5 ความเสี่ยง ติดเชื้อ HPV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด

5 ความเสี่ยง ติดเชื้อ HPV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด

5 ความเสี่ยง ติดเชื้อ HPV โรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่พบบ่อยที่สุด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นอกจากโรคเอดส์แล้ว ยังมีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์อีกมากที่อันตรายไม่แพ้กัน โดยเฉพาะเชื้อ HPV ถือว่าเป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่งที่พบผู้ป่วยติดเชื้อบ่อยที่สุดในอเมริกา และแน่นอนว่าในเมืองไทยก็พบบ่อยไม่แพ้กัน หากไม่อยากให้การมีเพศสัมพันธ์อันแสนสุขเป็นเรื่องทรมานของคุณไปอีกนานแสนนาน

 

เชื้อ HPV คืออะไร?

เชื้อ HPV เป็นเชื้อไวรัสชนิดหนึ่ง ที่สามารถพบได้ในเยื่อบุผิวหนัง และในเยื่อมูกที่ปกคุลมอยู่ในหลายๆ ส่วนของร่างกาย เช่น ภายในจมูก ปาก ลำคอ ด้านในของเปลือกตา ด้านในของผิวหนัง และท่อปัสสาวะที่องคชาติ ช่องคลอด ปากมดลูก อวัยวะเพศภายนอก และทวารหนัก

 

การติดต่อของเชื้อ HPV

เชื้อไวรัสก็เหมือนหวัดที่สามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้ แต่สำหรับเชื้อ HPV ไม่ได้คติดกันง่ายขนาดที่จามใส่หน้ากันแล้วติดเชื้อ แต่เป็นการมีเพศสัมพันธ์กับคนที่มีเชื้อไวรัสตัวนี้ ไม่ว่าจะเป็นการสอดใส่ทางช่องคลอดตามปกติ การร่วมเพศทางปาก หรือทางทวารหนัก รวมไปถึงการสัมผัมอวัยวะเพศภายนอกของฝ่ายที่ติดเชื้อด้วย

นอกจากนี้ เพศหญิงที่ติดเชื้อ HPV ขณะตั้งครรภ์ โอกาสที่เด็กจะคลอดออกมาแล้วติดเชื้อ HPV ผ่านทางช่องคลอดมาด้วย ก็มีความเป็นไปได้เช่นเดียวกัน

 

ติดเชื้อ HPV มีอาการอย่างไร?

ส่วนใหญ่หากเป็นฝ่ายหญิงที่ติดเชื้อ HPV มักไม่มีอาการอะไรเป็นที่น่าสังเกตชัดเจน แต่ผู้ป่วยติดเชื้อ HPV บางส่วนอาจมีหูดขึ้นที่ผิวหนัง โดยสามารถพบได้ตามแขน หน้า หน้าอก หรือที่พบได้บ่อยจะเป็นบริเวณรอบๆ อวัยวะเพศ การติดเชื้อก็มาจากการสัมผัสกับหูดเหล่านี้ แต่มักเป็นการสัมผัสที่ค่อนข้างแนบชิด และส่วนใหญ่จะติดเชื้อจากการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่ติดเชื้อทุกช่องทาง (ช่องคลอด ปาก ทวารหนัก) จะพบส่วนน้อยที่ติดเชื้อผ่านหูดบนผิวหนัง แล้วผ่านเข้าสู่ร่างกายทางปากโดยการอมนิ้ว กัดเล็บ

 

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ HPV

1.มีเพศสัมพันธ์กับคู่นอนหลายคน

2. มีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีคู่นอนหลายคน

3. มีเพศสัมพันธ์โดยที่ฝ่ายชายไม่ใช้ถุงยางอนามัย (สามารถลดการติดเชื้อได้ แต่ไม่ 100%)

4. เริ่มมีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุยังไม่ถึง 16 ปี

5. สูบบุหรี่ เป็นการทำลายภูมิคุ้มกันป้องกันเชื้อไวรัสอย่างร้ายแรง

 

 

โรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นเมื่อติดเชื้อ HPV

ปกติแล้วหากติดเชื้อ HPV ไม่รุนแรง หรือไม่ได้เกิดความผิดปกติอะไร เมื่อร่างกายสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาอย่างเพียงพอ การติดเชื้อก็อาจจะหายได้เองภายใน 2 ปี แต่หากเป็นส่วนน้อยที่ทำให้เกิดโรคอื่นๆ ตามมา ก็อาจจะพบว่าเป็นโรคหูดหงอนไก่ มะเร็งปากมดลูก หรือมะเร๋งในระบบอวัยวะสืบพันธุ์อื่นๆ ได้เช่นกัน

 

วิธีป้องกันการติดเชื้อ HPV

นอกจากการเพศสัมพันธ์กับคู่นอนเพียงคนเดียว และสวมถุงยางอนามัยทุกครั้งแล้ว ก่อนวางแผนมีบุตร ควรปรึกษาแพทย์เพื่อตรวจร่างกายให้เรียบร้อย เพื่อป้องกันการติดเชื้อตั้งแต่สาเหตุแรก นอกจากนี้การทานอาหารให้ครบหมู่ ออกกำลังกายเป็นประจำ พักผ่อนอย่างเพียงพอ ก็เป็นการสร้างภูมิคุ้มกันร่างกายให้แข็งแรง ปกป้องตัวเองจากการติดเชื้อไวรัสทุกชนิดได้เช่นกัน

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook