โรครองช้ำ ปวดส้นเท้า ทรมานกว่าที่คุณคิด

โรครองช้ำ ปวดส้นเท้า ทรมานกว่าที่คุณคิด

โรครองช้ำ ปวดส้นเท้า ทรมานกว่าที่คุณคิด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

อาการปวดส้นอาจถูกมองว่าเป็นอาการเจ็บปวดเล็กน้อยที่เกิดขึ้นหลังจากใช้งานเท้าอย่างหนัก ไม่ว่าจะเดินมาก วิ่งมาก หรืออาจจะเพราะน้ำหนักตัว หรือรองเท้าที่สวมใส่ แต่จริงๆ แล้ว อาการปวดส้นเท้าอาจเป็นอาการของ “โรครองช้ำ” ที่สร้างปัญหาในการใช้ชีวิตของเขาเหล่านั้นก็เป็นได้

 

โรครองช้ำ คืออะไร?

โรครองช้ำ หรือ โรคพังผืดใต้ฝ่าเท้าอักเสบ เป็นโรคที่มีอาการอักเสบของพังผืดใต้ฝ่าเท้า ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวดที่ส้นเท้ามากเป็นพิเศษ แม้ว่าจะไม่ได้ใช้งานเท้าหนักมากก็ตาม

 

โรครองช้ำ มีสาเหตุมาจากอะไร?

- ส้นเท้ารับน้ำหนักมากเป็นเวลานาน อาจพบในบุคคลที่ต้องยืนทำงานนานๆ ตลอดทั้งวัน

- น้ำหนักตัวมาก อ้วน เป็นสาเหตุทำให้เท้ารับน้ำหนักมากเกินไป

- สวมรองเท้าที่ไม่ได้มาตรฐาน ทำให้การรับน้ำหนักของเท้าไม่สมดุล

- ใช้เท้าทำกิจกรรมที่แตกต่างไปจากเดิมกะทันหัน เช่น เปลี่ยนที่วิ่งจากสนามหญ้าเป็นพื้นคอนกรีต หรือเพิ่มระยะทางในการวิ่ง

- เอ็นร้อยหวายยึด เลยทำให้ส้นเท้าไม่สามารถเคลื่อนไหวได้ตามปกติ

- เป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือข้อสันหลังอักเสบ อาจทำให้เกิดการอักเสบที่เส้นเอ็นจุดใดจุดหนึ่งที่เชื่อมต่อกับกระดูก จนอาจเกิดเป็นพังผืดใต้ฝ่าเท้าได้

Advertisement

- โครงสร้างทางร่างกาย โดยอาจมีเท้าแบน อุ้งเท้าโก่ง เส้นเอ็นยึดน่อง ทำให้ไม่สามรถเคลื่อนไหวข้อเท้าได้ตามปกติ

 thumb_foot_pain_2

 

โรครองช้ำ มีอาการอย่างไร

คนที่เป็นโรครองช้ำ จะมีอาการเจ็บส้นเท้าก่อน และอาจลามปวดไปทั้งฝ่าเท้า หรืออุ้งเท้า มีทั้งปวดจิ๊ดๆ หรือปวดแสบๆ โดยจะค่อยๆ เจ็บปวกทีละนิด จนคิดว่าว่าอีกเดี๋ยวก็หาย แต่จะมีอาการปวดเรื่อยๆ บ่อยๆ และข้อสังเกตคือ ส้นเท้าจะปวดมากเมื่อสัมผัสกับพื้นครั้งแรกของวัน หรือหลังตื่นนอน และหลังจากนั่งพักเป็นเวลานาน หรืออาจปวดมากเมื่อต้องเท้าต้องรับน้ำหนักเป็นเวลานานๆ เช่น ยืน หรือเดินทำงานทั้งวัน

 

โรครองช้ำ มีวิธีรักษาอย่างไร?

แพทย์อาจสั่งยาต้านอาการอักเสบ ใช้อุปกรณ์เกี่ยวกับกระดูก เช่น อุปกรณ์เสริมอุ้งเท้าด้านใน อุปกรณ์รองรับส้นเท้า หรืออาจจะทำกายภาพบำบัด ในรายที่จำเป็นจริงๆ และวิธีทั้งหมดไม่ได้ผล แพทย์อาจฉีดสเตียรอยด์ แต่ไม่นิยม เพราะใช้เวลานานกว่า 18 เดือนถึงจะหายขาด และอาจมีอาการปวดซ้ำได้อีกในอนาคต

 

หากมีอาการปวดส้นเท้าบ่อยๆ หรือปวดมากเป็นพิเศษหลังตื่นนอน หลังนั่งพักนานๆ ลองพบแพทย์เพื่อเข้ารับการตรวจโดยละเอียดนะคะ แม้ว่าจะไม่ใช่โรคร้ายแรง แต่ก็รบกวนการดำเนินชีวิตมากพอสมควรเลยทีเดียว

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook
kookkak

เว็บไซต์นี้ใช้คุกกี้ เราใช้คุกกี้เพื่อให้ท่านได้รับประสบการณ์การใช้งานที่ดีที่สุดบน
เว็บไซต์ของเรา โปรดศึกษาเพิ่มเติมที่
นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้