อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง ที่ไม่ได้มีแค่ “หูตึง”

อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง ที่ไม่ได้มีแค่ “หูตึง”

อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง ที่ไม่ได้มีแค่ “หูตึง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ระหว่างเดินทาง ระหว่างทำงาน ระหว่างออกกำลังกาย หรือระหว่างทำกิจกรรมยามว่างต่างๆ การฟังเพลงผ่านหูฟังเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่คนสมัยนี้ขาดไม่ได้ วันไหนไม่ได้หยิบมาจากบ้านคงจะหงุดหงิดน่าดู เพราะคนไทยชอบฟังเพลง ฟังกันได้ทุกวัน ทุกที่ ทุกเวลา

แต่การใช้หูฟังฟังเพลงอย่างไม่ระมัดระวัง หรือแม้กระทั่งการใช้สมอลทอล์คคุยโทรศัพท์นานๆ อาจทำให้คุณกลายเป็นคน “หูตึง” ได้อย่างไม่ทันตั้งตัว

 earphoneiStock

 

อันตรายจากการใช้หูฟัง

- หูตึงเร็วขึ้น แทนที่จะรอให้แก่ตัวลงแล้วค่อยหูตึง คนไทยเริ่มหูตึง หรือเริ่มฟังไม่ค่อยได้ยินในอายุที่น้อยลงเรื่อยๆ

- ทำให้เราไม่ระมัดระวังตัวเอง เพราะเราไม่ได้ยินเสียงรอบข้าง จึงเป็นช่องโหว่ที่โจรอาจจะเข้ามาขโมย หรือทำร้าย หรือหากใส่หูฟังขณะวิ่ง เดินริมถนน อาจมีเหตุอันตราย เช่น รถพุ่งเข้ามาเฉียดชน โดยที่เราอาจจะหนีไม่ทันเพราะไม่ได้ยิน

 

ใช้หูฟังแบบไหน เสี่ยงหูตึงที่สุด

ปัจจุบันมีหูฟังหลายประเภทให้เลือกใช้ ประเภท in-ear หรือแบบที่มีจุกเข้าไปอุดในรูหู เป็นที่นิยมที่สุด เพราะทำให้ได้ยินเสียงชัดเจน ไม่มีเสียงรบกวน แต่การใช้หูฟังประเภทนี้ก็อาจทำให้มีความเสี่ยงที่จะหูตึงได้ง่ายกว่าหูฟังประเภทอื่นๆ รวมไปถึงอันตรายภายนอกจากการที่ไม่ได้ยินเสียงรอบข้างอีกด้วย

 headphoneiStock

 

อันตรายจากการฟังเพลงเสียงดัง

จริงๆ แล้วอาจจะไม่ใช่เพลงก็ได้ อาจจะเป็นเสียงอื่นๆ แต่ส่วนใหญ่การที่เราจะทนฟังเสียงดังๆ เป็นระยะเวลานานๆ เพลงก็เป็นส่วนสำคัญที่อาจทำร้ายสุขภาพของเราได้

นอกจากหูตึงแล้ว ยังมีอันตรายอีกหลายอย่างที่เกิดขึ้นจากการฟังเสียงดังๆ นานๆ เช่น ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นไม่ปกติ ซึ่งกำลังมีผู้ป่วยทั่วโลกที่เข้ารับการรักษาอาการผิดปกติเหล่านี้จากการใช้หูฟังนับล้านคน อีกทั้งในประเทศเบลเยี่ยมมีผู้ป่วยรายหนึ่งที่มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก ปอดแฟ่บเนื่องจากเนื้อปอดไม่สามารถขยายได้เหมือนปกติ จนอาจส่งผลให้ถุงลมในปอดแตก และเสียชีวิตเลยทีเดียว


ระดับความดังของเสียงต่างๆ

(ระดับปลอดภัยคือ ไม่เกิน 85 เดซิเบล)

- การจราจรบนนถนน = ไม่เกิน 85 เดซิเบล

- เลื่อยไฟฟ้า = 90 เดซิเบล

 - เจ็ทสกี = 100 เดซิเบล

- คอนเสิร์ต หรือสถานที่เที่ยวกลางคืน = 105-120 เดซิเบล

- เปิดวิทยุดังๆ ในรถยนต์ = อาจมากถึง 120 เดซิเบลได้

- เสียงกระสุนปืน เมื่อยืนห่างจากจุดลั่นไกราว 2-3 ฟุต = 140 เดซิเบล ซึ่งเป็นระดับที่ทำให้เกิดอาการปวดหูในบางคนได้

 

ดังนั้น การใช้หูฟังแต่พอดี เลือกเปิดเสียงไม่ดังเกิน 85 เดซิเบล หรือเปิดเสียงดังไม่เกิน 70% ของระดับเสียงในมือถือ หรือเครื่องเล่นเพลงที่ใช้ประจำ ทดสอบโดยเปิดฟังแล้วพอจะได้ยินเสียงรอบข้างบ้าง เลือกใช้หูฟังประเภท ear bud หรือครอบหูแบบที่ไม่ครอบทั้งใบหู หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่เสียงดังนานๆ หรือหากจำเป็นต้องทำงานในพื้นที่เสียงดัง ควรใช้ที่อุดหู เพื่อถนอมสุขภาพหู รวมไปถึงถนอมสุขภาพของตัวเองไปด้วย

อ่านต่อ >> วิธีสังเกตอาการ “หูตึง” ด้วยตัวเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook