ปวดแบบไหน สัญญาณอันตราย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
“ออฟฟิศซินโดรม” กลายเป็นคำคุ้นหูคุ้นปากมากขึ้นกว่าแต่ก่อน หากย้อนกลับไป 4-5 ปีที่แล้วอาจจะยังเป็นเรื่องใหม่ หรือไม่ค่อยมีใครพูดถึง แต่ตอนนี้กลับกลายเป็นโรคสามัญประจำออฟฟิศที่ถึงขั้นพบพนักงานออฟฟิศเป็นโรคเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมอย่างน้อย 1 ใน 10 เลยทีเดียว
ปวดหลัง ปวดไหล่ ปวดคอ ใครๆ ก็ปวดได้ถ้าอยู่ในช่วงทำงานหนัก แต่ปวดแบบไหนที่เป็นสัญญาณอันตรายว่าเราอาจเสี่ยงอยู่ในอาการ “หมอนรองกระดูกเสื่อมทับเส้นประสาท”
อ่านต่อ >> 5 พฤติกรรมเสี่ยง “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
ปวดแบบไหน สัญญาณอันตราย “หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท”
- ปวดบริเวณคอ หลัง อก เอว หลังช่วงล่าง หรือบริเวณไหล่ที่เชื่อมกับคอ โดยปวดแบบจิ๊ดๆ เหมือนไฟฟ้าช็อต หรืออาจจะปวดจนสะดุ้งเบาๆ
- ระยะเวลาในการปวด จะเป็นๆ หายๆ มากกว่า 2 สัปดาห์ขึ้นไป
- อาจจะปวดทั่วแผ่นหลัง หรือปวดมากขึ้นบริเวณบั้นเอว หลังช่วงล่าง ยาวไปจนถึงขา
- อาการปวดรบกวนการใช้ชีวิต ขยับร่างกายก็ปวด นอนก็ปวด
iStock
ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
- อายุมากขึ้น เมือกใสๆ ในหมอนรองกระดูกก็เริ่มเสื่อมสภาพ
- ยกของหนักมากเกินไป หรือยกของหนักด้วยท่าทางที่ไม่ถูกต้อง
- การเล่นกีฬาที่มีการกระแทกซ้ำๆ
- เคลื่อนไหวผิดท่าอย่างแรง/โดยฉับพลัน
- น้ำหนักที่มากขึ้น จนเข้าสู่ภาวะโรคอ้วน ทำให้หมอนรองกระดูกต้องรับน้ำหนักมาก
- นั่งทำงานอยู่ในท่าเดิมๆ อยู่เป็นเวลานาน ไม่ได้ขยับเขยื้อนร่างกาย
วิธีป้องกันหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท
นอกจากจะต้องระมัดระวังในการขยับร่างกาย งดเว้นการยกของหนัก และปรับเปลี่ยนอิริยาบถระหว่างนั่งทำงานแล้ว การออกกำลังกายเป็นประจำ จะช่วยยืดอายุของหมอนรองกระดูกให้ยังแข็งแรง ไม่เสื่อมได้ง่ายๆ อีกด้วย