5 สัญญาณอันตราย “โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์”

5 สัญญาณอันตราย “โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์”

5 สัญญาณอันตราย “โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

โรคอะไรที่เกี่ยวกับข้อกระดูก มักสร้างความเจ็บปวดจนส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากจนผู้ป่วยส่วนใหญ่ทนไม่ไหว ต้องเข้ารับการรักษาอย่างเร่งด่วน สำหรับโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ อาจจะชื่อยาวสักนิด แต่ก็พบผู้ป่วยในไทยไม่น้อยเช่นกัน หากใครสงสัยว่าตัวเองจะเป็นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หรือไม่ ลองเช็คสัญญาณอันตรายไปพร้อมๆ กันเลยค่ะ

 

5 สัญญาณอันตราย “โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์”

  1. มีอาการเจ็บที่ข้อต่างๆ เช่น ข้อมือ ข้อนิ้วมือ โคนนิ้วหัวแม่เท้า ข้อเท้า ข้อศอก ข้อไหล่ ข้อสะโพก ข้อเข่า เป็นต้น

  2. เป็นอาการปวดที่ไม่ไดมีสาเหตุมาจากอาการบาดเจ็บหลังออกกำลังกาย หรือประสบอุบัติเหตุ

  3. ปวดข้อทั้งสองข้าง (ซ้าย-ขวา) เท่าๆ กัน เช่น ปวดข้อเท้า หรือข้อมือทั้งซ้ายและขวา

  4. หากมีอาการมากๆ อาจมีการอักเสบจนบวมอย่างเห็นได้ชัด

  5. รู้สึกเจ็บเมื่อมีการขยับ หรือออกแรงมากๆ เช่น กำมือแน่นๆ บิดลูกบิดประตู เปิดฝาขวด บิดผ้า ใช้มีด ใช้ตะหลิวหรือทัพพีคนอาหารในหม้อ ถือของหนัก หากเป็นที่ข้อเท้าหรือข้อเข่า อาจเจ็บปวดมากจนเดินปกติไม่ได้

 

สาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

สาเหตุของโรคนี้มาจากการที่ระบบภูมิต้านทานโรคในร่างกายทำงานผิดปกติ โดยอาจมีสาเหตุมาจากพันธุกรรมที่เคยมีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้มาก่อน การสูบบุหรี่ หรือมีอาการติดเชื้อจากโรคอื่นๆ มาก่อน เช่น โรคปริทันต์ หรือเหงือกอักเสบ และการติดเชื้อไวรัสบางชนิด เช่น เชื้อไวรัส EBV ก็อาจเป็นสาเหตุของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้เช่นกัน

 joint-pain-wristiStock

 

ข้อแตกต่างระหว่างโรคเกาต์ และโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

แม้ว่าทั้งสองโรคจะมีอาการปวดที่ข้อคล้ายกัน แต่สังเกตได้ง่ายๆ ว่าโรคเกาต์จะมีอาการปวดแบบเป็นๆ หายๆ ในขณะที่โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์หากเป็นแล้วไม่ได้เข้ารับการรักษาอย่างถูกวิธี จะมีอาการเจ็บปวดมากขึ้นเรื่อยๆ

 

การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์

การซื้อยาระงับปวดทานเอง ไม่ใช่การรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ที่ตรงจุด เพราะหากหมดฤทธิ์ยา ก็จะกลับมาปวดอีก ดังนั้นการเข้ารับการตรวจจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกโดยตรงจะทำให้แพทย์สั่งยา และควบคุมอาการปวดได้อย่างถูกจุดมากกว่า นอกจากนี้ควรลดการใช้แรงบริเวณข้อที่มีอาการปวด เช่น งดการเดินหรือออกกำลังกายหนักๆ บริเวณข้อเท้า ข้อเข่า หรืองดการถือของหนัก บิดผ้าแรงๆ เพื่อหลีกเลี่ยงอาการบาดเจ็บที่ข้อมือ ข้อนิ้ว เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook