โรคขี้ขโมย ชอบขโมยของ มีสาเหตุจากอะไร?

โรคขี้ขโมย ชอบขโมยของ มีสาเหตุจากอะไร?

โรคขี้ขโมย ชอบขโมยของ มีสาเหตุจากอะไร?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เราอาจจะเคยเห็นข่าวคนที่มีชื่อเสียง หรือรวยล้นฟ้า มีทรัพย์สินมากมาย แต่ถูกจับข้อหาขโมยของ ลักทรัพย์อย่างตั้งใจ ทั้งๆ ที่สามารถจ่ายเงินซื้อได้เองกันมาบ้าง เพราะอะไรเขาเหล่านั้นถึงเลือกขโมยของโดยไม่ยอมจ่ายเงิน ทั้งๆ ที่ตัวเองก็มีกำลังทรัพย์ที่จะจ่ายได้ หรือจะเป็นเขาเหล่านั้นเป็นผู้ป่วยโรคขี้ขโมย โรคขี้ขโมยเป็นอย่างไร ไปหาคำตอบกันค่ะ

 

โรคขี้ขโมย มีสาเหตุมาจากอะไร?

โรคขี้ขโมย หยิบฉวยของคนอื่น (Kleptomania) อาจเกิดขึ้นจากความผิดปกติทางสมองที่พบสารเซโรโทนินที่ต่ำลง (จนอาจเสี่ยงภาวะซึมเศร้า) พันธุกรรม และการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสมในวัยเด็ก

 

โรคขี้ขโมย เป็นอาการทางจิตหรือไม่?

โรคขี้ขโมย ไม่ถือว่าเป็นอาการทางจิต แต่จัดอยู่ในโรคที่เกิดจาดความผิดปกติของสมอง ที่ไม่สามารถควบคุมอารมณ์ของตัวเองได้ โรคอื่นๆ ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกัน ได้แก่ โรคควบคุมการระเบิดอารมณ์ความโกรธของตัวเองไม่ได้ โรคควบคุมพฤติกรรมอยากเผาไฟ เล่นไฟไม่ได้ โรคควบคุมความอยากเล่นการพนันไม่ได้ เป็นต้น

 

โรคขี้ขโมย มีอาการอย่างไร?

ส่วนใหญ่แล้วผู้ป่วยที่เป็นโรคขี้ขโมย มีความเป็นไปได้สูงที่จะไม่มปัญหาทางด้านการเงิน แต่จะมีปัญหาทางสภาวะจิตใตที่ต้องการจะปลดปล่อยอะไรออกมาบางอย่าง แล้วแสดงออกผ่านการขโมยของ เมื่อขโมยของได้สำเร็จ ก็จะทำให้ตัวเองรู้สึกดีขึ้น

ผู้ป่วยโรคขี้ขโมย จะรู้สึกผิดเมื่อขโมยของเสร็จ บางคนถึงกับเอาของไปคืนที่เดิมหลังจากขโมยเสร็จ เพราะไม่ได้มีวัตถุประสงค์จะขโมยของเพื่อนำไปใช้สอยส่วนตัว จะไม่มีพฤติกรรมก้าวร้าว หรือพูดปดเมื่อถูกจับได้ และการขโมยจะเกิดขึ้นแบบปัจจุบันทันด่วน กล่าวคือไม่มีการวางแผนการขโมยมาก่อน เห็นแล้วรู้สึกอยากขโมยขึ้นมาทันที

 

ผู้ป่วยโรคขี้ขโมย แตกต่างจากมิจฉาชีพจริงๆ อย่างไร?

มิจฉาชีพมักจงใจขโมยของเพราะความอยากได้อยากมีของชิ้นนั้นๆ เช่น ขโมยมือถือเพราะอยากได้มือถือ หรือเอาไปเปลี่ยนเป็นเงิน นั่นหมายถึงอยากได้เงิน แต่เป้าหมายของผู้ป่วยโรคขี้ขโมย ไม่ได้อยู่ที่สิ่งของ ไม่ได้อยากได้อยากมีสิ่งของชิ้นนั้นๆ แต่เป้าหมายอยู่ที่การ “ขโมย” รู้สึกดีที่ได้ขโมย

หากพบพฤติกรรมชอบขโมยของในวัยเด็ก อาจเกิดจากพัฒนาการของตัวเด็กที่ยังไม่ดีพอ ขาดการอบรมที่ดีจากผู้ใหญ่ แต่หากยังพบพฤติกรรมขี้ขโมยในวัยรุ่น หรือวัยผู้ใหญ่ ขโมยจนทำให้เป็นปัญหาในการดำเนินชีวิต และไม่สามารถหยุดพฤติกรรมขี้ขโมยด้วยตัวเองได้ อาจสันนิษฐานว่าเป็นโรคขี้ขโมยได้เหมือนกัน

 

โรคขี้ขโมย มีวิธีการรักษาอย่างไร

ผู้ป่วยโรคขี้ขโมย สามารถรับการรักษาได้ทั้งจากการใช้ยาบำบัด โดยเพิ่มเซโรโทนีนในสมอง ลดความเสี่ยงของผู้ป่วยจากภาวะซึมเศร้า และวิธีจิตบำบัด อาจจะเป็นการเพิ่มความรู้สึกผิดชอบชั่วดีให้กับผู้ป่วยมากขึ้น ให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าสิ่งที่ทำไปไม่ใช่เรื่องดี เป็นเรื่องที่ผิด จนผู้ป่วยหยุดทำไปเอง หรืออาจจะเป็นการชวนผู้ป่วยคุยถึงผลร้ายที่อาจจะตามมาภายหลังจากการขโมย ขยายผลร้ายให้เห็นอนาคตหลังจากการขโมยให้เห็นได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น การสร้างความกลัวจนหยุดอาการอยากขโมยลงได้

 

ถึงกระนั้น หากพบเจอหรือรู้จักใครที่ชอบขโมยของคนอื่น ไม่ได้แปลว่าเขาเหล่านั้นเป็นโรคขี้ขโมยเสมอไป อาจเป็นความผิดปกติของทางจิตในรูปแบบหนึ่ง อาจเป็นคนที่ชอบต่อต้านสังคม หรืออยากเรียกร้องความสนใจก็เป็นได้ ดังนั้นหากพบใครมีพฤติกรรมดังกล่าว ควรส่งพบแพทย์เพื่อทำการวินิจฉัยให้ชัดเจน และรับการรักาอย่างถูกวิธีกันต่อไป

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook