9 อาหารต้านมะเร็ง ยิ่งกินยิ่งดีต่อสุขภาพ
โรคมะเร็งเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของไทย มี 2 ปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญจากสิ่งแวดล้อมภายนอกร่างกาย คือ
- สารก่อมะเร็งที่ปนเปื้อนในอาหาร อากาศ เครื่องดื่ม รวมถึงการได้รับรังสี เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย และพยาธิบางชนิดและปัจจัยจากภายในร่างกาย เช่น ความผิดปกติทางพันธุกรรมความบกพร่องของระบบภูมิคุ้มกันและภาวะทุพโภชนา เป็นต้น
- กลุ่มโรคที่เกิดจากเซลล์ของร่างกาย มีความผิดปกติที่ DNA หรือสารพันธุกรรม ส่งผลให้เซลล์มีการเจริญเติบโตแบ่งตัวเพิ่มจำนวนเซลล์อย่างรวดเร็ว และมากกว่าปกติ จึงอาจทำให้เกิดก้อนเนื้อผิดปกติและทำให้เกิดการตายของเซลล์ในก้อนเนื้อเนื่องจากขาดเลือดไปเลี้ยงถ้าเซลล์พวกนี้เกิดอยู่ในอวัยวะใดจะเรียกชื่อ มะเร็ง ตามอวัยวะนั้นเช่น มะเร็งปอด มะเร็งสมอง มะเร็งเต้านม มะเร็งปากมดลูก มะเร็งเม็ดเลือดขาว มะเร็งต่อมนํ้าเหลือง และมะเร็งผิวหนัง เป็นต้น
การรักษามะเร็งแต่ละชนิดจะมีวิธีการรักษาที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอวัยวะที่เป็นมะเร็ง ระยะของมะเร็ง สภาพร่างกายของผู้ป่วยมะเร็ง การรักษาจะยากหรือง่ายก็ขึ้นอยู่กับชนิดของเซลล์มะเร็งและการดำเนินโรค
อาหารมีส่วนสัมพันธ์กับการเกิดโรคมะเร็งประมาณ 30-50% โดยเฉพาะอาหารที่มีราสีเขียว-สีเหลืองขึ้น อาหารที่มีไขมันสูง อาหารเค็มจัดส่วนไหม้เกรียมของอาหารปิ้ง ย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือ ดินประสิวอาหารจำพวกนี้จะมีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดมะเร็งการเลือกทานอาหารที่ดีมีประโยชน์จะช่วยให้สุขภาพแข็งแรง ลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่างๆ รวมถึงโรคมะเร็ง
ดังนั้นขอแนะนำ 9 เคล็ดลับอาหารต้านมะเร็ง ได้แก่
- กินผักหลากสีเช่น มะเขือเทศฟักทอง แครอท คะน้า บล็อคโคลี่ ผักบุ้ง กวางตุ้ง ตำลึง กะหลํ่าสีม่วง มะเขือม่วง ผักกาดขาว ดอกแค เป็นต้น
- ควรทานผลไม้ที่มีวิตามินและ แร่ธาตุหลากหลายชนิดที่มีประโยชน์ต่อร่างกาย
- อาหารธัญพืชและเส้นใย ธัญพืชเต็มเมล็ด คือ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสีหรือขัดสีน้อยที่สุดทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสูง ได้แก่ข้าวกล้อง ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ ลูกเดือยเป็นต้น
- เครื่องเทศมีสรรพคุณลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งและกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันได้
- เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น ชาเขียว นํ้าแครอท นํ้าส้ม นํ้าขิง เป็นต้น
- ปรุงอาหารอย่างถูกวิธี หลีกเลี่ยงการปิ้งย่างจนไหม้เกรียมและอาหารแบบดิบๆ สุกๆ โดยเฉพาะปลานํ้าจืดที่มีเกล็ด ไม่ใช้นํ้ามันทอดซํ้าหลายๆ ครั้ง
- หลีกเลี่ยงอาหารไขมัน ได้แก่ไขมันอิ่มตัวเช่น กะทิ เนย ไขมันสัตว์
- ลดบริโภคเนื้อแดง ควรจำกัดการรับประทานเนื้อแดงให้เหลือเพียงสัปดาห์ละ 500 กรัม
- เกลือแกงอาหารหมักดองต้องน้อยลง ในวันหนึ่งๆควรบริโภคเกลือไม่เกินวันละ 6 กรัม ทั้งนี้ ควรเลือกทานอาหารหลากหลายครบ 5 หมู่หลีกเลี่ยงอาหารที่มีสารก่อมะเร็ง ไม่ดื่มสุรา ไม่สูบบุหรี่ ออกกําลังกายสมํ่าเสมอ พักผ่อนให้เพียงพอ และไม่เครียด