ลดน้ำหนักได้ ถ้ารู้จัก 5 ฮอร์โมนในร่างกาย
เมื่อพูดถึงคำว่าฮอร์โมน หลายๆ คนมักจะนึกไปถึง ฮอร์โมนในช่วงที่มีประจำเดือน ฮอร์โมนวัยรุ่น หรือแม้กระทั่งวัยทอง แต่จริง ๆ แล้ว ฮอร์โมน มีความหมายมากกว่านั้น เราอาจจะเรียกได้ว่า มันเป็นการส่งสัญญาณทางเคมี หรือ Chemical Messenger ที่บอกอะไรหลายๆ อย่างเกี่ยวกับร่างกายของเรา ที่สำคัญ ฮอร์โมน มีบทบาทสำคัญต่อ ภาวะการเจริญพันธุ์ ระบบการเผาผลาญอาหาร การลดน้ำหนัก อารมณ์ ระบบภูมิคุ้มกัน ความเครียด และอื่นๆ อีกมากมาย
Irene Ross ผู้ให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพ และความสมดุลของฮอร์โมน ของ Mindbodygreen บอกว่า เมื่อฮอร์โมนไม่ปกติ เราจะมีความรู้สึกว่าตัวเองอ้วน แก่ เหนื่อย บางทีก็อารมณ์เสีย เครียด ทำงานไม่ได้ และเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาแบบนี้ เราต้องหมั่นดูแลฮอร์โมน 5 ชนิด ซึ่งมีความสำคัญต่อระบบการเผาผลาญอาหาร น้ำหนัก และอารมณ์ของเรา ฮอร์โมนทั้ง 5 ชนิด ได้แก่
- ฮอร์โมนอินซูลิน
เป็นฮอร์โมนที่สร้างจากตับอ่อน มีหน้าที่นำน้ำตาลในเลือดไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ฮอร์โมนตัวนี้ มีความเกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน ความไม่สมดุลของอินซูลินมีผลต่อการมีน้ำหนักตัว ความง่วง การนอนไม่หลับ ความรู้สึกหงุดหงิดรำคาญใจ ความวิงเวียนศีรษะ และ ความไม่แจ่มใสของสมอง หรือที่เรียกว่า Brain Fog - ฮอร์โมนคอร์ติซอล
อาจจะเรียกว่าเป็นฮอร์โมนความเครียดก็ได้ เพราะร่างกายจะหลังออกมาเมื่อเกิดความเครียด หากร่างกายหลั่งฮอร์โมนตัวนี้ออกมามากก็จะส่งผลต่อการนอน ความวิตกกังวล ความหิว ความเสื่อมสมรรถภาพทางเพศ และการมีน้ำหนักตัวเพิ่ม - ฮอร์โมนเกรลิน
เรียกอีกอย่างว่า ฮอร์โมนความหิว ซึ่งมันจะหลั่งออกมาเมื่อเราอดหลับอดนอน และเป็นเหตุให้ร่างกายของเราเก็บสะสมไขมัน เกิดความหิวกระหาย ทั้งๆ ที่เราก็รับประทานอาหารอิ่มแล้ว - ฮอร์โมนเลปติน
บางคนก็เรียกว่า เป็นฮอร์โมนความอิ่ม พิชิตความอ้วน ฮอร์โมนตัวนี้จะควบคุมความอิ่ม และระดับพลังงานของร่างกาย หากเราอดหลับอดนอนจะทำฮอร์โมนเลปตินนี้ไม่สมดุล ร่างกายก็จะควบคุมความอิ่มไม่ได้ กินเท่าไหร่ก็ไม่อิ่มสักที - ฮอร์โมนอดิโพรเนคติน
เป็นฮอร์โมนที่มีบทบาทสำคัญต่อการเผาผลาญไขใน ยิ่งเรามีมากเท่าไหร่ ร่างกายของเราก็จะยิ่งเผาผลาญไขมันได้ดี และที่สำคัญ อาหารที่มีธาตุแม็กนีเซียมเช่นผักใบเขียว อโวคาโด และปลา สามารถเพิ่มระดับฮอร์โมนอดิโพรเนคตินให้เราได้
ฮอร์โมนทั้ง 5 ชนิดนี้ เราต้องหมั่นตรวจสอบอยู่เรื่อย ๆ เพื่อรักษาร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล แนะนำว่า การนอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การให้ความสำคัญกับการรับประทานอาหารคลีน การควบคุมความเครียด รวมทั้งการออกกำลังกาย อย่างเช่นโยคะ การหายใจลึกๆ การได้หายใจในสภาพอากาศที่มีออกซิเจนสูง จะช่วยควบคุมฮอร์โมนเหล่านี้ให้อยู่ระดับที่สมดุลได้