ข้อเท็จจริงน่าตกใจจากห้องทดลองยุงลาย!!!

ข้อเท็จจริงน่าตกใจจากห้องทดลองยุงลาย!!!

ข้อเท็จจริงน่าตกใจจากห้องทดลองยุงลาย!!!
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

     บางคนอาจจะตกใจ ว่าทำไมแค่ปัญหายุง สัตว์น่ารำคาญแถมยังตัวเล็กจนแทบจะมองไม่เห็น ถึงกับต้องรู้รบปรบมือกันยังกับหนังสงคราม แต่สำหรับคนที่รู้ถึงพิษภัยอันตรายมหาศาลจากยุงเหล่านี้ อาจจะบอกว่ายังน้อยไป เพราะยุงเป็นพาหนะนำโรคร้ายแรง และทำอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ปีละไม่ใช่น้อย

     ห้องเลี้ยงยุง สำนักโรคติดต่อนำโดยแมลง กรมควบคุมโรค จึงเป็นอีกหนึ่งหน่วยงาน ที่ทำหน้าที่ศึกษาหาข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ร้ายชนิดนี้โดยเฉพาะ โดยคุณบุญเสริม อ่วมอ่อง นักวิชาการสาธารณสุข ชำนาญการพิเศษ หัวหน้ากลุ่มกีฏวิทยาและควบคุมแมลงนำโรค ได้ให้ข้อมูลว่า ที่ผ่านมา ทางสำนักมีการเลี้ยงยุงหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็น ยุงก้นปล่อง ยุงรำคาญ หรือยุงลาย เพื่อประกอบการประเมิน เฝ้าระวัง ป้องกัน ควบคุมยุงพาหะนำโรค โดยมีการดำเนินการหลายรูปแบบ เช่น

     “ทดสอบการดื้อยาของยุง” ว่าต้านทานต่อสารเคมี ที่ใช้ในการพ่นหมอกควันหรือพ่นยูแอลวีหรือไม่ รวมทั้งดื้อต่อทรายกำจัดลูกน้ำหรือไม่ ผลจากการทดสอบพบว่ามีสารเคมีบางชนิด เช่น เพอร์มิทริน (permethrin) ยุงลายบ้านมีการดื้อสูงมากกระจายทั่วประเทศ จึงไม่ควรนำมาใช้ในการควบคุมยุงลายบ้าน หากจะนำมาใช้ต้องผสมสารเสริมฤทธิ์ชนิดอื่นด้วย

     “ทดสอบประสิทธิภาพสารเคมีที่ใช้ในการควบคุมยุงนำโรค” ว่าสามารถฆ่ายุงได้หรือไม่ ซึ่งได้พบผลการทดสอบที่น่าสนใจอย่างยิ่งว่า สารเคมีที่ใช้ในการควบคุมยุงใช้ในอัตราตามฉลากข้างขวด หากยุงที่ยังไม่ดื้อต่อสารเคมี ก็ยังคงมีประสิทฺธิภาพในการฆ่าตามเกณฑ์มาตรฐาน

     “ประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานพ่นเคมี” ของเจ้าหน้าที่พ่นสารเคมีควบคุมยุง โดยมีการทดสอบด้วยการใช้ยุงไปวางในบ้านเรือนของกลุ่มทดลอง พบว่ายุงที่วางไว้มีอัตราการตายตามมาตรฐานที่กำหนด ทั้งนี้ต้องมีการขยายพื้นที่ดำเนินการต่อไป

     “ทดสอบประสิทธิภาพยาทากันยุงหรือผลิตภัณฑ์ไล่ยุง” เพื่อหามาตรการที่เหมาะสมส่งเสริมให้ประชาชนใช้ ผลการทดสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์ไล่ยุงรูปแบบ สายรัดข้อมือ, รูปแบบพกพาติดตัว ส่วนใหญ่ระยะเวลาในการป้องกันยุงกัดค่อนข้างสั้นไม่เกิน 2 ชั่วโมง ซึ่งถือว่าต่ำกว่ามาตรฐาน

     “ทดสอบนวัตกรรมพื้นบ้าน” ว่าสามารถกำจัดยุงนำโรคได้หรือไม่ โดยนำผลิตภัณฑ์ที่ใช้กำจัดลูกน้ำ เช่น มะกรูด ปูนแดง อิฐมอญเผา ฯลฯ ผลการทดสอบพบว่ายังมีข้อจำกัดในการใช้ เช่น คุณภาพของน้ำ และระยะเวลาป้องกัน เป็นต้น
คุณบุญเสริมได้กล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า ไม่ว่าจะค้นพบข้อมูลใหม่ๆเกี่ยวกับพฤติกรรมของยุง หรือรู้ผลชัดเจนแค่ไหนเกี่ยวกับสิ่งที่ควบคุมการแพร่ระบาดยุงได้ก็ตาม แต่สำคัญที่สุดก็ยังคงต้องเป็นการดูแลป้องกันตนเอง หลีกเลี่ยงจากการถูกยุงกัดให้ได้มากที่สุด เรียกว่าถือคติ

     “กันไว้ดีกว่าแก้ ดีกว่าปล่อยให้ยุงกัดจนแย่ เพราะแก้ไม่ทัน”

     อย่าลืมนะว่าวิธีป้องกันที่ดีที่สุด ก็คือการกำจัดต้นตอหรือแหล่งเพาะพันธุ์ยุงนั่นเอง อยากรู้100 วิธีกำจัดยุงลาย คลิกเลย http://www.thaivbd.org/n/contents/view/325122

 

 

 

[Advertorial]

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook