8 สัญญาณมะเร็ง อันตรายอยู่ใกล้ตัวของคุณหรือไม่

8 สัญญาณมะเร็ง อันตรายอยู่ใกล้ตัวของคุณหรือไม่

8 สัญญาณมะเร็ง อันตรายอยู่ใกล้ตัวของคุณหรือไม่
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ฝ่ายโภชนาการ
Faculty of Medicine Siriraj Hospital
คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

 

มาลองดูกันสิคะว่ามี 8 สัญญาณมะเร็ง อันตรายอยู่ใกล้ตัวของคุณหรือไม่

1. มีการเปลี่ยนแปลงของระบบขับถ่ายอุจจาระ และปัสสาวะ เช่น ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ หรือ ปัสสาวะมีสีเลือด

2. กลืนอาหารลำบาก หรือ อาหารติดอยู่ที่ช่องกลางอก หรือ อาหารไม่ย่อย  แน่น จุดเสียดท้องเป็นเวลานาน

3. มีอาการเสียงแหบไอเรื้อรังผิดปกติมีเสมหะปนเลือด

4. มีเลือดหรือตกขาวที่ผิดปกติ มูกเลือด น้ำเหลืองปนเลือดออกทางช่องคลอดหรือทวารหนัก

5. เป็นแผลเรื้อรังหายช้ามากกว่า 1 เดือน

6. มีการเปลี่ยนแปลงของหูด หรือ ไฝตามร่างกายที่โตเร็วผิดปกติ

7. มีก้อนที่เต้านมหรือส่วนต่าง ๆ 

8. หูอื้อหรือมีเลือดกำเดาไหล



ถ้านับข้อดีที่ไม่มี 8 สัญญาณนี้ได้ก็จะปลอดภัยไร้กังวลแล้วหล่ะ

ในยุคปัจจุบันนี้ ผู้คนส่วนใหญ่ได้ให้ความสำคัญกับการดูแลสุขภาพให้สมบูรณ์แข็งแรงห่างไกลจากโรคภัยต่าง ๆ แต่สภาพแวดล้อมนั้นกลับตรงข้ามกันคือมักพบกับความเสี่ยงที่สามารถนำทุก ๆ ท่านให้เข้าใกล้และก่อให้เกิดโรคได้มากมาย


การปฏิบัติเพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคมะเร็ง

การรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ได้แก่ เนื้อสัตว์ชนิดต่าง ๆ แป้ง ข้าว เผือกมัน น้ำตาล ไขมัน และอาหารจำพวกผัก ผลไม้ ธัญพืช เป็นประจำเพราะในผักและผลไม้บางชนิดมีสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดโรคมะเร็งได้

-
 การควบคุมดูแลรักษาน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติไม่ให้อ้วนหรือผอมเกินไป

ควรกำจัดอาหารประเภทไขมัน โคเลสตรอรอลและไตรกลีเซอไรด์

หลีกเลี่ยงอาหารที่มีเชื้อรา เช่น พริกแห้ง หรือกระเทียมมีราขึ้น ไม่ควรล้างและนำมาประกอบอาหารอีกเพราะสารพิษของเชื้อราทนความร้อนได้ และอาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง

หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ เพราะจำทำให้เกิดโรคพยาธิใบไม้ตับและมะเร็งท่อน้ำดีในตับได้

หลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์รมควัน ปิ้ง ย่าง ทอดจนเกรียมไหม้ เพราะอาหารที่เกรียมไหม้จะมีสารก่อมะเร็ง เช่น ไฮโดรคารบอนด์

- หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารหมักดอง หรืออาหารรมควัน อาหารใส่สี ใส่ดินประสิว เช่น  ไส้กรอก แฮม แหนม ปลาร้า เนื้อเค็ม

หลีกเลี่ยงอาหารที่ร้อนจัดเพราะจะทำให้เกิดความระคายเคืองต่อเยื่อบุหลอดอาหาร ถ้าเกิดซ้ำ ๆ อาจเกิดมะเร็งหลอดอาหารได้

หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอล์เพราะ ถ้าดื่มมาก ๆ จะเกิดการระคายเคืองเยื่อบุหลอดอาหารและกระเพาะอาหาร  ถ้าดื่มมาก ๆ และมีสารพิษจากบุหรี่ เซลล์จะเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์มะเร็งได้

-หลีกเลี่ยงการกินหมากหรือยาฉุนเพราะในหมากหรือยาฉุนมีสารก่อให้เกิดโรคมะเร็ง



อาหาร
 เป็นอีกสิ่งหนึ่งซึ่งมีความสำคัญกับร่างกายและการดูแลสุขภาพ เพื่อป้องกันการเกิดโรคร้าย ดังที่กล่าวมาข้างต้น อาหารก็เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดโรคได้เช่นกัน แต่เราทุกคนสามารถเลือกชนิดของอาหารและการรับประทานอาหารอย่างถูกต้อง



อาหารประเภทใด? ป้องกันมะเร็ง จากงานวิจัยทางการแพทย์พบว่าถ้าหากรับประทานผักผลไม้เป็นประจำสามารถป้องกันมะเร็งได้

- อาหารที่มีกากใยมาก เช่น ข้าวซ้อมมือ ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต เมล็ดธัญพืชต่าง ๆ อาหารประเภทนี้ช่วยลดการเกิดมะเร็งลำไส้ได้ 

- เลือกรับประทานอาหารผักตระกูลกล่ำต่างๆ เช่น กล่ำปลี บร็อคโคลี่ ผักคะน้า เพราะเป็นผักที่มีสารมีฤทธิ์ยับยั้งการเกิดมะเร็ง

- รับประทานอาหารที่มีเบต้า-แคโรทีนและวิตามินเอสูง เช่น แครอท ฟักทอง มะเขือเทศ มะละกอสุก เพราะมีฤทธิ์ยับยั้งการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ปกติไปเป็นเซลล์มะเร็งได้

- รับประทานอาหารที่มีวิตามินซีสูง ซึ่งพบในผักสดและผลไม้ต่าง ๆ เช่น ส้ม ฝรั่ง เพราะมีหน้าที่ยับยั้งน้ำย่อยจากเซลล์มะเร็งทำให้เซลล์แพร่กระจายช้ากว่าปกติ

-เลือกรับประทานอาหารที่มีเครื่องเทศต่าง ๆ เช่น กระเทียม เพราะในเครื่องเทศมีสารป้องกันมะเร็ง

 

ผักและผลไม้ที่มีคุณสมบัติป้องกันมะเร็ง

ผักและผลไม้

อวัยวะที่เกี่ยวข้อง

ผักตระกูลกล่ำ

ลำไส้ กระเพาะปัสสาวะ

พืชตระกูลกระเทียม

กระเพาะอาหาร หลอดอาหาร ลำไส้ใหญ่

ธัญพืช

ลำไส้ใหญ่ เต้านม ตับ

ผักและผลไม้ทุกชนิด

ลำไส้ใหญ่ กระเพาะอาหาร ตับ เต้านม ช่องปาก

ผลไม้สีเหลืองและผักสีเขียวเข้ม

ปอด กระเพาะอาหาร ช่องปาก กระเพาะปัสสาวะ

 


ตัวอย่างรายการผักและผลไม้ 

กากใยอาหารสูง กระเฉด คะน้า ถั่วงอก ผักเขียวเกือบทุกชนิด ส้มเขียวหวานทั้งกลีบ ส้มโอ แตงโม เมล็ดถั่วต่าง ๆ ข้าวโพด

วิตามินเอสูง ใบยอ ใบย่านาง ใบชะพลู ตำลึง แครอท มะระ ผักบุ้ง ชะอม ยอดกระถิน  แคนตาลูป มะม่วง มะละกอ มะเขือ ถั่วพู บร็อคโคลี่

วิตามินซีสูง ดอกขี้เหล็ก มะรุม มะกอก มะขามป้อม มะขามเทศ มะนาว มะเขือเทศ บร็อคโคลี่ พุทรา กล่ำปลี คะน้า ใบย่านาง ฝรั่ง สับปะรด มะปราง

 

 

 

อ่านบทความเพิ่มเติม >>>>> SIRIRAJ E-PUBLIC LIBRARY
ขอบคุณเนื้อหาจาก คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook