เก็บยาในตู้เย็น อันตรายหรือไม่?

เก็บยาในตู้เย็น อันตรายหรือไม่?

เก็บยาในตู้เย็น อันตรายหรือไม่?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

คิดว่าน่าจะเป็นความคิดของใครหลายๆ คนที่คิดว่า เอาอะไรใส่ตู้เย็นก็ได้ ทำให้ของเหล่านั้นหมดอายุช้าลง เพราะความเย็นในตู้เย็นจะช่วยถนอมสิ่งเหล่านั้นให้อยู่ได้นานขึ้น ซึ่งจะว่าไปในหลายๆ อย่างมันก็ใช่ แต่ถ้าหากเป็นเรื่องของ “ยา” จะเป็นจริงตามที่เชื่อกันหรือเปล่า?

 

เก็บยาไว้ในตู้เย็น

เป็นเรื่องจริงที่อาจจะกล่าวได้ว่า อากาศร้อนอบอ้าวอาจทำให้ยาเสื่อมสภาพเร็วขึ้นกว่าเดิม แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าการเก็บยาในตู้เย็นจะช่วยยืดอายุของยาให้ใช้ได้นานขึ้น เพราะนอกจากการเก็บยาในที่อากาศเย็นมากเกินไป จะทำให้ตัวยาเสื่อมสภาพได้เหมือนกันแล้ว ยังทำให้ยาเกิดสารพิษเพิ่มขึ้นมาได้อีกด้วย เพราะในตู้เย็นก็มีความชื้นอยู่สูงเช่นกัน แล้วเจ้าความชื้นนี่แหละที่ทำให้ยาเสื่อมสภาพ

ยกตัวอย่างเช่น ยาแอสไพริน เมื่อสัมผัสกับความชื้นในตู้เย็นนานๆ อาจสลายตัวเป็นกรดซาลิไซลิก และกรดอะซิติก  ซึ่งจะทำให้ยาไม่มีผลในการต้านการแข็งตัวของเกล็ดเลือด รวมทั้งยังทำให้เกิดพิษ ทำให้ร่างกายขาดออกซิเจน ชัก และหมดสติได้เมื่อรับในปริมาณสูง

 pills-fridgeiStock

การเก็บรักษายาอย่างถูกวิธี

1. เก็บยาไว้ในที่ๆ อากาศถ่ายเทสะดวก ไม่ร้อง ไม่อับชื้นจนเกินไป และไม่มีแสงแดดส่องถึง

2. จัดเก็บยาแต่ละประเภทไว้รวมกัน อาจจะแบ่งตามประเภทของยา ว่าเป็นยาน้ำ หรือยาเม็ด ยาทาใช้ภายนอก หรือยาใช้ภายใน หรืออาจจะแบ่งตามกลุ่มยารักษาอาการประเภทเดียวกัน กัน รวมยาแก้ปวดหัว รวมยาแก้ปวดท้อง รวมยาทำแผล เป็นต้น

3. เมื่อได้ยามา ควรมองหาวันหมดอายุ หรือหากไม่ทราบ ควรเขียนแปะไว้ที่ผลิตภัณฑ์ว่าได้ยามาตั้งแต่วันไหน แล้วหาข้อมูลว่ายาชนิดนั้นสามารถเก็บไว้ได้นานเท่าไร (ส่วนใหญ่หากพบแค่วันผลิต จะนับเอาจากวันผลิตอีก 3 ปีถึงจะเป็นหมดอายุ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดของยาด้วย)

4. เรียงลำดับการใช้ยา จากตัวยาที่ใกล้จะหมดอายุก่อนเสมอ

5. ในตู้ยา หรือกล่องยา ควรเขียนแปะบอกชนิดของยาเอาไว้อย่างชัดเจน เพื่อความสะดวกในการหยิบใช้

6. ยาที่บรรจุเป็นแผง ไม่ควรตัดออกมาเป็นเม็ดๆ หรือแกะออกมาจากแผง ควรเก็บทั้งแผง เพื่อเก็บวันหมดอายุเอาไว้ที่แผงด้วย

7. หากยายังไม่หมดอายุ แต่สังเกตเห็นความผิดปกติที่แตกต่างไปจากเดิม เช่น สี รูปร่าง กลิ่น รส เปลี่ยน ไม่ควรเก็บยาตัวนั้นเอาไว้ต่อไป

 

อย่างไรก็ตาม ยาแต่ละตัวอาจมีวิธีเก็บรักษาที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นควรมองหาวิธีเก็บรักษายาแต่ละตัวจากฉลากยาข้างผลิตภัณฑ์ หรือยาที่หมอสั่งเป็นชุดๆ ก็ควรทานติดต่อกันจนหมดตามที่แพทย์แนะนำ อย่าหยุดทานจนยาเหลือ แล้วคิดว่าจะเก็บยาไว้ทานเมื่อมีอาการในภายหน้า เพราะนอกจากยาอาจจะมีสิทธิ์เสื่อมสภาพก่อนได้ทานแล้ว ยังทำให้ร่างกายดื้อยา เพราะทานยาไม่ครบตามจำนวนที่ควรทานอีกด้วย

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook