อีสุกอีใส ไม่เคยเป็นควรฉีดวัคซีน เสี่ยงติดเชื้อรุนแรง-เสียชีวิต

อีสุกอีใส ไม่เคยเป็นควรฉีดวัคซีน เสี่ยงติดเชื้อรุนแรง-เสียชีวิต

อีสุกอีใส ไม่เคยเป็นควรฉีดวัคซีน เสี่ยงติดเชื้อรุนแรง-เสียชีวิต
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หลายคนอาจจะเคยเป็น “โรคอีสุกอีใส” มาตั้งแต่ตอนเด็กๆ คงจะจำความทรมานในช่วงนั้นกันได้ดี ทั้งแผลตุ่มๆ มีไข้ คันก็เกาไม่ได้ และยังต้องหยุดเรียนอีกเป็นอาทิตย์

แต่ใครที่โตมาจนถึงป่านนี้แล้วยังไม่เคยเป็นอีสุกอีใส อย่าคิดว่าชีวิตนี้จะไม่เป็นอีกแล้ว เพราะคุณอาจมาเป็นโรคอีสุกอีใสเอาตอนโตก็ได้ แล้วขอเตือนเอาไว้เลยว่า ใครที่ยังไม่เคยเป็นโรคอีสุกอีใส ควรไปฉีดวัคซีนโดยด่วน เพราะมีความเสี่ยงจะเป็นชนิดรุนแรง ไม่ได้หายกันง่ายๆ เหมือนตอนเด็ก อันตรายถึงขั้นเสียชีวิตก็มีมาแล้ว

 

อีสุกอีใส คืออะไร?

โรคอีสุกอีใสเป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อไวรัส Varicella zoster (VZV) เป็นโรคติดต่อที่ติดต่อกันได้ง่าย เพียงสัมผัสผิวหนังที่เป็นแผลตุ่มน้ำ หรือหายใจเอาละอองฝอยของสารคัดหลั่งผ่านเข้าไปทางเดินหายใจ เช่น เมื่อผู้ป่วยไอ หรือจาม

อีสุกอีใส เกิดขึ้นได้อย่างไร

อีสุกอีใส นั้นเกิดขึ้นจากการติดเชื้อ อีสุกอีใส - งูสวัด ซึ่งเป็นไวรัสที่มีชื่อว่า วาริเซลลา ซอสเตอร์ (Varicella zoster virus – VZV) หรือ Human herpesvirus type 3 (HHV-3) โดยจะทำให้เกิดโรคอีสุกอีใสในผู้ป่วยที่ติดเชื้อเป็นครั้งแรก จากนั้น เชื้อก็จะเข้าไปหลบอยู่ภายในปมประสาท เมื่อถึงคราวที่เรามีอายุเพิ่มมากขึ้น หรือมีภูมิคุ้มกันต่ำ เชื้อที่หลบซ่อนอยู่ก็จะเติบโตขึ้นกลายเป็นโรคงูสวัดในที่สุด

การติดต่อของโรคอีสุกอีใส

เชื้อไวรัสที่ก่อให้เกิดโรคอีสุกอีใสนั้นจะอยู่ในตุ่มน้ำ ตลอดจนอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ที่ป่วยเป็นโรคอีสุกอีใส หรืองูสวัด หากว่ามือ หรือร่างกายไปสัมผัสถูกตุ่มน้ำโดยตรง รวมถึงการสัมผัสสิ่งของเครื่องใช้ อาทิ ผ้าเช็ดตัว ผ้าเช็ดหน้า ที่นอน ผ้าห่ม แก้วน้ำ หรือแวดล้อมที่ปนเปื้อนไปด้วยเชื้อตุ่มน้ำ น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย หรือสามารถติดต่อได้หลายทาง ..

  • เชื้อสามารถปนเปื้นเข้าไปในทางเดินหายใจได้แบบเดียวกับไข้หวัด
  • การหายใจสูดเอาฝอยละอองน้ำลาย หรือจากเสมหะที่ผู้ป่วยไอจามรด
  • ติดต่อจากเชื้อที่แขวนลอยอยู่ในอากาศ โดยเป็นการติดต่อรูปแบบเดียวกับไข้หวัดใหญ่

ทั้งนี้ ไม่ว่าจะติดต่อด้วยทางใดก็ตาม เชื้อก็จะเข้าสู่ร่างกายด้วยระบบทางเดินหายใจ จากนั้นก็จะเข้าสู่กระแสเลือดและกระจายไปจนทั่วร่างกาย รวมถึงผิวหนังด้วย ที่สำคัญที่หลายคนยังไม่รู้ คือ เรื่องการสัมผัสสะเก็ดแผลจะไม่ทำให้ติดโรค

ระยะฟักตัวของโรคอีสุกอีใส

ระยะฟักตัวของโรคอีสุกอีใสนั้น จะอยู่ที่ประมาณ 10 - 21 วัน แต่โดยเฉลี่ยแล้วจะประมาณ 14 - 17 วัน

อีสุกอีใส มีอาการอย่างไร?

ผู้ป่วยอีสุกอีใสจะเริ่มต้นจากการปวดศีรษะ มีไข้ ปวดเมื่อยตามร่างกาย เบื่ออาหาร แล้วจะเริ่มมีผื่นแดง และมีตุ่มน้ำใสๆ โดยจะขึ้นทั่วตัวภายใน 24 ชั่วโมง

 

อีสุกอีใส เป็นแล้ว เป็นอีกไหม?

โดยปกติแล้วใครที่เคยเป็นอีสุกอีใสแล้วจะไม่กลับมาเป็นอีก เพราะร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันให้เรียบร้อยแล้ว แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นมากกว่า  1 ครั้งเช่นกัน แต่เป็นส่วนน้อย ขึ้นอยู่กับภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นหลังจากที่เป็นครั้งแรก

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเมื่อเป็น ‘อีสุกอีใส’

นอกจาก ‘อีสุกอีสใส’ จะทำให้เกิดตุ่มน้ำจนกลายเป็นบาดแผลไปทั่วร่างกายของเราแล้ว ก็ยังมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดโรคแทรกซ้อนอื่นๆ เพิ่มขึ้นมาได้ ฉะนั้น จึงไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยที่จะมองข้ามไป หากมีการสังเกตอย่างสม่ำเสมอก็จะช่วยให้การรักษาเป็นไปได้อย่างทันท่วงที ซึ่งภาวะแทรกซ้อนที่ว่านั้นมีอะไรมา ลองมาดูพร้อมๆ กัน

  • ถึงแม้เราจะพูดว่าเป็น ‘ภาวะแทรกซ้อน’ ที่ในความหมายแล้วอาจแปลได้ว่าเป็นสิ่งที่ร้ายแรง แต่ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นกับเด็กที่ป่วยเป็นอีสุกใสไม่ใช่แบบนั้น โดยภาวะแทรกซ้อนจะพบได้น้อยมากในเด็กที่มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงอยู่เป็นทุนเดิม แต่ถ้าเป็นในผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นอีสุกอีใส หรือในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ อาทิ ผู้ป่วยเอดส์ , มะเร็ง , เบาหวาน ,  ผู้ที่ปลูกถ่ายอวัยวะ , ผู้ที่ใช้ยาสำหรับรักษาโรคมะเร็ง หรือใช้เสตียรอยด์ ก็มีโอกาสที่ภาวะแทรกซ้อนนี้จะเกิดขึ้นได้บ่อยและรุนแรง ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้บ่อย คือ การติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนจนกลายเป็นแผลพุพอง อันเนื่องจากไม่ได้รักษาความสะอาดของบาดแผล หรือใช้เล็บเกาจนแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น จนทำให้เนื้อเยื่อบริเวณใต้ผิวหนังอักเสบเป็นไฟลามทุ่งที่อาจทำให้เป็นแผลเพิ่มขึ้นได้
  • ปอดอักเสบ : เป็นภาวะร้ายแรงที่มักพบได้ในผู้ป่วยที่มีอายุมากกว่า 20 ปีขึ้นไป , หญิงตั้งครรภ์ หรือในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ โดยมักจะเกิดจากเชื้อไวรัสอีสุกอีใส บางรายก็อาจเกิดจากการติดเชื้อสแตปฟิโลคอคคัสแทรซ้อน อาการที่เกิดตามมามักรุนแรงและมีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • สมองอักเสบ : เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้เพียง 1 ใน 1,000 ของผู้ป่วยที่เป็นอีสุกอีใส โดยพบได้ในเด็กได้มากกว่าผู้ใหญ่ และมีอัตราการเสียชีวิตร้อยละ 5 - 30 นอกจากนั้นก็จะสามารถหายเองได้เป็นปกติ
  • ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ : เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้น้อย แต่มีความรุนแรงมาก ทำให้มีเลือดออกในตุ่มน้ำใส หรือมีเลือดออกตามปากและจมูก มักพบได้ในผู้ป่วยที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • กลุ่มผู้ป่วยที่เป็นอีสุกอีใสมาตั้งแต่กำเนิด : ในหญิงตั้งครรภ์ระยะแรกๆ หรือระยะที่ 2 ถ้ามีการติดเชื้ออีสุกอีใส ก็อาจทำให้ทารกมีน้ำหนักตัวแรกคลอดน้อยกว่าปกติ หรือทำให้ทารกพิการได้ เรียกว่า ‘กลุ่มอาการอีสุกอีใสแต่กำเนิด’ ส่งผลให้เกิดแผลตามตัว , แขนขาลีบ , ตาเล็ก , ต้อกระจก , ศีรษะเล็ก , ปัญญาอ่อน เป็นต้น ซึ่งความพิการที่จะพบได้ในทารกคิดเป็นประมาณ 0.5 - 6.5% โดยเฉลี่ยจะอยู่ที่ประมาณ 2% ของทารกที่มารดาเป็นอีสุกอีใสในระยะแรกของการตั้งครรภ์
  • ภาะวแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นในหญิงตั้งครรภ์ โดยเป็นอีสุกอีใส 5 วันก่อนคลอด หรือเป็นภายใน 24 ชั่วโมงก่อนคลอด ส่งผลทำให้ทารกที่เกิดมาอาจเป็นอีสุกอีใสชนิดรุนแรงซึ่งมีอัตราการเสียชีวิตสูง
  • เมื่อหายจากการเป็นอีสุกอีใสแล้ว แต่ก็ยังมีเชื้อบางส่วนหลงเหลืออยู่ และเชื้อไวรัสนี้ก็มักจะหลบซ่อนอยู่ในปมประสาทส่วนต่างๆ โดยเฉพาะลำตัว จึงทำให้มีโอกาสที่เป็นโรคงูสวัดได้ในภายหลัง เมื่อยามที่ร่างกายอ่อนแอ อายุเพิ่มมากขึ้น หรือในยามที่ร่างกายมีภูมิคุ้มกันต่ำ
  • ภาวะแทรกซ้อนอื่นๆ นอกจากนี้อาจพบได้ แต่มีเปอร์เซนต์ที่น้อยมาก อาทิ โรคเรย์ซินโดรม , จอประสาทตาอักเสบ , กล้ามเนื้อหัวใจอีกเสบ , ตับอักเสบ , หน่วยไตอักเสบ , อัณฑะอักเสบ , ข้ออักเสบ เป็นต้น

อีสุกอีใส VS งูสวัด

ถึงแม้ว่าจะมีลักษณะของอาการคล้ายกันอยู่บ้าง แต่อันที่จริงแล้วอีสุกอีใส กับงูสวัดเป็นคนละโรคกัน งูสวัดอาจจะมีความเสี่ยงเกิดขึ้นในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และมีอาการเจ็บปวดมากกว่า ตุ่มน้ำอาจขึ้นเฉพาะบริเวณปลายประสาทเท่านั้น เช่น ตามแนวประสาทแยกออกจากไขสันหลัง แล้วทอดมายังบริเวณซี่โครง จนถึงกลางลำตัวด้านหน้า

หลังจากที่เป็นอีสุกอีใส เชื้อไวรัสภายในร่างกายอาจจะยังคงอยู่ เมื่อภูมิคุ้มกันลดลง เชื้อไวรัสอาจทำให้กลายเป็นงูสวัดได้เช่นกัน แต่ไม่ได้เป็นกันทุกคน ขึ้นอยู่กับระดับของภูมิคุ้มกันร่างกายของและคน

 

ทำไมคนที่ไม่เคยเป็นอีสุกอีใส ถึงควรไปฉีดวัคซีน?

เพื่อป้องกันโรคอีสุกอีใสที่จะเกิดขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่แล้ว มีความเสี่ยงที่จะมอาการรุนแรง และรักาหายได้ช้ากว่าตอนเป็นเด็ก ความรุนแรงของอีสุกอีใสในวัยผู้ใหญ่ อาจมีตั้งแต่ผื่นหรือตุ่มน้ำใหญ่กว่าปกติ จำนวนมากกว่า หายช้ากว่า ทิ้งรอยแผลเป็นชัดกว่า ไปจนถึงเชื้อไวรัสลามไปรบกวนการทำงานของประสาทส่วนอื่นของร่างกาย เช่น เชื้อขึ้นตา จนจอประสาทตาอักเสบ ต้องรักษากันอีกเป็นปีๆ หรือหากติดเชื้ออื่นๆ ร่วมด้วย ก็อาจมีความเสี่ยงรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้เหมือนกัน

 

วัคซีนอีสุกอีใส ต้องฉีดอย่างไรบ้าง?

วัคศีนอีสุกอีใส เป็นวัคซีนชนิดเป็น สามารถฉีดได้ตั้งแต่อายุ 1 ขวบขึ้นไป จำนวนทั้งหมด 2 เข็ม

1) อายุ 1-12 ปี จะฉีดเข็มแรกตอนช่วงอายุ 12-18 เดือน เข็มที่ 2 จะฉีดตอนช่วงอายุ 4-6 ปี แต่ถ้าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงเชื้อไวรัสระบาดหนัก อาจฉีดเข็มที่ 2 ก่อน 4 ปีได้ แต่ต้องห่างเข็มแรกอย่างน้อย 3 เดือน

2) อายุ 13 ปีขึ้นไป สามารถฉีด 2 เข็มได้เลย โดยแต่ละเข็มห่างกัน 4-8 สัปดาห์เท่านั้น

3) การฉีดป้องกันหลังสัมผัส ควรฉีดภายใน 5 วันหลังสัมผัส เกินกว่านี้อาจจะได้รับเชื้อไปแล้ว

 

แม้ว่าอีสุกอีใสจะเป็นโรคที่หายได้ง่ายๆ เมื่อตอนเป็นเด็ก แต่เมื่อเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ ความรุนแรงอาจไม่เท่ากัน ดังนั้นกันไว้ดีกว่าแก้นะคะ

 

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมจาก เฟซบุ๊คเพจ Infectious ง่ายนิดเดียว ได้เลยค่ะ 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook