ดื่มน้ำเย็น อันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ?

ดื่มน้ำเย็น อันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ?

ดื่มน้ำเย็น อันตรายต่อสุขภาพจริงหรือ?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ร้อนๆ อย่างนี้ ไม่ให้ดื่มน้ำเย็นได้อย่างไร จริงไหมคะ? ไม่ว่าจะน้ำเปล่า น้ำอัดลม น้ำหวาน น้ำชา หรือแม้กระทั่งเบียร์ที่หลายคนก็แอบเติมน้ำแข็งเข้าไปด้วย ถึงแม้ว่าจะแช่เย็นมาจากในตู้เย็นแล้วก็ตาม

บางคนอาจเคยได้ยินว่า น้ำเย็นเป็นอันตรายต่อร่างกาย แล้วที่เราดื่มๆ กันอยู่นี่เป็นอันตรายกับร่างกายมากขนาดไหน หรือจริงๆ แล้วไม่ใช่เรื่องจริง มาหาคำตอบกันค่ะ

 

น้ำเย็น ทำร้ายร่างกายได้อย่างไร?

ถ้าเอาง่ายๆ เลย การดื่มน้ำเย็นจัดในเวลาอันรวดเร็ว อาจทำให้เกิดอาการ brain freeze หรืออาการเย็นจี๊ดขึ้นสมอง ปวดศีรษะไปชั่วขณะได้ (คนที่เป็นโรคไมเกรนจะมีโอกาสเกิดอาการนี้ง่ายกว่าคนปกติ) โดยเป็นกระบวนการของสมองที่สั่งการส่งเลือดมาไหลเวียนที่หลอดเลือดบริเวณที่เย็นจัดอย่างเฉียบพลัน เพื่อทำให้หลอดเลือดบริเวณนั้นอุ่นขึ้น และขยายหลอดเลือดให้ใหญ่ขึ้น จนไปกระตุ้นประสาทส่วนที่รับรู้ถึงความเจ็บปวดไปด้วย จึงเกิดเป็นอาการปวดศีรษะโดยฉับพลันนั่นเองแต่ไม่ต้องห่วง อาการนี้เกิดขึ้นเพียงไม่กี่วินาที และไม่ส่งผลระยะยาวต่อร่างกายใดๆ ทั้งสิ้น

cold-water-2.jpg


แต่หากจะพูดถึงอันตรายต่อร่างกายในระยะยาว ก็มีเหมือนกัน การดื่มน้ำเย็นจัด จะทำให้ไตต้องทำหน้าที่กำจัดความเย็นออกจากร่างกายอย่างรวดเร็ว โดยการขับน้ำเย็นออกมาเก็บไว้ที่กระเพาะปัสสาวะ

นอกจากไตจะทำงานหนักขึ้นแล้ว ความเย็นยังทำให้หลอดเลือดแข็งตัว ไม่ยืดหยุ่น เลือดข้นหนืด เคลื่อนตัวได้ช้าลง และลำบากมากขึ้น ทำให้มีคราบไขมัน และของเสียในเลือดไปเกาะตามผนังหลอดเลือด และอาจสะสมพอกพูนกลายเป็นโรคหลอดเลือดตีบ จนอาจเป็นสาเหตุของอาการผิดปกติของร่างกายดังต่อไปนี้

1. ปัสสาวะบ่อยขึ้น และอั้นปัสสาวะไว้ได้ไม่นาน

2. ปวดหลัง ปวดเอวบ่อยๆ

3. ปวดเมื่อยตามร่างกาย โดยเฉพาะตามข้อต่างๆ เช่น เข่า ศอก นิ้วมือ ต้นคอ

4. ท้องอืด ท้องเฟ้อ ย่อยอาหารได้ช้าลง เพราะไขมันในอาหารจับตัวเป็นไข กระเพาะอาหารทำงานหนักขึ้น ใช้เวลาย่อยนานขึ้น

5. มีอาการหลอดเลือดตีบ หรือหลอดเลือดแข็ง จนอาจเป็นสาเหตุของโรคเส้นเลือดตีบ อัมพฤกษ์ อัมพาต และเส้นเลือดตีบที่สมอง

ดังนั้น หากอยากหลีกเลี่ยงอันตรายดังกล่าว ควรดื่มน้ำอุ่น หรือน้ำอุณหภูมิห้องแทนการดื่มน้ำเย็นจัด หรือลดการดื่มน้ำเย็นลงบ้าง ทานอาหารที่มีไขมันต่ำ ควบคุมอาหารจำพวกแป้ง และน้ำตาลให้พอดีกับความต้องการของร่างกาย ออกกำลังกายสม่ำเสมอ และพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อปรับการทำงานของอวัยวะภายใน รวมถึงหลอดเลือดให้เป็นปกติค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook