“เป็นโสด” เสี่ยงอัลไซเมอร์มากถึง 42 %

“เป็นโสด” เสี่ยงอัลไซเมอร์มากถึง 42 %

“เป็นโสด” เสี่ยงอัลไซเมอร์มากถึง 42 %
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผลการวิจัยล่าสุดที่เผยแพร่ในงานประชุมสมาคมอัลไซเมอร์นานาชาติ ที่กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ พบว่า การครองตัวเป็นโสด เพิ่มความเสี่ยงต่อการเป็นโรคสมองเสื่อมได้ เช่นเดียวกับแม่ม่ายที่ไม่ได้แต่งงานใหม่

โดยผู้เชี่ยวชาญจากมหาวิทยาลัยคิงส์ คอลเลจ ลอนดอน และกองทุนหลักประกันสุขภาพของอังกฤษ ร่วมกันวิจัยผลการศึกษาที่ผ่านมา 14 ชิ้น และพบว่า คนที่อยู่เป็นโสดมีความเสี่ยงเป็นโรคสมองเสื่อมมากถึง 42 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับคนที่แต่งงานมีคู่ชีวิต

ขณะที่แม่ม่ายซึ่งไม่ได้แต่งงานใหม่ มีโอกาสเป็นโรคสมองเสื่อมได้ถึง 1 ใน 4  แต่กลับไม่พบว่าผู้ที่หย่าร้างมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นแต่อย่างใด ซึ่งปกติแล้วอาการสมองเสื่อมมักจะเกิดขึ้นกับผู้สูงวัยที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไป

ดอกเตอร์ลอร่า ฟิปป์ส จากสถาบันวิจัยอัลไซเมอร์ของอังกฤษ วิเคราะห์ว่า จากผลวิจัยดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าคนที่แต่งงานมีสุขภาพที่ดีกว่า อันเนื่องมาจากหลายปัจจัย  ซึ่งส่วนใหญ่คู่ที่แต่งงานกันมักจะมีฐานะการเงินหรือความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น

อีกทั้งยังช่วยดูแลสุขภาพซึ่งกันและกัน  รวมถึงได้มีปฏิสัมพันธ์กันทางสังคมมากกว่าการครองตัวเป็นโสดด้วย ซึ่งถือว่าช่วยเพิ่มศักยภาพการทำงานของสมองให้ใช้งานได้ยาวนานยิ่งขึ้น  ขณะที่คนโสดหรือแม่ม่าย มักมีปฏิสัมพันธ์ทางสังคมที่น้อยกว่าเมื่อมีอายุที่มากขึ้น

อย่างไรก็ตาม หากดูแลสุขภาพให้ดีทั้งร่างกายและจิตใจ มีการเข้าสังคมพบปะกับผู้คนอยู่เสมอ ก็จะช่วยให้ห่างไกลจากโรคสมองเสื่อมได้ โดยไม่จำเป็นต้องสนใจเรื่องสถานภาพว่าแต่งงานหรือเป็นโสดแต่อย่างใด

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook