พฤติกรรมเสี่ยง 3 โรครวด เบาหวาน-ความดัน-ไตวาย
3 โรคฮิตของคนกรุง โดยเฉพาะวัยทำงาน ที่หลายคนน่าจะรู้จักกันดี คงหนีไม่พ้นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไต ซึ่งทั้ง 3 นี้แม้ว่าจะมีปัจจัยมาจากพันธุกรรมด้วยส่วนหนึ่ง แต่จริงๆ แล้วสาเหตุหลักๆ ที่ทำให้ร่างกายเป็นโรคเหล่านี้ในสมัยนี้ มักมาจากพฤติกรรมในการกิน และการใช้ชีวิตที่ทำร้ายตัวเองอยู่ตลอดเวลาเป็นประจำ วันละนิดวันละหน่อยอย่างไม่ทันรู้สึกตัว
ซ้ำร้ายไปกว่านั้น แทนที่คนๆ หนึ่งจะเป้นเพียงโรคเดียว เดี๋ยวนี้มีแนวโน้วว่าผู้ป่วย 1 คน จะมีโรคประจำตัวมากกว่า 1 โรค โดยเฉพาะคอมโบเซ็ต 3 โรคที่กล่าวไปข้างต้น ที่มักจะมาพร้อมกัน หรือค่อยๆ เพิ่มเข้ามาทีละโรค หากเราไม่ดูแลตัวเองให้ดีขึ้น ยังใช้ชีวิตอยู่แบบเดิม หรือไม่เข้ารับการรักษากับแพทย์อย่างถูกวิธี
ประชากรชาวไทยร้อยละ 17.6 หรือราว 8 ล้านคน ประสบภาวะโรคไต และร้อยละ 70 ของผู้ป่วยโรตไตเกิดจากโรคเบาหวาน และความดันโลหิตสูง ซึ่งทั้งหมดทั้งมวลทุกโรคที่กล่าวมา ล้วนแล้วแต่มาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของตัวคุณเองทั้งนั้น ทั้ง 3 โรคนี้อยู่ในกลุ่มของโรค NCDs หรือกลุ่มโรคไม่ติดต่อ ที่เกิดจากความเครียด และพฤติกรรมการใช้ชีวิตแบบผิดๆ
พฤติกรรมเสี่ยงโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และโรคไต
- ทานอาหารรสจัด หวานจัด เปรี้ยวจัด เค็มจัด เผ็ดจัด
- ความเครียดสะสม ใช้ชีวิตเร่งรีบ
- รับประทานอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการต่ำ เช่น อาหารฟาสฟู้ด อาหารกระป๋อง อาหารสำเร็จรูป
- พักผ่อนไม่เพียงพอ
iStock
ชีวิตดี เริ่มต้นจากการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการกิน
ทิ้งความอยาก ความอร่อยที่ตามใจปากออกไป แล้วมาลองทานอาหารตามนี้ดู รับรองว่าคุณจะสังเกตถึงการเปลี่ยนแปลงในร่างกายของคุณในเร็ววันแน่นอน
- ในหนึ่งมื้อ ให้ครึ่งหนึ่งเป็นผักหรือผลไม้สด อีกครึ่งหนึ่งเป็นโปรตีนไขมันต่ำ ลดแป้ง เช่น ส้มตำ (รสไม่จัด) ทานกับไข่ตุ๋น และต้มจืดมะระ
- โปรตีนที่ทาน มาจากกรรมวิธีต้ม นึ่ง ตุ๋น ไม่ใช้วิธีผัด หรือทอด เช่น อกไก่นึ่ง ไข่ตุ๋น ปลานึ่ง
- หากอยากทานอาหารประเภทผัดแบบเร็วๆ สามารถใช้น้ำมันมะกอก (ที่ไม่ใช่แบบ Extra Virgin ที่ทนความร้อนไม่ได้) ผัดในกระทะเทฟล่อนที่ไม่ติดกระทะ ใช้น้ำมันน้อยๆ ได้ หรืออาจจะผัดกับน้ำ เพื่อทำให้สุกโดยไม่ต้องใช้น้ำมันได้
- อย่าเผลอทานโปรตีนมากเกินไป (มากกว่าผักผลไม้ หรือทานแต่โปรตีนอย่างเดียว) เพราะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงให้ไตเสื่อมลงได้เช่นกัน วันหนึ่งๆ สำหรับวัยนหุ่ม ใช้พลังงานเยอะ ควรทานโปรตีนไม่เกิน 500 กรัม หรือครึ่งกิโลกรัม รวมหมดทั้งเนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว เห็ด และอื่นๆ ที่มีโปรตีนเป็นส่วนประกอบสำคัญ หากวันๆ ใช้พลังงานน้อย หรือเป็นผู้สูงอายุ สัดส่วนในการทานโปรตีนก็ต้องน้อยลงไปอีก เพราะฉะนั้นให้ไปเน้นที่ผักผลไม้แทน
- ลดแป้ง และน้ำตาล ที่มาจากอาหารคาว อาหารหวาน
- เลือกทานผักผลไม้อย่างหลากหลาย เปลี่ยนไปเรื่อยๆ ไม่ควรทานผักผลไม้แบบเดิมซ้ำๆ เพื่อให้ได้คุณค่าทางสารอาหารที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
- ยังมีความจำเป็นที่จะต้องทานอาหารให้ครบ 5 หมู่อยู่ แต่ลด หรือจำกัดอาหารประเภทแป้ง น้ำตาล ไขมัน (ไม่ดี) เท่านั้น (ในกรณีที่ยังไม่เป็นโรคอะไร)