แน่น-อึดอัดท้อง สัญญาณอันตราย “ม้ามโต”

แน่น-อึดอัดท้อง สัญญาณอันตราย “ม้ามโต”

แน่น-อึดอัดท้อง สัญญาณอันตราย “ม้ามโต”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

บางคนอาจเคยได้ยินอาการ “ม้ามโต” กันมาบ้าง แต่อาจไม่ทราบว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร มีอาการอย่างไร และอันตรายมากแค่ไหน เจ็บปวดมากน้อยแค่ไหน Sanook! Health มีคำตอบมาฝากค่ะ

 

ม้าม อยู่ตรงไหน? มีหน้าที่อะไร?

ม้าม เป็นอวัยวะที่มีลักษณะคล้ายถั่วแดง อยู่ทางด้านหลังข้างซ้ายของช่องท้อง ใต้กะบังลม และซี่โครง ทำหน้าที่ในการควบคุมปริมาณของเลือดในร่างกายให้คงที่ ดึงเอาฮีโมโกลบินของเซลล์เม็ดเลือดแดงออกมาใช้ในร่างกาย และยังนำเอาของเสียในรูปแบบของเหลวออกมาจากเลือดด้วยเช่นกัน (ออกมาพร้อมปัสสาวะ) นอกจากนี้ม้ามยังสร้างแอนตี้บอดี้ในการต่อต้านเชื้อโรค และผลิตเซลล์เม็ดเลือดแดงขึ้นมาใหม่ได้อีกด้วย

 maamistockphoto


ม้ามโต คืออะไร?

อาการม้ามโต เป็นอาการที่ม้ามมีความผิดปกติจากสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง จนทำให้มีอาการบวมโต จนอาจจะใหญ่มากเกินไปจนไปเบียดอวัยวะอื่นๆ และเป็นอันตรายต่อร่างกายได้

 

ม้ามโต มีสาเหตุมาจากอะไร?

อาการม้ามโต อาจมาจากหลายสาเหตุด้วยกัน อาทิ

- เป็นโรคที่เกี่ยวกับเลือด เช่น โรคธาลัสซีเมีย

- เป็นโรคที่เกี่ยวกับตับ เช่น โรคตับแข็ง ตับอักเสบ

- เป็นอาการข้างเคียงเพิ่มเติมจากโรคไข้จับสั่น

- อาการข้างเคียงหลังจากติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้ออีบีวี

- เป็นโรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว

- เป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง

เป็นต้น

 

ม้ามโต มีอาการอย่างไร มีสัญญาณอันตรายอะไรบ้าง

หากคุณมีอาการดังกล่าว และเป็นผู้มีความเสี่ยง จากการเป็นผู้ป่วยโรคต่างๆ ดังที่กล่าวไปข้างต้น อาจสันนิษฐานได้ว่า มีอาการม้ามโต

  1. อึดอัด แน่นท้อง

  2. หายใจเข้าออกลำบาก หายใจไม่สะดวก

  3. ตัวซีด มีรอยเลือดจ้ำๆ เป็นห้อเลือดจุดๆ ตามร่างกาย

  4. แขน และขาอ่อนเพลีย ไม่ค่อยมีแรง เหนื่อยง่าย

  5. เริ่มเป็นโรคอื่นๆ ตามมา เพราะภูมิคุ้มกันลดลง เป็นโรค และติดเชื้ออื่นๆ ได้ง่าย

 

วิธีป้องกันอาการม้ามโต

อาการม้ามโตไม่ใช่โรค เป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นตามสาเหตุที่กล่าวไว้ด้านบน ดังนั้นจึงอาจไม่มีวิธีป้องกันโดยตรงเช่นกัน แต่หากทราบว่าตัวเองมีโรคประจำตัวที่เสี่ยงต่อการมีอาการม้ามโต ควรสังเกตอาการของตัวเองให้ดี หากมีอาการ ตามสัญญาณอันตรายดังกล่าว ควรรีบพบแพทย์เพื่อทำการรักษาโดยด่วน อย่าปล่อยไว้นานจนทำให้การรักษาเป็นไปอย่างลำบากมากยิ่งขึ้น

 

แม้ว่าเราอาจจะยังสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้โดยที่ไม่มีม้าม แต่อย่างไรเราก็ควรจะรักษาสุขภาพม้ามให้แข็งแรง ทำงานอย่างเป็นปกติจะดีที่สุด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook