เลิกบุหรี่

เลิกบุหรี่

เลิกบุหรี่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

หากว่าไม่เลิกบุหรี่ จะเกิดอะไรบ้าง?

ในปัจจุบันมีคนไทยที่เสียชีวิตจากการสูบ บุหรี่ปีละกว่า 50,000 คน โดยคนไทยที่เสียชีวิตจากการสูบบุหรี่ โดยเฉลี่ยจะป่วยหนักเป็นเวลา 2 ปี ก่อนที่จะเสียชีวิต และเสียชีวิตเร็วกว่าคนที่ไม่สูบบุหรี่ โดยเฉลี่ยคนละ 12 ปี การสูบบุหรี่ทำให้เกิดโรคร้ายแรง ได้แก่ มะเร็ง 12 ชนิด โรคหัวใจ อัมพฤกษ์ อัมพาต โรคถุงลมปอดพอง ทั้งนี้ อันตรายของบุหรี่ไม่ใช่เพียงส่งผลต่อผู้สูบบุหรี่เท่านั้น ยังส่งผลต่อสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่บ้านเดียวกัน หรือเพื่อนร่วมงานที่ทำงานอยู่ในสถานที่เดียวกัน ผู้สูบบุหรี่จะป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบ มากกว่าเด็กที่ไม่อยู่ในบ้านดังกล่าว คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าปกติ 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 เท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี

 

การเลิกบุหรี่ส่งผลดี ดังนี้

  1. เลิกสูบภายใน 20 นาที ความดันโลหิตและอัตราการเต้นของหัวใจจะลดลง
  2. เลิกสูบภายใน 12 ชั่วโมง ระดับก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ในเลือดจะลดลงสู่ระดับปกติ ปอดเริ่มขจัดเสมหะ และสารเคมีออกจากร่างกาย
  3. เลิกสูบภายใน 48 ชั่วโมง นิโคตินจะถูกขับออกจากร่างกายจนหมด การรับรู้รสและกลิ่นจะกลับเป็นปกติ
  4. เลิกสูบภายใน 2-12 สัปดาห์ ระบบไหลเวียนเลือด และการทำงานของปอดจะดีขึ้น
  5. เลิกสูบภายใน 1 ปี โอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับคนที่สูบบุหรี่
  6. เลิกสูบภายใน 5 ปี โอกาสเกิดโรคหลอดเลือดสมองจะลดลงเหลือเท่ากับคนไม่สูบบุหรี่
  7. เลิกสูบภายใน 10 ปี โอกาสเกิดมะเร็งปอดจะลดลงครึ่งหนึ่ง เมื่อเทียบกับคนที่สูบบุหรี่ นอกจากนี้ยังลดโอกาสเกิดมะเร็งอื่นๆ
  8. เลิกสูบภายใน 15 ปี โอกาสเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือดจะลดลงเหลือเท่ากับคนที่เลิกบุหรี่

         ในปัจจุบันนี้มีผู้สูบบุหรี่เพิ่มขึ้นเรื่อย และแน่นอนว่าผู้ป่วยที่เป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่ก็มีมากขึ้นด้วย เช่นกัน โดยส่วนใหญ่โรคที่มีสาเหตุมาจากการสูบบุหรี่นั้นมักจะมีความร้ายแรงของโรค ถึงแก่ชีวิต ได้แก่

  • โรคมะเร็งปอด ถ้าหากแพทย์ตรวจพบเชื้อในระยะแรก และได้รับการผ่าตัดเอาก้อนมะเร็งออกได้หมด จะยังมีโอกาสหายขาดได้ แต่ผู้ป่วยส่วนใหญ่มักมาพบแพทย์และตรวจพบโรคในระยะที่สายเกินกว่าจะรักษา แล้ว ทำได้เพียงแค่การประคับประคองโรคและชีวิตให้อยู่กับโรคต่อไปได้นานที่สุด
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด เกิดจากสารพิษในบุหรี่ ทำให้หัวใจ หลอดเลือด กระเพาะอาหาร ลำไส้ และระบบประสาททำงานผิดปกติ นอกจากนี้การสูบบุหรี่ยังทำให้เกิดหลอดเลือดในสมองอุดตัน เป็นอัมพาต หลอดเลือดตามแขนขาอุดตัน เป็นแผลตามผิวหนังจากการขาดเลือด และมีการสะสมของไขมันตามผนังของหลอดเลือดขนาดกลางและใหญ่
  • โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง และถุงลมโป่งพอง เป็นโรค ที่พบบ่อยมากในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง และสาเหตุสำคัญที่สุดของการเกิดโรคนี้คือ การสูบบุหรี่ ผู้ป่วยจะมีอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะ เหนื่อยง่าย เมื่อเป็นแล้วไม่มีทางที่จะรักษาให้หายขาดได้ หากเป็นหนักมาก จะต้องดมออกซิเจน รอความตายอย่างทรมานในระยะ สุดท้าย ถ้าเลิกสูบบุหรี่ได้ อาจทำให้อาการดีขึ้น แต่ไม่หายขาด
  • โรคแผลในกระเพาะอาหาร ในปัจจุบันพบว่า มีผู้ที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารมากขึ้นถึง 2 เท่า ในกลุ่มผู้สูบบุหรี่ เพราะการสูบบุหรี่ ทำให้เกิดภาวะไม่สมดุลในการหลั่งของกรดและด่างในกระเพาะอาหาร

เลิกบุหรี่ด้วยวิธีง่ายๆ ได้อย่างไร?

  • เคี้ยวหมากฝรั่งหรือลูกอมที่มีกลิ่นสดชื่น จะช่วยให้คุณได้รับรู้ถึงความสดชื่นที่ปราศจากบุหรี่
  • คุณควรฝึกหยิบปากกา หรืออะไรก็ตามแทนบุหรี่ในเวลาที่คุณอยากสูบ ถ้าคุณหยิบปากกาก็ควรหาสมุดมาเขียนถึงเหตุผล ที่คุณอยากสูบบุหรี่ด้วย
  • พยายามหาอะไรทำอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้คุณรู้สึกไม่ว่างและไม่มีเวลาหยิบบุหรี่ขึ้นมาสูบ
  • ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แทนที่จะสูบบุหรี่หลังอาหารทันที ก็เปลี่ยนเป็นไปเดินย่อย หรือแปรงฟันแทน
  • ควรพาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่ห้ามสูบบุหรี่อยู่เสมอ
  • พยายามหลีกเลี่ยงที่จะใกล้ชิดกับคนสูบบุหรี่ และไม่พาตัวเองไปอยู่ในสถานที่ที่เต็มไปด้วยควันบุหรี่
  • เขียนป้ายเตือนใจในการสูบบุหรี่ติดไว้ในที่ที่คุณสามารถมองเห็นได้ชัด และมองเห็นอยู่ตลอดเวลา
  • ควรปรึกษาแพทย์เพื่อทำการรักษา
  • ดื่มน้ำเย็นมากๆ เพื่อทำให้คุณสดชื่นและสามารถขจัดนิโคตินให้ออกจากร่างกายได้
  • พยายามทำตัวให้กระฉับกระเฉงอยู่เสมอ หลีกเลี่ยงความเบื่อที่จะทำให้เหนื่อยง่าย
  • พักผ่อนให้เพียงพอในแต่ละวัน
  • พยายามผ่อนคลายความโกรธหรือความทุกข์ให้ได้
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

        วิธีการเลิกบุหรี่นั้น มีอยู่มากมายไม่รู้กี่ข้อ แต่สุดท้ายแล้ว ขึ้นอยู่กับใจและความสมัครใจของผู้สูบบุหรี่เป็นสำคัญ ถ้าหากคนรอบข้างสนับสนุนและช่วยเหลือให้ผู้สูบบุหรี่มีกำลังใจในการเลิก บุหรี่ และได้รับคำแนะนำในการเลิกบุหรี่ของแพทย์อย่างเหมาะสม จะทำให้การเลิกบุหรี่นั้นเป็นไปได้อย่างไม่ยากเลย

 info_stop_smoking_02

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook