5 วัคซีนสำหรับวัยรุ่น-ผู้ใหญ่ตอนต้น เพื่อป้องกัน 9 โรคร้าย

5 วัคซีนสำหรับวัยรุ่น-ผู้ใหญ่ตอนต้น เพื่อป้องกัน 9 โรคร้าย

5 วัคซีนสำหรับวัยรุ่น-ผู้ใหญ่ตอนต้น เพื่อป้องกัน 9 โรคร้าย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ ทั่วโลก โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศที่พัฒนาแล้ว ต่างให้ความสนใจและสนับสนุนการให้วัคซีนป้องกันโรคแก่บุคคลในกลุ่มอายุต่างๆ มากขึ้น  อย่างไรก็ตามพบว่าอัตราการให้วัคซีนแก่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น (หรืออายุระหว่าง 9-26 ปี) ยังต่ำอยู่ ทำให้คนในวัยนี้มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคบางชนิดมากขึ้น

ในฐานะผู้ให้บริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้กับคนไทยมากว่า 95 ปี สถานเสาวภา สภากาชาดไทย จึงรณรงค์ให้ผู้ที่อยู่ในช่วงวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นตระหนักถึงความจำเป็นของการรับวัคซีนเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกัน ตลอดจนลดความรุนแรงของโรค ลดการแพร่เชื้อไปยังคนใกล้ตัว และลดอัตราการเสียชีวิตจาก 9 โรคร้ายซึ่งสามารถป้องกันได้ตามคำแนะนำการให้วัคซีนป้องกันโรคโดยราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทยในปี 2557

วัคซีนที่แนะนำให้ฉีดทั้ง 5 ชนิด ซึ่งป้องกันได้ทั้งหมด 9 โรคสำหรับวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้น ประกอบด้วย

  • วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก 

  • วัคซีนป้องกัน คอตีบ-ไอกรน-บาดทะยัก 

  • วัคซีนป้องกันเอชพีวี  

  • วัคซีนป้องกัน หัด-หัดเยอรมัน-คางทูม 

  • วัคซีนป้องกันอีสุกอีใส 

 vaccines-2iStock

สาเหตุที่วัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นควรฉีดวัคซีนทั้ง 5 ชนิดนี้ เนื่องจาก

ประการแรก แม้เคยรับวัคซีนแล้วในตอนเด็ก แต่ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากวัคซีนบางชนิดอาจลดลงตามกาลเวลาเนื่องจากวัยรุ่นไม่มีการพบแพทย์ เนื่องจากมักมีสุขภาพดี และไม่มีโปรแกรมการนัดฉีดวัคซีนชัดเจนเหมือนในเด็กเล็ก จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น

อย่างเช่นโรคบาดทะยัก ซึ่งมีแนวโน้มว่าภูมิคุ้มกันเริ่มลดลงในช่วงอายุ 15-30 ปีจากไม่ได้รับการฉีดกระตุ้นในช่วงวัยรุ่น หรือโรคคอตีบ ซึ่งเคยพบมีการระบาดและพบว่าผู้ป่วยเป็นในกลุ่มเด็กอายุ 5-14 ปี และผู้ใหญ่อายุมากกว่า 15 ปี โดยอัตราเสียชีวิตก็สูงขึ้นเมื่อเทียบกับในอดีต รวมถึงโรคไอกรนที่มีรายงานในต่างประเทศว่าพบอัตราการเกิดโรคสูงขึ้นในทั้งเด็กโตและวัยรุ่น

ประการที่สอง แพทย์อาจเข้าใจว่าผู้ป่วยเคยรับวัคซีนมาแล้วตั้งแต่ในวัยเด็กทั้งที่แท้จริงยังไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนจึงไม่ได้ให้วัคซีน หรือเคยได้รับวัคซีนไปแล้วแต่ไม่ได้ผล เช่น ปรากฏรายงานผู้ป่วยโรคหัดที่เคยมีประวัติฉีดวัคซีนมาก่อน จึงจำเป็นต้องฉีดวัคซีนป้องกัน หัด หัดเยอรมัน คางทูม ซ้ำเพื่อให้มีภูมิต้านทาน โรคหัดเยอรมันซึ่งหากหญิงมีครรภ์ได้รับเชื้อ เด็กที่เกิดมาอาจเป็นหัดเยอรมันโดยกำเนิดได้ แม้ว่าภูมิต้านทานที่เกิดจากการฉีด

ประการที่สาม โรคบางชนิดอาจมีโอกาสติดเชื้อเพิ่มขึ้นหรือรุนแรงขึ้นเมื่อมีการติดเชื้อในวัยรุ่นหรือผู้ใหญ่ เช่น การติดเชื้อไวรัสเอชพีวี ซึ่งติดต่อได้จากการมีเพศสัมพันธ์และอาจนำไปสู่การป่วยเป็นมะเร็งปากมดลูก และบางโรคอาจรุนแรงหรืออาจเกิดภาวะแทรกซ้อนมาก เช่น โรคสุกใส ที่พบว่าผู้ใหญ่และหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสเกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรงได้มากกว่าในเด็ก

ประการที่สี่ นวัตกรรมการแพทย์มีการพัฒนามากขึ้นและทำให้มีการพัฒนาวัคซีนใหม่ๆ ที่ป้องกันโรคติดเชื้อที่มีความสำคัญ เช่น วัคซีนป้องกันไข้เลือดออก ที่เพิ่งได้รับการขึ้นทะเบียนในประเทศไทยเมื่อเดือนตุลาคม 2559 เนื่องจากไข้เลือดออกเป็นโรคที่ไม่สามารถคาดเดาความรุนแรงของอาการได้และยังไม่มียารักษาโดยตรง ซึ่งนอกจากเป็นการป้องกันตนเองจากอันตรายของโรคแล้ว ยังเป็นการลดโอกาสแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่น 

ยิ่งกว่านั้นการฉีดวัคซีนบางชนิดในวัยรุ่นและผู้ใหญ่ตอนต้นยังสามารถป้องกันการแพร่โรคไปยังบุคคลใกล้ชิดโดยเฉพาะผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำที่จะได้รับอันตรายจากติดเชื้อ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ และหญิงมีครรภ์

หากประชากรกลุ่มนี้ไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่อมีการติดเชื้อจากโรคดังกล่าว แม้บางครั้งอาการอาจไม่รุนแรง แต่ความเสี่ยงที่จะเป็นอันตรายตามมาคือ การเป็นพาหะแพร่เชื้อให้คนใกล้ชิด โดยเฉพาะผู้ที่ที่มีภูมิต้านทานโรคต่ำ เด็กเล็ก หญิงมีครรภ์ และผู้สูงอายุ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook