"มือ เท้า ปาก" ระบาดหนักในเด็กเล็ก พบป่วย 50,000 เสียชีวิต 3 ราย

"มือ เท้า ปาก" ระบาดหนักในเด็กเล็ก พบป่วย 50,000 เสียชีวิต 3 ราย

"มือ เท้า ปาก" ระบาดหนักในเด็กเล็ก พบป่วย 50,000 เสียชีวิต 3 ราย
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แนะพ่อแม่ ผู้ปกครอง และครู ดูแลและสังเกตอาการป่วยของเด็กเล็กอย่างใกล้ชิด หลังปีนี้พบเด็กป่วยโรคมือ เท้า ปาก รวมเกือบ 5 หมื่นรายแล้ว และเสียชีวิต 3 ราย โดยขอความร่วมมือสถานศึกษาร่วมคัดกรองเด็กนักเรียนทุกเช้าก่อนเข้าเรียน หากพบเด็กป่วยให้แยกออกมา และแจ้งผู้ปกครองมารับเด็กกลับ

ในช่วงฤดูฝนนี้มักพบเด็กเล็กป่วยด้วยโรคมือ เท้า ปาก โดยเฉพาะในสถานศึกษาที่เป็นสถานที่ที่มีเด็กอยู่รวมกันจำนวนมาก ทำให้เกิดความเสี่ยงในการแพร่กระจายเชื้อโรคได้ง่าย  จากข้อมูลของสำนักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค สถานการณ์โรคมือ เท้า ปาก ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. – 16 ส.ค. 60 พบผู้ป่วยแล้ว 49,019 ราย และเสียชีวิต 3 ราย ในจังหวัดจันทบุรี ราชบุรี และร้อยเอ็ด

 

โรคมือ เท้า ปาก คืออะไร?

โรคมือ เท้า ปาก เกิดจากเชื้อเอนเทอโรไวรัสหลายชนิด แต่ชนิดที่รุนแรงมากและเสี่ยงต่อการเสียชีวิตมากกว่าสายพันธุ์ทั่วไป คือ EV71 โรคนี้พบได้มากในเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ปี ซึ่งมีภูมิคุ้มกันต่ำ

 

โรคมือ เท้า ปาก ติดต่อกันได้อย่างไร?

การติดต่อเกิดจากการได้รับเชื้อทางปากโดยตรง ซึ่งเชื้อไวรัสจะติดมากับมือหรือของเล่นที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย น้ำจากแผลตุ่มพองหรืออุจจาระของผู้ป่วย หรือติดต่อจากการ  ไอ จาม รดกัน โรคนี้อาจมีอาการเล็กน้อย เช่น มีไข้ ผื่น ตุ่มน้ำใส หรือเม็ดแดงๆ ในปาก ฝ่ามือ ฝ่าเท้า หรือก้น ซึ่งหายได้เอง ใน 7-10 วัน

 kid-sick-2iStock

 

โรคมือ เท้า ปาก รักษาได้อย่างไร?

โรคนี้ไม่มียารักษา ไม่มีวัคซีน จะรักษาตามอาการ ถ้าหากเด็กมีอาการแทรกซ้อน เช่น ไข้สูง ซึม อาเจียน หอบ ต้องรีบนำเด็กไปรับการรักษาที่โรงพยาบาลทันที ซึ่งจากรายงานของโรงพยาบาล 15 แห่งที่เข้าร่วมโครงการเฝ้าระวังเชื้อก่อโรคมือ เท้า ปาก ในกลุ่มเด็กแรกเกิด - 5 ปี ของสำนักระบาดวิทยา ในเดือนกรกฎาคม 2560 ที่ผ่านมา ได้รับตัวอย่างผู้ป่วยทั้งหมด 93 ราย ตรวจพบเชื้อ 28 ราย ในจำนวนนี้พบติดเชื้อ EV71 มากถึง 14 ราย (ร้อยละ 50)  ส่วนพื้นที่ที่ควรติดตามและเฝ้าระวังเป็นพิเศษ คือจังหวัด  ที่มีอัตราป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยกลางเท่ากับ 2 เท่าขึ้นไป มี 8 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย น่าน เชียงใหม่ พิษณุโลก พะเยา แม่ฮ่องสอน ลพบุรี และสุราษฎร์ธานี

กรมควบคุมโรค ขอความร่วมมือสถานศึกษาดำเนินการอย่างเข้มข้นและต่อเนื่องเพื่อให้การป้องกันควบคุมโรค

1. คัดกรองเด็กทุกเช้าก่อนเข้าเรียน หากพบเด็กป่วยให้แยกออกมา และแจ้งผู้ปกครองมารับเด็กกลับและให้พักฟื้นจนกว่าจะหายเป็นปกติ 

2. สอนให้เด็กล้างมือบ่อยๆ และจัดให้มีจุดล้างมือ พร้อมสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล รวมถึงทำความสะอาดอุปกรณ์ที่เป็นส่วนรวมเป็นประจำ

3. หากพบเด็กป่วยเป็นจำนวนมาก ควรพิจารณาปิดสถานศึกษาเพื่อชะลอการระบาดและการแพร่กระจายเชื้อ

4. ให้ความรู้และคำแนะนำเกี่ยวกับโรคแก่นักเรียนและผู้ปกครอง 

สำหรับพ่อแม่ ผู้ปกครอง ควรหมั่นสังเกตอาการบุตรหลานอย่างใกล้ชิด หากมีอาการไข้ร่วมกับแผลในปาก โดยอาจมีหรือไม่มีตุ่มน้ำที่มือหรือเท้าก็ได้ บางรายอาจมีเฉพาะไข้ ควรรีบพาไปพบแพทย์และให้หยุดเรียนจนกว่าจะหายเป็นปกติ และไม่ควรคลุกคลีกับคนอื่นๆ ในครอบครัวหรือชุมชน เพื่อชะลอการระบาดและการแพร่กระจายเชื้อ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook