อ้าวเฮ้ย! พบสารกันบูดใน “เฉาก๊วย” ทั้งที่ฉลากบอกไม่มี

อ้าวเฮ้ย! พบสารกันบูดใน “เฉาก๊วย” ทั้งที่ฉลากบอกไม่มี

อ้าวเฮ้ย! พบสารกันบูดใน “เฉาก๊วย” ทั้งที่ฉลากบอกไม่มี
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

นิตยสาร ฉลาดซื้อ ตรวจหาวัตถุกันเสียในเฉาก๊วย 30 ยี่ห้อในท้องตลาดกรุงเทพมหานคร พบว่า 50% ของตัวอย่างที่สุ่มตรวจทั้งหมด ไม่พบสารกันบูด (เบนโซอิก และซอร์บิก) และมีเพียงยี่ห้อเดียวที่พบสารกันบูดเกินมาตรฐาน แต่พบสารกันบูดในบางยี่ห้อที่ระบุในฉลากผลิตภัณฑ์ว่า “ไม่มีสารกันบูด”

เฉาก๊วยที่พบสารกันบูดเบนโซอิก 1,387.37 มิลลิกรัม/กิโลกรัม คือ เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางประกอก
ที่พบปริมาณเบนโซอิกเกินกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม

 

เฉาก๊วย 6 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเบนโซอิก น้อยกว่า 1.5 - 1.75 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  1. ตลาดอมรพันธ์ ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน
  2. เฉาก๊วยตราจริงใจ แบบก้อนใหญ่
  3. ตลาดบางกะปิ ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน
  4. เฉาก๊วยเกาลูน บางกอกเกาลูน (แบบถุง)
  5. นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ
  6. ตลาดบางกะปิ ไม่มียี่ห้อ ร้านข้าวเหนียวมูลแม่สุวิมล

 

เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 50 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  1. เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ถั่วแดงฯ
  2. เฉาก๊วย นายอ๋อง

 

เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 80 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

1.เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) (68.85 มิลลิกรัม)

2.เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) (79.41 มิลลิกรัม)

 

เฉาก๊วย 2 ยี่ห้อ พบสารกันบูดไม่เกิน 400 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  1. เฉาก๊วยตลาดบางแค ไม่มียี่ห้อ (124 มิลลิกรัม)
  2. เฉาก๊วยปุ้น & เปา (399.73 มิลลิกรัม)

 

เฉาก๊วย 3 ยี่ห้อ พบสารกันบูดเกิน 500 มิลลิกรัม/กิโลกรัม

  1. เฉาก๊วย (jelly glass) (523.08 มิลลิกรัม)
  2. แม่ปิงเฉาก๊วย (581.34 มิลลิกรัม)
  3. คิด+ เฉาก๊วยธัญพืช (627.91 มิลลิกรัม)

 

เฉาก๊วย 14 ยี่ห้อ ไม่พบสารกันบูด(เบนโซอิก และซอร์บิก)ในการทดสอบ

  1. เฉาก๊วย อาม่า
  2. ละออ
  3. เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ
  4. แฮปปี้เฉาก๊วย (สั่งซื้อออนไลน์)
  5. หวานเย็น
  6. ตลาดคลองเตย ไม่มียี่ห้อ ไม่มีชื่อร้าน
  7. เฉาก๊วยเกาลูน
  8. เฉาก๊วยยูเทิร์น (สั่งซื้อออนไลน์)
  9. ตราศรีลำทับ (SRI-LAM-THAP)
  10. เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม
  11. น้ำเฉาก๊วย ตรากรีนเมท
  12. เฉาก๊วยชากังราว
  13. เฉาก๊วยในน้ำเชื่อม
  14. เฉาก๊วยเต็งหนึ่ง

 

 700400นิตยสารฉลาดซื้อ

 

นอกจากนี้ยังพบว่าการแสดงฉลาก มีข้อสังเกตดังนี้

- ตัวอย่างที่พบสารกันบูดเบนโซอิกและหรือซอร์บิก จำนวน 16 จาก 30 ตัวอย่าง มีเพียง 4 ตัวอย่างที่แจ้งข้อมูลบนฉลาก ว่า มีการใช้สารกันบูด ประกอบด้วย

  1. ยี่ห้อ ปุ้น & เปา แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย INS202, 211 หรือ โปแตสเซียม ซอร์เบต และ โซเดียม เบนโซเบต ซึ่งเป็นสารในกลุ่มสารกันเสีย เบนโซเอต ทั้ง 2 ชนิด โดยผลทดสอบพบ เบนโซอิก 219.56 มก./กก. และพบซอร์บิก 180.17 มก./กก.
  2. เฉาก๊วย (jelly glass) ของ นิตยาวุ้นมะพร้าว แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสีย โซเดียมเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 292.03 มก./กก. และพบซอร์บิก 231.05 มก./กก.
  3. ยี่ห้อ แม่ปิงเฉาก๊วย แจ้งว่า ใช้วัตถุกันเสียโซเดียมเบนโซเอท (INS211) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 321.05
    มก./กก. และพบซอร์บิก 260.19 มก./กก.
  4. เฉาก๊วยอาโก ศูนย์การค้าบางปะกอก แจ้งว่า มีโซเดียมเบนโซเอท 0.02% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก
    1,387.37 มก./กก.

 

ฉลากสินค้าที่แจ้งว่าไม่มีวัตถุกันเสีย แต่จากผลทดสอบพบว่า มีการปนเปื้อน

  1. ยี่ห้อ นายอุ๋ย เฉาก๊วยโบราณ ผลทดสอบพบ เบนโซอิก น้อยกว่า 1.50 มก./กก.
  2. ยี่ห้อ เมจิกฟาร์ม ดีเซิ้ดทคัพ ขนมเยลลี่คาราจีแนน ผสมบุกผง ถั่วแดงและน้ำเฉาก๊วย 15% ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 6.53 มก./กก. และพบซอร์บิก 3.74 มก./กก.
  3. ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถัง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 68.85 มก./กก.
  4. ยี่ห้อ เฉาก๊วยดอนเมือง (แบบถุง) ผลทดสอบพบ เบนโซอิก 79.41 มก./กก.

 83679นิตยสารฉลาดซื้อ

มาตรฐานการใช้สารกันบูดใน เฉาก๊วย

เฉาก๊วย จัดอยู่ในกลุ่มเดียวกับผลิตภัณฑ์ เยลลี่ เพราะมีกรรมวิธีในการผลิตในลักษณะเดียวกัน ซึ่งตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 213) พ.ศ. 2543 เรื่อง แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด ในภาชนะบรรจุที่ปิดสนิท นิยามความหมายของ เยลลี่ ไว้ว่า ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ได้จากการคั้นสดหรือสกัดจากผลไม้ หรือทำจากน้ำผลไม้ล้วนที่ผ่านกรรมวิธี หรือทำให้เข้มข้น หรือแช่แข็ง ซึ่งผ่านการกรองและผสมกับ น้ำตาลทำให้มีความข้นเหนียวพอเหมาะ (ส่วนเฉาก๊วยทำจากพืชที่เรียกว่า หญ้าเฉาก๊วยหรือ Grass Jelly )

สำหรับข้อกำหนดเรื่องการใช้สารกันบูด กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก ในประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 381) พ.ศ. 2559 เรื่อง วัตถุเจือปนอาหาร (ฉบับที่ 4) กำหนดไว้ อาหารกลุ่ม แยม เยลลี่ และมาร์มาเลด สามารถใช้ กรดเบนโซอิก ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม ส่วน กรดซอร์บิก สามารถใช้ได้สูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่อปริมาณอาหาร 1 กิโลกรัม เช่นกัน

ทั้งนี้หากมีการใช้วัตถุเจือปนอาหารในกลุ่มหน้าที่เดียวกันรวมกันตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป ปริมาณรวมที่ใช้ต้องไม่เกินปริมาณสูงสุดที่กฎหมายอนุญาตของสารตัวใดตัวหนึ่ง (อิงตัวที่ปริมาณน้อยที่สุด) ซึ่งในกรณีของ เฉาก๊วย อนุญาตให้ใช้สารกันเสีย กรดเบนโซบิก และ กรดซอร์บิก รวมกันสูงสุดไม่เกิน 1,000 มิลลิกรัมต่ออาหาร 1 กิโลกรัม

 700411นิตยสารฉลาดซื้อ

 

อันตรายของ เบนโซอิก และ ซอร์บิก

เป็นกลุ่มสารกันเสียที่กฎหมายอนุญาตให้ใช้ในอาหาร ซึ่งนิยมใช้ใน แยม เยลลี่ ผักผลไม้ดอง เครื่องดื่ม น้ำหวาน น้ำอัดลม แต่หากได้รับสารทั้ง 2 ชนิดจากการรับประทานอาหารในปริมาณสูง อาจส่งผลเสียต่อร่างกายทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหาร คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย วิงเวียน และปวดศีรษะ

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook