เบื่อ-เหนื่อย-ปลีกวิเวิก สัญญาณเตือนภาวะ “เบิร์นเอาท์ ซินโดรม”

เบื่อ-เหนื่อย-ปลีกวิเวิก สัญญาณเตือนภาวะ “เบิร์นเอาท์ ซินโดรม”

เบื่อ-เหนื่อย-ปลีกวิเวิก สัญญาณเตือนภาวะ “เบิร์นเอาท์ ซินโดรม”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วัยที่โรครุมเร้ามากที่สุดวัยหนึ่ง คงหนีไม่พ้นวัยทำงาน เพราะเป็นวัยที่ใช้ร่างกายเปลืองไปกับการทำมาหากิน ดูแลคนในครอบครัว สร้างความมั่นคงให้กับชีวิต ริเริ่มทำธุรกิจใหญ่ๆ ไหนจะผลกระทบที่เกิดขึ้นทางจิตใจในกรณีที่ประสบปัญหาในชีวิต

ดังนั้นคุณทราบหรือไม่ว่า ปัญหาทั้งจากการทำงาน และปัญหาส่วนตัวที่รบกวนจิตใจ ก่อให้เกิดภาวะ เบิร์นเอาท์ซินโดรม (Burn-out Syndrome) ได้

 

 เบิร์นเอาท์ซินโดรม คืออะไร?

ถ้าหากแปลตรงตัว อาการ Burn-out ก็หมายถึงภาวะ “หมดไฟ” นั่นเอง หมดไฟในการที่จะทำงาน หรือแม้กระทั่งหมดไฟในการจะทำกิจกรรมต่างๆ เบื่อหน่ายกับทุกเรื่องรอบตัวในชีวิต ไม่อยากทำอะไรทั้งนั้น แม้กระทั่งสิ่งที่ตัวเองเคยชอบ เคยสนใจ ก็กลับไม่รู้สึกตื่นเต้น ดีใจอะไรเหมือนเมื่อก่อน นอกจากสภาพจิตใจจะหดหู่ หงุดหงิดง่าย และไม่มีความสุขแล้ว ยังรวมไปถึงอาการทางร่างกายที่มีอาการอ่อนเพลีย เสียสมาธิง่าย ขาดปฏิสัมพันธ์กับคนรอบข้าง จนในที่สุดอาจนำไปสู่ปัญหาทางสุขภาพกาย และสุขภาพจิตอื่นๆ ต่อไปได้

 

เบิร์นเอาท์ซินโดรม มีสาเหตุมาจากอะไร?

เบิร์นเอาท์ซินโดรม เกิดจากการที่สมดุลชีวิตงาน และชีวิตส่วนตัวของเราไม่ปกติ เรียกง่ายๆ ว่า ทำงานหนักเกินไปจนเกิดความเหนื่อยล้าสะสม มีความตึงเครียด จนขาดความกระตือรือร้นในการทำงาน เพราะทำงานแล้วไม่มีความสุขนั่นเอง

 

สร้างสมดุลในชีวิตได้ง่ายๆ

เรื่องนี้นอกจากตัวของคุณเองแล้ว เพื่อนที่ทำงาน หัวหน้า คนในองค์กร รวมไปถึงเพื่อนสนิท คนในครอบครัว สามารถช่วยกันป้องกันแก้ และปัญหานี้ได้ง่ายๆ

- ดูแลสุขภาพให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยการเลือกทานผักผลไม้ให้มากขึ้น ควบคุมน้ำหนักไม่ให้เกินมาตรฐาน นอนหลับพักผ่อนอย่างเพียงพอ และตรวจสุขภาพอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันโรคที่จะเกิดขึ้นในอนาคต

- จัดตารางเวลาชีวิตอย่างมีเหตุผล เวลาทำงานควรทำงานให้เต็มที่ แต่ต้องกันเวลาบางส่วนไว้พักผ่อนอย่างเต็มที่ด้วยเช่นกัน นอกจากพักผ่อนกับตัวเองแล้ว ควรมีเวลาพักผ่อนสังสรรค์กับเพื่อน หรือคนในครอบครัวด้วย

- ออกกำลังกายเป็นประจำ บังคับให้ตัวเองลุกขึ้นมาออกกำลังกายให้ได้อย่างน้อย 2-3 วันต่อสัปดาห์ ครั้งละ 1 ชั่วโมงเป็นอย่างน้อย หากหาเพื่อนไปออกกำลังกายได้จะยิ่งดี นอกจากจะได้สุขภาพที่แข็งแรงขึ้นแล้ว ยั่วยผ่อนคลายความเครียดอีกด้วย

- เลือกทำกิจกรรมที่ชอบ สนใจ หรือกิจกรรมที่ผ่อนคลายจิตใจ เช่น ดูหนัง ฟังเพลง อ่านหนังสือที่ชอบ ทำบุญ บริจาคเงินหรือสิ่งของ ทำอาหาร ท่องเที่ยว และอื่นๆ ดึงสติของเราให้หยุดคิดเรื่องเครียดๆ ไปบ้าง

 

เมื่อไรก็ตามที่ชีวิตงาน และชีวิตส่วนตัวของเราสมดุลกัน ปัญหาทั้งทางด้านร่างกาย และจิตใจก็จะหมดไป ชีวิตที่ดีมีความสุข ไม่ได้เริ่มต้นจากปัจจัยนอก มันเริ่มมาจากตัวเราเองก่อนเป็นอันดับแรก ถ้าเราคิดบวก ทุกอย่างก็จะดีขึ้นตามลำดับค่ะ

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook