จริงหรือไม่? “ทุเรียนเผา” เมนูอันตราย เสี่ยงเสียชีวิต?

จริงหรือไม่? “ทุเรียนเผา” เมนูอันตราย เสี่ยงเสียชีวิต?

จริงหรือไม่? “ทุเรียนเผา” เมนูอันตราย เสี่ยงเสียชีวิต?
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เมนูใหม่มาอีกแล้วสำหรับคนรักทุเรียน “ทุเรียนเผา” (ทั้งเปลือก) ทุเรียนหวานๆ ร้อนๆ เขาว่ากันว่าด้วยความที่มันร้อนๆ เลยทำให้ทุเรียนมีความหวานมัน อร่อยกลมกล่อมยิ่งขึ้น และกลิ่นเหม็นๆ ก็น้อยลงด้วย ใครเคยได้ชิมมารสชาติเป็นยังไงก็บอกเราด้วยแล้วกัน

แต่ประเด็นคือ มีหลายคนออกมาเตือนว่า ทุเรียนเผาอันตรายต่อร่างกายมากๆ เพราะมีข่าวว่าคุณป้าวัย 62 ปีทานทุเรียนเผาเข้าไปทั้งลูก ตกกลางคืนหายใจไม่ออกจนเสียชีวิต โดยอ้างว่าเป็นเพราะความร้อนจากกรดของกำมะถันในทุเรียนเผา ที่ทำให้ร่างกายสะสมความร้อนมากเกินไปจนเสียชีวิต

อันที่จริงแล้ว การทานทุเรียนเผา ไม่ได้อันตรายมากขึ้นไปกว่าการทานทุเรียนสดธรรมดาๆ เลยค่ะ และสาเหตุการเสียชีวิตของคุณป้าท่านนั้น น่าจะมาจากการทานทุเรียนในปริมาณที่มากเกินไปในคราวเดียวกันมากกว่า จึงเป็นสาเหตุให้น้ำตาลในเลือดสูงขึ้นแบบเฉียบพลัน

ส่วนทุเรียนเผา จะอันตรายมากไปกว่าทุเรียนสดธรรมดาๆ ก็ต่อเมื่อทำการเผาผ่านเนื้อพูตรงๆ ไม่ได้ผ่านเปลือกแหลมๆ หนาๆ การเผาเนื้อทุเรียนโดนตรงจะทำให้เนื้อทุเรียนไหม้เกรียม จนกลายเป็นสารพิษที่ก่อมะเร็งได้ แบบเดียวกันกับเนื้อไหม้เกรียมจากการปิ้งย่างนั่นเอง

นอกจากนี้ ทุเรียน ไม่สามารถลดความอ้วนได้ เนื่องมาจากน้ำตาลปริมาณสูงในทุเรียน ทำให้ทุเรียนเป็นผลไม้ที่มีพลังงานสูง ทุเรียน 2 พู เท่ากับข้าว 3-4 ทัพพี ดังนั้นใครก็ตามที่อยากลดน้ำหนัก รวมไปถึงผู้ป่วยที่ต้องควบคุมอาหารอย่าง ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ฯลฯ ควรจำกัดปริมาณในการทานให้ดี และปรึกษาแพทย์ประจำตัวก่อนทาน เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมในการทานของแต่ละคนค่ะ

 

อาการที่บ่งบอกว่าน้ำตาลในเลือดกำลังสูงขึ้น

  1. หิวน้ำมาก ดื่มน้ำเยอะกว่าปกติ

  2. ปัสสาวะบ่อย และครั้งละมากๆ

  3. อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย น้ำหนักลด

  4. อาจมีอาการตาพร่ามัว มองเห็นไม่ชัด

  5. ซึม หมดสติ และอาจมีอาการชัก เกร็ง

  6. หากมีอาการหนักมากๆ อาจถึงขั้นเสียชีวิตได้

 

รู้อย่างนี้แล้ว ก็สามารถทานทุเรียนกันต่อไปได้ แต่ไม่ควรทานมากจนเกินไป 2-3 พูต่อวันยังพอไหว (ในคนที่ร่างกายปกติ ไม่ได้มีโรคประจำตัวอะไร) ทานแล้วไปออกกำลังกายด้วย ส่วนใครที่มีโรคประจำตัว ก็ควรปรึกษาคุณหมอประจำตัว เพื่อหาปริมาณที่เหมาะสมในการทานค่ะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook