“วิตกจริต” แค่เครียด หรือโรคจิต?

“วิตกจริต” แค่เครียด หรือโรคจิต?

“วิตกจริต” แค่เครียด หรือโรคจิต?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

การวิตกกังวลนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกคนและทุกเพศทุกวัย แต่หากว่ามันมีอาการมากไป มันก็จะเป็นการนำไปสู่การเป็นโรคทางจิต หรือสามารถส่งผลเสียให้กับสุขภาพกายร่วมด้วย เพื่อเป็นการปกป้องเราจึงต้องทำความเข้าใจเกี่ยวกับอาการของโรคนี้กันก่อนค่ะ

 

โรคแพนิค คืออะไร

โรคแพนิค (Panic Disorder) เป็นความกลัวหรือความตื่นตระหนกที่เกิดขึ้นอย่างทันที เป็นลักษณะสำคัญของโรคทางจิตเวช โรคนี้จัดอยู่ในกลุ่มวิตกกังวล (Anxiety) ชนิดหนึ่ง

 

อาการของโรคแพนิค

ผู้ป่วยจะมีอาการควบคุมตัวเองไม่ได้ อาการคล้ายจะเป็นลม หน้ามืด เวียนหัว คลื่นใส้ แขนขารู้สึกเปลี้ย ไม่มีแรง มีอาการใจสั่นร่วมด้วย รู้สึกว่าร่างกายของตัวเองมีการเปลี่ยนแปลง มวลท้อง หายใจผิดปกติ จิตตก และรู้สึกร่างกายร้อนวูบวาบ กลัวตัวเองเป็นโรคร้ายแรง หรือกำลังจะตาย

อาการต่างๆมักเกิดขึ้นทันที ค่อยๆรุนแรงขึ้นเรื่อยๆจนประมาณ 10 นาที แล้วค่อยๆทุเลาลง อาการมักจะหายหรือเกือบหายในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง หลังจากอาการแพนิคหายผู้ป่วยมักจะเพลีย อ่อนแรง

 

สาเหตุของโรคแพนิค

- ฮอร์โมนลดกะทันหัน ทำให้สารสื่อในสมองผิดปกติ คล้ายกระแสไฟฟ้าลัดวงจร ส่งผลให้ประสาททำงานผิดพลาด จนทำให้สมองหลั่งสารตื่นตระหนกออกมาเอง

- เกิดจากสารบางอย่างที่เข้าไปกระตุ้นให้ผู้ป่วยโรคแพนิคเกิดอาการแพนิคได้มากกว่าคนทั่วไป

- กรรมพันธุ์

- มีความเครียดสะสมมากเกินไป ใช้ชีวิตแบบผิดๆ

- มีปัญหาทางด้านจิตใจ เคยถูกทำร้ายทางด้านจิตใจมาก่อน หวาดระแวง ตกใจง่าย ไม่ค่อยปล่อยวาง มีปมด้อย

- มีเรื่องปัญหาครอบครัว

 

วิธีป้องกัน และรักษาโรคแพนิค

แน่นอนว่าโรคนี้มาพร้อมกับความเครียด เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่ต้องทำเลยก็คือ ไม่เครียด หลีกเลี่ยงสิ่งที่ทำให้ตัวเองเกิดความเครียดหรือความวิตกกังวล ปรับเปลี่ยนวิธีการใช้ชีวิต ไม่ให้ตึงจนเกิดไป นั่งสมาธิ ปล่อยวางจิตใจ ดูแลตัวเอง ออกกำลังกาย หรือหากิจกรรมที่ทำร่วมกับคนอื่น เพื่อเป็นการสร้างปฏิสัมพันธ์กับเพื่อน คนใกล้ตัวและคนในครอบครัว

สิ่งที่ป้องกันโรคนี้ได้ดีที่สุดคือ การหัวเราะ ที่ทั้งเป็นการป้องกันโรคนี้ และป้องกันโรคอื่นๆได้อีกด้วย

เมื่อไม่แน่ใจว่ากำลังมีอาการของโรคแพนิคหรือไม่ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกาย และสมองอย่างละเอียด จากนั้นแพทย์อาจให้การรักษาอย่างใกล้ชิด และให้ยา

ในกรณีที่ได้รับการรักษาด้วยยา ยาจะช่วยให้เราปรับสมดุลสารเคมีในสมองได้เร็วขึ้น การทานยาช่วยในการรักษาได้ 70 ถึง 80 เปอร์เซนต์ ภายหลังเริ่มการรักษาแล้ว 6-8 สัปดาห์ เมื่ออาการดีขึ้นแล้วแพทย์ยังคงให้การรักษาต่อเนื่องอีกอย่างน้อย 6 เดือน

เพื่อป้องกันการกำเริบของอาการ ควรปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ไม่ควรหยุดยาทันที เพราะอาจเกิดอาการดื้อยา หรืออาการอาจกำเริบได้

 

แม้ว่าโรคแพนิคจะเป็นโรคที่ไม่อันตรายต่อร่างกาย แต่มันก็สามารถทำให้มีปัญหาในการใช้ชีวิต การทำงาน การเรียน หรือปัญหาด้านอื่นๆ เกิดขึ้นได้ ดังนั้นเราต้องเริ่มป้องกันและเริ่มหันมาใส่ใจตัวเองให้มากยิ่งขึ้น เพราะทุกอย่างเริ่มจากตัวเราเอง

 

ขอบคุณข้อมูลจาก BangkokHealth
ภาพประกอบจาก istockphoto
Story : แพรวา  คงฟัก

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook