พ่อแม่ที่มีลูกหลังอายุ 30 อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็น “มะเร็ง”

พ่อแม่ที่มีลูกหลังอายุ 30 อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็น “มะเร็ง”

พ่อแม่ที่มีลูกหลังอายุ 30 อาจเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกเป็น “มะเร็ง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ทุกวันนี้ ด้วยหน้าที่การงาน และปัจจัยหลายอย่าง ทำให้หนุ่มสาวส่วนใหญ่เลือกที่จะแต่งงานกันช้า และเป็นเหตุผลให้มีลูกช้าตามไปด้วย  ซึ่งนั่นอาจไปเพิ่มความเสี่ยงให้ลูกที่เกิดมามีโอกาสเป็นโรคมะเร็งได้ในอนาคต

โดยทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัย UCLA ในสหรัฐอเมริกา และมหาวิทยาลัยเดนมาร์ก ศึกษาข้อมูลของเด็กชาวเดนมาร์กจำนวน 5,856 คน ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าป่วยด้วยโรคมะเร็งก่อนอายุ 16 ปี และนำไปเปรียบเทียบกับอายุพ่อแม่ของเด็กในช่วงที่ให้กำเนิดลูก แบ่งเป็นอายุต่ำกว่า 25 ปี, อายุ 25-29 ปี, อายุ 30-34 ปี, อายุ 35-39 ปี, อายุ 40-45 ปี และอายุ 45 ปีขึ้นไป

จากการศึกษาดังกล่าว พบว่า  ผู้หญิงที่มีลูกในช่วงอายุระหว่าง 30-34 ปี มีความเชื่อมโยงในการทำให้ลูกป่วยเป็นโรคมะเร็งต่อมน้ำเหลือง  ขณะที่ผู้หญิงที่มีลูกหลังจากอายุ 35 ปีขึ้นไป เสี่ยงทำให้ลูกเป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวได้ โดยเฉพาะมะเร็งเม็ดเลือดขาวเอแอลแอล (Acute Lymphoblastic Leukemia) ซึ่งเป็นชนิดที่พบได้บ่อยที่สุดในผู้ป่วย

จูเลีย เฮค ผู้ช่วยศาสตราจารย์แห่งมหาวิทยาลัย UCLA หนึ่งในทีมนักวิจัยระบุว่า เหตุที่ทำให้ลูกที่เกิดมามีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคมะเร็นั้น อาจเป็นเพราะเกิดการกลายพันธุ์ในระดับโครโมโซม หรือมีโครโมโซมที่ผิดปกติของพ่อแม่ที่มีอายุมากขึ้น

ทั้งนี้ การกลายพันธุ์ดังกล่าว สามารถเกิดได้ทั้งในอสุจิของผู้เป็นพ่อและเซลล์ไข่ของผู้เป็นแม่  ซึ่งไม่ต่างจากกรณีที่มีลูกตอนอายุที่มากขึ้น แล้วทำให้ทารกที่เกิดมาเสี่ยงต่อการเป็นดาวน์ซินโดรมนั่นเอง

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook