็ง และมีผู้ป่วยประมาณ 366,000 ราย เสียชีวิตในปี 2012 ซึ่งส่วนใหญ่เป็นผู้อยู่อาศัยในประเทศที่พัฒนาแล้ว

หากเปรียบเทียบข้อมูล ระหว่างผู้ที่ดื่ม และไม่ดื่มแอลกอฮอล์ พบว่า การดื่มแอลกอฮอล์ มีส่วนเกี่ยวข้องกับมะเร็งประมาณ 5% และ มีอัตราการเสียชิวิตถึง 4.5%

นอกจากนี้ แอลกอฮอล์ ยังเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งเต้านม และมะเร็งลำไส้ใหญ่อีกด้วย

สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านม

การดื่มแอลกอฮอล์นั้นก็เป็นแค่ปัจจัยหนึ่งที่อาจทำให้เกิดมะเร็งเต้านมได้ทั้งในเพศชายและเพศหญิง แต่ยังมีอีกหลายปัจจัยเช่นกันที่ก็อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็งเต้านมได้โดยไม่รู้ตัว ซึ่งในปัจจุบันถึงแม้จะยังไม่ทราบแน่ชัดว่ามะเร็งเต้านมนั้นเกิดขึ้นได้อย่างไร โดยเฉพาะการเกิดมะเร็งเต้านมในเพศชาย แต่ก็มีการวิจัยออกมาพบว่าร้อยละ 5 - 10 เกิดจากความผิดปกติทางพันธุกรรม ส่วนปัจจัยที่เสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้เพศหญิงก็มีอยู่หลายข้อ ได้แก่

  1. อายุที่เพิ่มมากขึ้นถือเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญที่อาจก่อให้เกิดมะเร็งเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่จะพบผู้ที่เป็นโรคนี้ได้สูงตามอายุที่เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป ก็จะยิ่งมีความเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงถึง 50 - 60%
  2. ผู้หญิงที่เคยเข้ารับการผ่าตัดก้อนเนื้อที่เต้านม ก็อาจมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งเต้านมได้ โดยที่มีการพบ คือ พบว่าเป็นซีสต์เต้านมในชนิดที่เริ่มมีความผิดปกติ (Atypia)
  3. อาจเกิดขึ้นจากเชื้อชาติ ซึ่งมะเร็งเต้านมนี้จะได้ในผู้หญิงที่มีเชื้อชาติตะวันตกมากกว่าคนเอเชีย
  4. มีประวัติการใช้ยาคุมกำเนิดมาตั้งแต่อายุยังน้อย และใช้ต่อเนื่องกันเป็นเวลานานๆ นั้นอาจทำให้เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านมในวัยก่อนหมดประจำเดือน
  5. การมีลูกคนแรกหลังอายุ 30 ปี
  6. การไม่มีลูก หรือมีลูกยา
  7. ขาดการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
  8. การรับประทานอาหารที่มีไขมันสูงอย่างต่อเนื่อง
  9. การสูบบุหรี่
  10. การได้รับรังสีในปริมาณสูงตั้งแต่วัยเด็ก หรือวัยสาว

อย่างไรก็ตาม อัตราความเสี่ยงของโรคมะเร็งจากการดื่มแอลกอฮอล์ ยังพบสูงมากเฉพาะในอเมริกาเหนือ ออสเตรเลีย ยุโรป และกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก แต่สำหรับประเทศในกลุ่มกำลังพัฒนานั้น ยังพบไม่มากนัก

แต่ถึงกระนั้นการดื่มแอลกอฮอล์ไม่ได้ให้ผลดีต่อร่างกาย ยังเสี่ยงโรคอันตรายอื่นๆ เช่น ตับแข็ง โรคหัวใจและหลอดเลือด ไปจนถึงการทำงานของประสาท ดังนั้นเลี่ยงได้ก็เลี่ยงนะคะ 

ระยะของมะเร็งเต้านม

ในระยะเริ่มแรกของการเกิดโรคนั้นผู้ป่วยมักจะยังไม่พบอาการที่ชัดเจน แต่ต่อมาผู้ป่วยจะสามารถคลำก้อนเนื้อที่เกิดขึ้นได้ที่บริเวณเต้านม ซึ่งส่วนใหญ่นั้นมักเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว โอกาสที่จะเกิดก้อนเนื้อทั้ง 2 ข้างมีเพียง 5% เท่านั้น ก้อนเนื้อที่พบมักจะเป็นมีลักษณะแข็ง ขรุขระ โดยในบางรายอาจเป็นก้อนเนื้อเรียบๆ ผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมส่วนมากจะไม่มีอาการเจ็บ หรืออาการปวด มีเพียงแค่ 10% ของผู้ป่วยเท่านั้นที่จะมีการปวดเต้านม
อาการอื่นที่อาจพบได้ในผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่ หัวนมบุ๋ม เต้านมใหญ่ขึ้น หรือมีรูปทรงของเต้านมที่ผิดปกติไปจากเดิม ผิวหนังที่เต้านมบุ๋มลงไปลักษณะคล้ายกับลักยิ้ม ผิวหนังที่เต้านมขึ้นผื่นแดง ร้อน และมีลักษณะขรุขระคล้ายผิวสิ้ม ในบางรายอาจมีแผลที่บริเวณหัวนม หรืออาจมีน้ำเหลือง หรือน้ำเลือดไหลออกจากหัวนม อีกทั้งในผู้ป่วยบางรายอาจคลำพบก้อนเนื้อที่บริเวณรักแร้ นอกจากนั้นยังมีการตรวจพบมะเร็งเต้านมที่มีลักษณะบวมแดงคล้ายกับการอักเสบที่เต้านม

อาการของมะเร็งเต้านม

ลักษณะอาการของผู้ที่ป่วยเป็นมะเร็งเต้านมนั้นในระยะแรกนั้นจะแสดงอาการไม่ชัดเจน ซึ่งต่อมาเมื่อคลำไปที่บริเวณเต้านมก็จะพบได้กับก้อนเนื้อ ส่วนมากมักเกิดขึ้นเพียงข้างเดียว โอกาสที่จะเกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างมีเพียง 5% เท่านั้น ก้อนเนื้อมะเร็งที่พบจะมีลักษณะแข็งและขรุขระ มีเพียงบางรายเท่านั้นที่ก้อนเนื้อจะมีผิวเรียบ ผู้ป่วยที่มีเป็นมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะไม่มีอาการเจ็บ หรืออาการปวด แต่จะมีผู้ป่วยในบางกรณีเพียง 10% เท่านั้นที่จะมีอาการปวดเต้านม
อาการอื่นที่พบได้ในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านม ได้แก่ หัวนมบุ๋ม เต้านมใหญ่ขึ้น หรือรูปทรงของเต้านมผิดปกติไปจากเดิม ผิวหนังที่บริเวณเต้านมบุ๋มลงไปคล้ายกับลักยิ้ม อาจมีผื่นขึ้น ผิวแดง และขรุขระคล้ายกับผิวส้ม อีกทั้งยังอาจมีแผลที่บริเวณหัวนมและโดยรอบหัวนม ซึ่งในบางกรณีอาจมีน้ำเหลือง หรือน้ำเลือดไหลออกมาจากหัวนมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจพบก้อนเนื้อได้ที่บริเวณรักแร้ โดยในผู้ป่วยบางรายอาจพบมะเร็งเต้านมที่มีอาการบวมแดงคล้ายกับการอักเสบที่เต้านม

ข้อมูลและภาพประกอบจาก AFP

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook