เพราะอะไรถึง “กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”?

เพราะอะไรถึง “กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”?

เพราะอะไรถึง “กลั้นปัสสาวะไม่อยู่”?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เคยเข้าห้องน้ำหญิงในห้าง แล้วต้องต่อคิวนานๆ ไหมคะ ใครที่ปวดไม่มากก็โชคดีไป แต่ถ้าใครมาในลักษณะที่ “เขื่อนจะแตกแล้ว” อันนี้ก็ต้องขอแสดงความเสียใจด้วยจริงๆ ที่จำเป็นต้องกลั้นต่อไป แม้ว่าจะยังไม่เคยเห็นใครกลั้นไม่ไหวต่อหน้าต่อตา แต่เชื่อว่าน่าจะมีเหตุการณ์ประมาณนี้เกิดขึ้นที่ไหนสักแห่งแน่ๆ

อาการ “กลั้นปัสสาวะไม่อยู่” ผิดปกติหรือไม่ แล้วเราต้องแก้ไขอย่างไร คุณมีโอกาสเป็นหรือเปล่า มาเช็คกันเลย

 

ทำไมถึงกลั้นปัสสาวะไม่อยู่?

นอกจากการปวดปัสสาวะมากๆ แล้วไม่ได้ปลดปล่อยตามเวลาที่ควรจะเป็นแล้ว การกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ในแบบที่เรียกว่า “ผิดปกติ” หรืออาการปวดปัสสาวะเพียงครู่เดียว ก็ไม่สามารถอดทนอดกลั้นเอาไว้ได้เลย จะราดเสียเดี๋ยวนั้นทันที แบบนี้ถึงจะเรียกว่า “ผิดปกติ” โดยอาจมีสาเหตุมาจากภาวะระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่างผิดปกติ

 

ภาวะกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ

  1. เก็บปัสสาวะได้ไม่อยู่ เหมือนอย่างที่เล่าไปข้างต้น คือ ไม่สามารถอดทนอดกลั้นปัสสาวะเอาไว้ได้เลย แม้จะปวดเพียงเล็กน้อยก็ตาม

  2. ปัสสาวะลำบาก ผู้ป่วยอาจมีอาการปัสสาวะขัด ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปัสสาวะกะปริดกะปรอย ยังมีความรู้สึกปวดอยู่ แต่ปัสสาวะไม่ไหลออกมา หรือมีความรู้สึกว่ามีปัสสาวะบางส่วนยังค้างอยู่ในร่างกาย

 pee-pee.jpg


อาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ มาจากหลายสาเหตุ แต่สาเหตุที่พบมากที่สุด คือ ภาวะกระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกินไป ซึ่งเป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งที่อาจต้องเข้ามารับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แต่หากค้นพบสาเหตุ และแก้ไขจากต้นเหตุได้อย่างตรงจุด ก็จะสามารถหายขาดได้เช่นกัน

 

วิธีรักษาอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่

  1. การฝึกกลั้นปัสสาวะ โดยอาจหากิจกรรมอย่างอื่นเพื่อดึงดูดความสนใจ แล้วกลั้นเอาไว้ก่อนเข้าห้องน้ำราวๆ 5-10 นาที หากฝึกได้เรื่อยๆ ก็จะช่วยยืดเวลาในการเข้าห้องน้ำถี่ๆ ให้ยาวนานขึ้นเป็น 3-4 ชั่วโมงต่อการปัสสาวะ 1 ครั้ง จนอาจหายเป็นปกติ

  2. การทานยา ที่ส่งผลต่อการลดการบีบตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะ เพื่อลดอาการกระเพาะปัสสาวะทำงานไวเกินไป รวมไปถึงการเพิ่มความจุของกระเพาะปัสสาวะ เพื่อให้ความถี่ในการเข้าห้องน้ำลดลง

  3. การฉีดยา ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการดื้อยา หรือยาไม่ตอบสนองต่ออาการ อาจจะต้องได้รับการตรวจ และเรียนรู้วิธีการสวนปัสสาวะด้วยตนเอง ในกรณีที่ปัสสาวะไม่ออก หรือปัสสาวะออกไม่หมด ซึ่งอาจนำไปสู่อาการติดเชื้อในระบบทางเดินปัสสาวะตามมาได้

  4. กระตุ้นด้วยกระแสไฟฟ้า เพื่อกระตุ้นการทำงานของเส้นประสาทที่ควบคุมการทำงานของระบบทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง หรืออาจจะทำการผ่าตัด แล้วฝังเครื่องกระตุ้นไฟฟ้าขนาดเล็กไว้ที่บริเวณสะโพก

  5. ผ่าตัดขยายขนาดกระเพาะปัสสาวะ โดยการเย็บลำไส้เล็กราว 10-15 เซนติเมตรต่อเข้ากับกระเพาะปัสสาวะเพื่อเพิ่มความจุในการกักเก็บปัสสาวะมากขึ้น แต่มีผลข้างเคียงมาก อาจต้องสวนปัสสาวะทิ้งในกรณีที่ยังมีปัสสาวะคั่งค้าง และมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะได้อีกด้วย

 

ใครที่มีอาการกลั้นปัสสาวะไม่อยู่ แนะนำให้รีบพบแพทย์ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง และรีบทำการรักษาอย่างทันท่วงที เพราะอ่านจบแล้วคงจะเริ่มเข้าใจถึงความลำบากของอาการนี้มากขึ้นแล้วใช่ไหมล่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook